สโมสรฟุตบอลสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด (อังกฤษ : Singha Chiangrai United ) เป็นสโมสรฟุตบอล อาชีพในประเทศไทย เป็นทีมฟุตบอลจากจังหวัดเชียงราย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันลงแข่งขันอยู่ในไทยลีก
ประวัติสโมสร [ แก้ ]
การก่อตั้งและการเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุด [ แก้ ]
สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 โดยใช้ชื่อว่า "สโมสรฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ด" มีนายมิตติ ติยะไพรัชเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานสโมสร ซึ่งนายมิตตินั้นมีความชื่นชอบกีฬาฟุตบอลมาแต่เดิมและต้องการมีสโมสรฟุตบอลเป็นของตนเอง ประจวบกับการเกิดขึ้นของลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในปีพ.ศ. 2552 นายมิตติจึงตัดสินใจส่งทีมลงแข่งขันในปีนั้นในฐานะทีมฟุตบอลของจังหวัดเชียงราย และได้เลือกใช้ "กว่างโซ้ง " เป็นสัญลักษณ์ทีม สื่อถึงความเป็นนักสู้ และใช้สีส้มเป็นเสื้อทีมเหย้า ในช่วงแรกนั้นการบริหารทีมเป็นไปอย่างลำบากเนื่องจากคนในจังหวัดยังไม่ตื่นตัวกับฟุตบอลไทยมากนัก แต่การคุมทีมของ ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล ได้ช่วยให้สโมสรมีผลงานในสนามที่น่าพอใจและเริ่มเป็นที่สนใจมากขึ้น สามารถจบอันดับหนึ่งของตารางลีกภูมิภาค ภาคเหนือ ด้วยสถิติไร้พ่าย ก่อนจะจบอันดับที่ 2 ในรอบเพลย์ออฟ และได้สิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในฤดูกาล พ.ศ. 2553
ในลีกดิวิชั่น 1 นั้น เชียงราย ยูไนเต็ด เริ่มต้นฤดูกาลได้อย่างไม่ดีนักเนื่องจากโค้ชธวัชชัยได้ย้ายไปคุมทีมพัทยา ยูไนเต็ด ทำให้ทีมในช่วงแรกนั้นยังไม่สามารถทำผลงานได้ดี อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนตัวผู้ฝึกสอนบ่อย อย่างไรก็ตาม นายมิตติได้ตัดสินใจเลือก สเตฟาโน คูกูรา ผู้ฝึกสอนชาวบราซิลเข้ามาคุมทีมในช่วงกลางฤดูกาล ภายใต้การคุมทีมของคูกูรา เชียงราย ยูไนเต็ดสามารถทำอันดับได้ดีขึ้นเรื่อยๆ จากอันดับที่ 13 ของตารางขึ้นมาอยู่อันดับต้นๆ และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่สาม ทำให้ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปเล่นไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2554 เป็นทีมสุดท้ายของปี
ช่วงเวลาในไทยพรีเมียร์ลีก [ แก้ ]
แม้จะเป็นทีมใหม่ในลีกสูงสุดของประเทศ แต่เชียงราย ยูไนเต็ดก็สามารถทำผลงานได้อย่างน่าพอใจ โดยเฉพาะผลงานการเล่นในฐานะทีมเหย้า โดยมีนักฟุตบอลอย่างวสันต์ นาทะสัน และลีอังดรู อัสซัมเซา เป็นคู่กองหน้าตัวความหวังของทีม อย่างไรก็ตามในฤดูกาล 2554 เชียงราย ยูไนเต็ดกลับประสบปัญหาหลายประการ โดยเฉพาะในเรื่องสนามแข่งขัน ที่ต้องย้ายสนามเหย้าบ่อยครั้งเนื่องจากปัญหาจากความล่าช้าในการปรับปรุงสนามกีฬากลางขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและปัญหาเรื่องเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นเหตุให้เชียงราย ยูไนเต็ดไม่สามารถใช้สนามทั้งสองได้ ทำให้สโมสรจำเป็นต้องย้ายไปใช้สนามสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีอยู่ระยะหนึ่ง ส่งผลกระทบต่อรายได้ของสโมสรอย่างหนัก แต่ด้วยการเรียกร้องของชาวเชียงราย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจึงอนุญาตให้สโมสรสามารถใช้สนามของมหาวิทยาลัยได้อีกครั้ง หลังประสบปัญหาดังกล่าว นายยงยุทธ ติยะไพรัช ผู้เป็นพ่อของนายมิตติได้เข้ามาช่วยเหลือด้วยการสนับสนุนให้ทีมมีสนามเป็นของตัวเอง ด้วยเหตุนี้จึงได้เริ่มมีการก่อสร้างสนามเหย้าขึ้นบนที่ดินใกล้กันกับสนามบินนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย แม้จะมีปัญหามากมาย แต่เชียงรายยูไนเต็ดก็สามารถจบฤดูกาลได้ด้วยอันดับที่ 10 ของตารางได้
ในฤดูกาล 2555 สนามยูไนเต็ด สเตเดียม ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการ และได้รับการตอบรับจากแฟนบอลอย่างกว้างขวาง โดยเชียงรายจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 9 อย่างไรก็ตาม ในฤดูกาล 2556 เชียงราย ยูไนเต็ดกลับประสบปัญหาในเรื่องฟอร์มการแข่งขันที่ย่ำแย่ ทำให้ทีมต้องอยู่อันดับในโซนตกชั้นอยู่เป็นเวลานาน แม้จะมีการปลด สเตฟาโน คูกูรา ออกแล้วแต่การคุมทีมของ เฮงค์ วิสมัน ผู้ฝึกสอนชาวฮอลแลนด์ ก็ไม่สามารถพาทีมทำผลงานได้ดีขึ้นได้แต่อย่างใด เมื่อล่วงเข้าสู่ช่วงปลายฤดูกาล เชียงราย ยูไนเต็ดจึงได้ อนุรักษ์ ศรีเกิด เข้ามาช่วยแก้วิกฤตและรอดจากการตกชั้นได้สำเร็จ ในฤดูกาล 2557-2559 อดีตนักเตะของเชียงราย ยูไนเต็ดอย่างธีรศักดิ์ โพธิ์อ้น ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้ฝึกสอน มีแนวทางการทำทีมที่เน้นการพัฒนาเยาวชน ซึ่งหนึ่งในเยาวชนอย่างเอกนิษฐ์ ปัญญา ก็สามารถสร้างสถิติเป็นผู้ทำประตูที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ได้ ณ ขณะนั้น ตลอดช่วงสามปีของการคุมทีมของธีรศักดิ์ เชียงราย ยูไนเต็ดยังคงเกาะอยู่ในกลุ่มกลางตารางได้อย่างต่อเนื่อง
เชียงราย ยูไนเต็ดภายใต้การสนับสนุนของ สิงห์ [ แก้ ]
ในฤดูกาล 2559 สิงห์ปาร์ค ของบริษัทสิงห์ ได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักของทีม ทำให้เชียงราย ยูไนเต็ดเริ่มมีเงินทุนในการพัฒนาทีมมากขึ้น โดยสามารถดึงนักเตะชื่อดังอย่างฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ เข้ามาร่วมทีมได้ เมื่อจบฤดูกาล สโมสรได้แยกทางกับธีรศักดิ์ โพธ์อ้น และได้แต่งตั้งอาเลชังดรี กามา อดีตผู้ฝึกสอนของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดเข้ามาเป็นผู้ฝึกสอน ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560 นาย มิตติ ติยะไพรัช ประธานสโมสรได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวยืนยันว่าได้ทำการเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด [2] รวมถึงเปลี่ยนชื่อสนามเป็นสิงห์ สเตเดียม เนื่องจากได้ผลิตภัณฑ์สิงห์เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลัก โดยในฤดูกาล 2560 เชียงราย ยูไนเต็ดได้ยกระดับทีมขึ้นมาเป็นทีมเจ้าบุญทุ่มอย่างเต็มตัวด้วยงบการทำทีมกว่า 300 ล้านบาท ได้มีซื้อตัวนักฟุตบอลชื่อดังและสามารถดึงตัวผู้เล่นระดับแถวหน้า อาทิ ธนบูรณ์ เกษารัตน์ เข้าทีมมาด้วยค่าตัว 50 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าตัวนักเตะไทยที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์
ฤดูกาล 2560 ภายใต้การคุมทีมของกามา เชียงราย ยูไนเต็ดสามารถทำผลงานได้ดีกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยสามารถจบฤดูกาลได้ในอันดับที่ 4 ได้ตำแหน่งรองแชมป์ฟุตบอลรายการโตโยต้า ลีกคัพ และคว้าแชมป์ช้าง เอฟเอคัพ มาครองได้สำเร็จเป็นแชมป์แรกในประวัติศาสตร์สโมสร ด้วยการเอาชนะทีมแบ็งค็อก ยูไนเต็ดไป 4-2 พร้อมได้สิทธิ์ในการเล่นรอบเพลย์ออฟรายการเอเอฟซี แชมป์เปียนลีก ฤดูกาลถัดไป และแม้ในฤดูกาล 2561 นั้น เชียงราย ยูไนเต็ดจะประสบปัญหาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การที่ผู้เล่นตัวหลักทั้ง ธนบูรณ์ เกษารัตน์ และ ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ ย้ายออกจากทีม การลาออกของรองประธานสโมสรผู้เป็นกำลังหลักในการบริหารอย่าง ธนพล วิระเทพสุภรณ์ หรือแม้แต่การที่ทีมไม่สามารถรักษาฟอร์มการเล่นที่คงเส้นคงวาในฟุตบอลลีกได้ แต่เชียงราย ยูไนเต็ดก็ยังคงรักษาฟอร์มการเล่นในฟุตบอลถ้วยได้อย่างยอดเยี่ยมจนสร้างประวัติศาสตร์คว้า "ทริปเปิลแชมป์" ได้เป็นครั้งแรกของสโมสร (ช้าง เอฟเอคัพ , โตโยต้า ลีกคัพ และ ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ ) ก่อนที่ทางสโมสรจะตัดสินใจแยกทางกับอาเลชังดรี กามาในนัดสุดท้ายของฤดูกาล ซึ่งเป็นนัดที่เชียงราย ยูไนเต็ดเอาชนะบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดไปได้ 3-2 และสามารถป้องกันแชมป์ช้าง เอฟเอคัพ พร้อมรับสิทธิ์ไปเล่นรอบเพลย์ออฟรายการเอเอฟซี แชมป์เปียนลีกได้เป็นปีที่สองติดต่อกัน
ในช่วงก่อนเริ่มฤดูกาล 2562 นายมิตติ ติยะไพรัชได้ตัดสินใจสละตำแหน่งประธานสโมสรให้แก่นางสาวปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช ผู้เป็นน้องสาว เนื่องจากตนต้องการทำงานด้านการเมืองกับทางพรรคไทยรักษาชาติ อย่างเต็มที่ ก่อนจะถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 10 ปีและกลับเข้ามารับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของสโมสรในภายหลัง เมื่อฤดูกาล 2562 เปิดฉากขึ้น เชียงราย ยูไนเต็ดภายใต้การคุมทีมของผู้ฝึกสอนคนใหม่อย่าง ไอล์ตัน ซิลวา ก็สามารถทำผลงานได้ดีและสม่ำเสมอกว่าในฤดูกาลที่ผ่านมา แม้จะตกรอบฟุตบอลถ้วยทุกรายการ แต่ก็ยังคงสามารถรักษาผลงานในลีกได้จนก้าวขึ้นมาเบียดแย่งตำแหน่งจ่าฝูงกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในช่วงท้ายของการแข่งขัน ซึ่งระยะห่างของคะแนนที่สูสีนี้ทำให้ต้องมีการตัดสินแชมป์กันจนถึงนัดสุดท้ายของฤดูกาล โดยก่อนการแข่งขันนัดสุดท้ายนั้น เชียงราย ยูไนเต็ดมีคะแนนทั้งหมด 55 แต้ม ในขณะที่ทางบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดมีคะแนนรวม 57 แต้ม นำเป็นจ่าฝูงของลีก แต่เมื่อจบการแข่งขันนัดสุดท้าย ทั้งสองทีมกลับมีเท่ากันที่ 58 แต้ม เนื่องจากเชียงราย ยูไนเต็ดสามารถเอาชนะสุพรรณบุรี เอฟซี ไปได้ 5–2 ส่วนบุรีรัมย์กลับพลาดท่าเสมอกับสโมสรเชียงใหม่ เอฟซี 1-1 เมื่อคะแนนของทั้งสองทีมเท่ากัน จึงจำเป็นต้องมีการตัดสินด้วยกฏเฮดทูเฮด ซึ่งเชียงรายนั้นมีเฮดทูเฮดที่ดีกว่าบุรีรัมย์ (เสมอ 0-0 ในเกมเยือน และชนะ 4-0 ในเกมเหย้า) ทำให้เชียงราย ยูไนเต็ดพลิกสถานการณ์กลับมาคว้าแชมป์ไทยลีก สมัยแรกมาครองได้สำเร็จในที่สุด
ก่อนที่สโมสรฟุตบอลเชียงราย ยูไนเต็ดจะมีสนามเหย้าเป็นของตัวเอง พวกเขาเคยต้องเช่าสนามหลายแห่งเพื่อใช้ในการแข่งขันนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรในปีพ.ศ. 2552 และต้องประสบปัญหาการไม่มีสนามเหย้าใช้แข่งขันในจังหวัดของตัวเองอยู่ระยะหนึ่ง ด้วยปัญหาความล่าช้าในการปรับปรุงสนามกีฬากลางจังหวัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และจากปัญหาแอลกอฮอล์ในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น โดยสนามที่สโมสรเคยใช้ในการแข่งขันก่อนจะมีสนามเป็นของตัวเองคือ สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, สนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย และสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี โดยการที่ต้องไปแข่งขันที่จังหวัดเชียงใหม่นั้นได้ส่งผลกระทบต่อรายได้สโมสรเป็นอย่างหนัก ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการสนับสนุนให้สโมสรมีสนามเป็นของตัวเองขึ้น โดยสนามเหย้าถาวรของสโมสรนั้นได้เริ่มมีการก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2554 ก่อนเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2555
สิงห์ สเตเดียม [ แก้ ]
สิงห์ สเตเดียม หรือ สนามยูไนเต็ด สเตเดียม เป็นสนามเหย้าของ สโมสรฟุตบอลสิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ตั้งอยู่ ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย หน้าสนามบินนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย เริ่มเปิดใช้นัดแรกในวันที่ 7 กรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นการรับการมาเยือนของ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด โดยผลการแข่งขันจบลงด้วยผลเสมอ 1-1 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 สนามแห่งนี้ใช้ชื่อว่าสนามยูไนเต็ด สเตเดียม เรื่อยมา มีการต่อเติมและปรับปรุงสนามอยู่โดยตลอด จนกระทั่งบริษัท สิงห์ ได้เข้ามาสนับสนุนสโมสร จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อสนามเป็น สนามสิงห์ สเตเดียม นับตั้งแต่ฤดูกาล 2560 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังได้มีการปรับปรุงสนามให้ทันสมัยและผ่านมาตราฐานของเอเอฟซี อาทิเช่น การติดเก้าอี้ทุกที่นั่งของสนาม ปัจจุบันสนามแห่งความจุราว 12,000 ที่นั่ง
ผู้เล่น [ แก้ ]
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน [ แก้ ]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว [ แก้ ]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่า ตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
No.
ตำแหน่ง
ผู้เล่น
—
DF
วัชรินทร์ เนื่องพระแก้ว (ไป ศรีสะเกษ จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562)
—
GK
นนท์ ม่วงงาม (ไป เชียงใหม่ จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562)
—
DF
สหรัฐ แก้วแสงใส (ไป เชียงใหม่ จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562)
No.
ตำแหน่ง
ผู้เล่น
—
DF
โชติภัทร พุ่มแก้ว (ไป เชียงใหม่ จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562)
—
MF
เดชา สอาดโฉม (ไป เชียงใหม่ จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562)
—
FW
ไคเก (ไป เชียงใหม่ จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562)
ผลงาน [ แก้ ]
ชนะเลิศ
รองชนะเลิศ
อันดับที่สาม
เลื่อนชั้น
ตกชั้น
เกียรติประวัติ [ แก้ ]
ฟุตบอลลีก [ แก้ ]
ฟุตบอลถ้วย [ แก้ ]
สโมสรพันธมิตร [ แก้ ]
อ้างอิง [ แก้ ]
แหล่งข้อมูลอื่น [ แก้ ]
ทีมชาติไทย
ระบบลีก
ชาย
หญิง
ฟุตซอลชาย
ฟุตซอลหญิง
ถ้วยในประเทศ
ทีมสำรองและ ทีมสถาบันการศึกษา
ถ้วยระดับทวีป แข่งกระชับมิตร รายชื่อ