สดใส รุ่งโพธิ์ทอง
สดใส รุ่งโพธิ์ทอง (วงการเพลง) สดใส โรจนวิชัย (วงการเมือง) | |
---|---|
![]() หน้าปกซีดีชุด ดีที่สุด | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | พงษ์ศักดิ์ โรจน์ธนวิชัย |
เกิด | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 |
ที่เกิด | จังหวัดสมุทรปราการ |
แนวเพลง | ลูกทุ่ง |
อาชีพ | นักร้อง, นักการเมือง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2517—ปัจจุบัน |
สดใส รุ่งโพธิ์ทอง มีชื่อจริงในอดีตว่า พงษ์ศักดิ์ โรจน์ธนวิชัย ชื่อตามบัตรประชาชน ปัจจุบัน สดใส โรจนวิชัย เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ที่ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีพ่อเป็นคนทำขวัญนาค แม่มีอาชีพชาวนา ในวัยเด็กชอบร้องเพลง โดยเฉพาะเพลงลูกทุ่ง
ประวัติ[แก้]
สดใสบันทึกเสียงตัวเองลงแผ่นเสียงครั้งแรกกับเพลง ข้าด้อยเพียงดิน ซึ่งเป็นเพลงที่เขียนเอง แต่เพลงที่ทำให้ได้ชื่อเสียงและได้รับความนิยมคือ รักจางที่บางปะกง ในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งสดใสเขียนเนื้อเพลงเอง เป็นที่ได้รับความนิยมมากเพราะมีเนื้อร้องที่ไหลลื่นและคลองจองกัน พร้อมกับมีดนตรีที่เป็นจังหวะฉิ่งฉับ ฟังแล้วให้รู้สึกคึกคัก หลังจากนั้นมา สดใส ก็ได้มีผลงานบันทึกเสียงกับบริษัท นิธิทัศน์ โปรโมชั่น โดยอยู่ในอัลบั้ม สุดยอดลูกทุ่งเสียงทอง ต่อมาสดใสก็มีผลงานบันทึกเสียงกับค่ายโรสวิดีโอ (ปัจจุบันคือ โรสมีเดียฯ) โดยนำผลงานเพลงของตัวเอง และเพลงของ ศรเพชร ศรสุพรรณ รวมถึงนักร้องท่านอื่น ๆ มาขับร้องด้วย
สดใส รุ่งโพธิ์ทอง กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2540 กับเพลง รักน้องพร ซึ่งมีเนื้อหาและลีลาการร้องที่ออดอ้อน ซึ่งเพลงนี้ต่อมาได้ถูกนำมาร้องใหม่และแปลงเนื้อร้องโดยนักร้องลูกทุ่งหลายคน
ในทางการเมือง สดใสสนใจการเมืองมาตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ได้นำเอาเพลงของคาราวานไปใส่เนื้อร้องใหม่เป็นเพลงลูกทุ่ง เช่นเพลง เราคนจน มาจากเพลง คนกับควาย เพลงโอ้ชาวนา มาจากเพลง เปิบข้าว เป็นต้น
จากนั้น ได้เข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและปริญญาโท รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 สดใสได้ลงสมัครเป็น ส.ว. ที่จ.ปทุมธานี และได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงถึง 52,180 คะแนน เป็นอันดับหนึ่งของจังหวัด มีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการศิลปวัฒนธรรมของวุฒิสภา แต่ทำหน้าที่ได้เพียง 5 เดือนเท่านั้นก็ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยการถูกรัฐประหาร
ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 สดใสได้ลงเลือกตั้งอีกครั้งที่ จ.ปทุมธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยการทาบทามของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค โดยลงในเขต 2 จ.ปทุมธานี ซึ่งประกอบด้วย อ.ธัญบุรี อ.ลำลูกกา และ อ.หนองเสือ พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น สดใส โรจน์ธนวิชัย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[1]
ในการเลือกตั้งในกลางปี พ.ศ. 2554 สดใสได้ลงเลือกตั้งอีกครั้งในพื้นที่เดิม โดยย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[2]
ต่อมาสดใสได้เดินทางมาสมัครเป็นสมาชิก พรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งก่อนหน้านั้นมีกระแสข่าวว่าสดใสเตรียมสมัครเป็นสมาชิก พรรคพลังประชารัฐ
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3]
ต่อมาสดใสได้ลาออกจากสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนาและย้ายมาสมัครเป็นสมาชิก พรรคเพื่อแผ่นดิน จากนั้นในการประชุมใหญ่สามัญของพรรคเพื่อแผ่นดิน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 สดใสก็ได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินในลำดับที่ 4
อัลบั้ม[แก้]
- รักน้องพร
- บอกรักฝากใจ
- แกงหน่อไม้ดองน้องพิมพ์
- คณะบุญหลายมันส์หยุดโลก
- ดีที่สุด
- ท้าพิสูจน์
- ดับเบิ้ลฮิต
- รักจางที่บางปะกง
- สุดยอดลูกทุ่งเสียงทอง
- ของฝากจาก ก.ท.ม.
- ตามหาสายพิณ
- พระรามยังรอ
- รักพี่ได้ไหม
- อาจารย์โกย
- ปล่อยเขาไป
- อดีดรักบางปะกง
- ไอ้หนุ่มรถตู้
- รอรับปริญญา
อัลบั้มพิเศษ[แก้]
- ประสานใจ ไทยหาร 2 (2541)
- รักไทยใจลูกทุ่ง (2541)
- อะเมซซิ่งโคกเจริญ (2544)
- แม่แห่งชาติ (2548)
งานเพลงของสดใส รุ่งโพธิ์ทอง[แก้]
- รักน้องพร
- สาวงามเมืองพิจิตร
- บอกรักฝากใจ
- รักจางที่บางปะกง
- พี่ช้ำวันนี้ น้องช้ำวันหน้า
- เหมือนข้าวคอยเคียว
- ไกลบ้าน
- รักมา 5 ปี
- น้ำกรดแช่เย็น
- เสียน้ำตาที่คาเฟ่
- ไอ้หวังตายแน่
- ใครลืมใครก่อน
- ตอไม้ที่ตายแล้ว
- รักเก่าที่บ้านเกิด
- หลบเลียแผลใจ
- วันสุดท้าย
- ทหารพิการรัก
- รู้ว่าเขาหลอก
- หนิงหน่อง
- ข้าด้อยเพียงดิน
- ซากรักบีงพระราม
- รักสิบล้อรอสิบโมง
- จดหมายเป็นหมัน
- ฉันทนาใจดำ
- โรครักกำเริบ
- รักสาวหล่มสัก
- อย่ามือบอน
- เราคนจน
- โอ้ชาวนา
- ขาดเงินขาดรัก
- เพราะคุณคนเดียว
- ทหารใหม่ไปทอง
- สุภาษิตในวงเหล้า
- เมาลูกเดียว
- ไปดีพี่ดีด้วย
- ทหารพิการรัก
- มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม
- ฟ้าร้องให้
ผลงานการแสดง[แก้]
- ลูกทุ่งเสียงทอง (2528)
- เพลงรักลูกทุ่ง (2539)
- สวรรค์บ้านทุ่ง (2541)
- ซุปเปอร์ลูกทุ่ง (2541)
- พ่อ ตอน เพลงของพ่อ (2542)
- มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ เอ็ม (2545) รับบท ผู้กำกับตำรวจ
- มนต์รักแม่นํ้ามูล (2545)
- 2 ผู้ยุ่งเหยิง (2546)
- เสน่ห์บางกอก (2554) รับบท ครูเพลง
- รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน (2556) (รับเชิญ)
- เพลงรักเพลงปืน (2562) (รับเชิญ)
- จันทร์กระจ่างที่กลางทุ่ง (2562)
คอนเสิร์ต[แก้]
- คอนเสิร์ต 30 ปี สุรพล สมบัติเจริญ (21 สิงหาคม 2541)
- คอนเสิร์ต มหกรรมดนตรีเพื่อธรรมชาติและชีวิต ครั้งที่ 2 (29-30 มกราคม 2542)
- คอนเสิร์ต ลูกทุ่งไทย รวมน้ำใจต้านภัยเอดส์ (21 กันยายน 2543)
- คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย (17-18 สิงหาคม 2545)
- คอนเสิร์ต ป้า คนดนตรี คืนชีวิตสู่ธรรมชาติ (13 - 14 กันยายน 2550)
- คอนเสิร์ต รักแผ่นดิน (7 กรกฎาคม 2550)
- คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน ยอดรัก สลักใจ (16 สิงหาคม 2551)
- คอนเสิร์ต เพลงดี-ดนตรีดัง จิตรกร บัวเนียม ครั้งที่ 2 (14 มิถุนายน 2552)
- คอนเสิร์ต ลูกทุ่งจ๋ามหาสนุก (21 – 22 เมษายน 2555)
- คอนเสิร์ต รำลึก 20 ปี ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ (17 มิถุนายน 2555)
- คอนเสิร์ต รำลึก 30 ปี ล้อต๊อก ตลก 4 แผ่นดิน (30 กันยายน 2555)
- คอนเสิร์ต 78 ปี ตำนานแห่งสายน้ำ ครูชลธี ธารทอง (16 พฤษภาคม 2558)
- คอนเสิร์ต big mountain music festival 7 (19-20 ธันวาคม 2558)
- คอนเสิร์ต OTOP และของดี อำเภอป่าโมก (22 กันยายน 2559)
- คอนเสิร์ต รำลึก 26 ปี ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ (25 มิถุนายน 2561)
- คอนเสิร์ต รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (26 ธันวาคม 2561)
- คอนเสิร์ต หนึ่งใจ...ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (16 กันยายน 2562)
- คอนเสิร์ต 84 ปี ปรางทิพย์ บรรลือฤทธิ์ (4 ตุลาคม 2563)
- คอนเสิร์ต อาลัยพ่อเพลงแห่งแผ่นดิน พ่อไวพจน์ เพชรสุพรรณ (5-7 พฤษภาคม 2565)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ รายการเช้านี้...ที่หมอชิต ช่วง เสาร์สนุก ศุกร์สบาย : ออกอากาศวันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ทางช่อง 7
- ↑ 'สนั่น'ส่งเสียงตั้งนายกฯ ใครรวมเสียงได้มากทำ บอกรธน.ไม่ได้กำหนด แค่พรรคอันดับ1เท่านั้น
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอบางบ่อ
- บุคคลจากจังหวัดปทุมธานี
- นักร้องชายชาวไทย
- นักร้องลูกทุ่งชายชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดปทุมธานี
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- บุคคลจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- บุคคลจากสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- พรรครวมแผ่นดิน