สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
พระรูปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร | |
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[1] ดำรงตำแหน่งร่วมกับ พระยามานวราชเสวี | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | หลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์) ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ) พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) สงวน จูฑะเตมีย์ |
ถัดไป | คณะอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ |
ดำรงตำแหน่ง 23 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2492[2] | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | คณะอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ |
ดำรงตำแหน่ง 4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2494[3] | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ถัดไป | พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร |
ประธานอภิรัฐมนตรี ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2492[4] | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พระองค์เอง พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) |
ถัดไป | พระองค์เอง |
ประสูติ | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 7 มีนาคม พ.ศ. 2494 (65 ปี) วังถนนวิทยุ จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
หม่อม | หม่อมเอลีซาเบท รังสิต ณ อยุธยา |
พระบุตร | |
ราชสกุล | รังสิต |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5 |
ลายพระอภิไธย | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2456 – พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2493 – พ.ศ. 2494 |
ชั้นยศ | พลเอก |
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2494) พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรี เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 58 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง
พระประวัติ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 58 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์; พระธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์) ประสูติในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา ตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428[5] วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 หลังประสูติได้ 11 วัน พระมารดาก็ถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุ้มพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์มาพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ด้วยพระองค์เอง พร้อมกับตรัสว่า[6]"...ให้มาเป็นลูกแม่กลาง..." สมเด็จพระบรมราชเทวีก็ทรงรับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์พร้อมทั้งพระเชษฐภคินี คือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ไว้ในอุปการะ โดยทรงเลี้ยงดูพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ซึ่งมีพระชันษาใกล้เคียงกับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ที่ประสูติปี พ.ศ 2421 เหมือนกับพระราชโอรสของพระองค์เอง
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เสด็จไปศึกษาชั้นมัธยม ณ เมืองฮัสเบอรสตัด ประเทศเยอรมนี ใน พ.ศ. 2442[7] จากนั้นทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก โดยมีพระประสงค์ที่จะศึกษาวิชาแพทย์ แต่ในระยะแรกทรงศึกษาวิชากฎหมาย ตามพระราชประสงค์ของพระบิดา ต่อมาจึงทรงเปลี่ยนไปศึกษาวิชาการศึกษา และยังทรงเข้าศึกษาวิชาที่เกี่ยวกับการแพทย์บางอย่างเป็นการส่วนพระองค์กับศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้นด้วย
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระองค์เจ้าต่างกรมที่ "พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร"[8] เมื่อ พ.ศ. 2457 ทรงรับราชการตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงศึกษาธิการ และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2458 ทรงปรับปรุงหลักสูตรการเรียนให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการพยาบาลผดุงครรภ์ ซึ่งในสมัยนั้นยังนิยมใช้การแพทย์แผนโบราณ คลอดบุตรโดยหมอตำแยกันอยู่ ทรงส่งเสริมให้ข้าราชบริพารในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เข้าเรียนต่อหลักสูตรของศิริราชพยาบาล ให้สนใจศึกษาวิชาแพทย์และพยาบาลแผนปัจจุบันให้มากขึ้น ทรงปลูกฝังความนิยมในการเรียนแพทย์ให้เป็นที่แพร่หลาย จัดการศึกษาในโรงเรียนแพทย์ให้มีมาตรฐาน นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้โน้มน้าวสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ให้ทรงสนพระทัยวิชาการแพทย์ เมื่อ พ.ศ. 2465 ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร
พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2486 ในสมัยรัฐบาลของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม พระองค์ทรงถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในกบฏพระยาทรงสุรเดช ทำให้พระองค์ถูกคุมขังที่เรือนจำกองมหันตโทษ รวมทั้งถูกถอดออกจากฐานันดรศักดิ์[9] แต่ได้มีการประกาศสถาปนาพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ตามเดิม เมื่อพ.ศ. 2487 ในสมัยรัฐบาลของพันตรีควง อภัยวงศ์[10]
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2493 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ที่วังถนนวิทยุ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2494[11] ด้วยพระโรคหืดและโรคพระหทัยวาย สิริพระชันษา 65 ปี นับเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีพระชันษาสูงที่สุดและมีพระชนม์ชีพเป็นพระองค์สุดท้าย เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2495 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ์ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จไปในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
เสกสมรส
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เสกสมรสกับหม่อมเอลิซาเบท รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชาร์นแบร์เกอร์; ชื่อภาษาอังกฤษ: Elisabeth Scharnberger) สตรีชาวเยอรมัน ณ ที่ทำการอำเภอเวสตมินสเตอร กรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ทรงเป็นองค์ต้นราชสกุลรังสิต มีพระโอรส 2 องค์ และพระธิดา 1 องค์ ได้แก่[12][13]
- หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต เสกสมรสครั้งแรกกับหม่อมราชวงศ์ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่ มีธิดาด้วยกัน 1 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์เยาวลักษณ์ รังสิต สมรสกับมิทเชล แอลแลนด์
ต่อมาทรงหย่ากันและเสกสมรสใหม่กับหม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต (ราชสกุลเดิม รัชนี; ปัจจุบันคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) มีพระธิดาร่วมกัน 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์วิภานันท์ รังสิต สมรสครั้งแรกกับสวนิต คงสิริ มีบุตร 2 คน ได้แก่
- ปินิตา คงสิริ
- นิตินันท์ คงสิริ
- หม่อมราชวงศ์วิภานันท์ รังสิต สมรสครั้งแรกกับสวนิต คงสิริ มีบุตร 2 คน ได้แก่
ต่อมาสมรสใหม่กับวิลเลียม บี.บูธ มีบุตร 1 คน คือ
- ปริศนา บูธ
- หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต สมรสครั้งแรกกับมหาราช จักกัต สิงห์แห่งชัยปุระ รัฐราชสถาน (Maharaj Jagat Singh of Jaipur) มีพระราชบุตร 2 พระองค์ ได้แก่
- ราชกุมารี ลลิตยา กุมารี แห่งชัยปุระ
- ราชกุมาร เทพราช สิงห์ แห่งชัยปุระ
ต่อมาสมรสใหม่กับปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล
และมีหม่อม 1 คน คือหม่อมพิทักษ์ รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม แสงฤทธิ์) มีโอรสร่วมกัน 1 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์ประทักษ์ รังสิต
- หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต เสกสมรสครั้งแรกกับอามีเลีย มอนตอลติ (ไม่มีบุตรด้วยกัน) และเสกสมรสใหม่กับหม่อมนาลินี รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขนิล) มีบุตรด้วยกัน 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์พงษ์สนิธ รังสิต สมรสกับสมใจ รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม เลิศสุวรรณ)
- หม่อมราชวงศ์จารุวรรณ รังสิต สมรสกับอเล็กซานเดอร์ ซูรซก มีบุตร 2 คน ได้แก่
- อเล็กซานเดอร์ คิม ซูรซก
- แคทเธอรีน ไอช่า ซูรซก
- หม่อมราชวงศ์สายสนิธ รังสิต สมรสกับปิยะลักษณ์ รังสิต ณ อยุธยา (สกุลเดิม เป้าเปรมบุตร)
- หม่อมราชวงศ์วลัยลักษณ์ รังสิต สมรสกับไบรอัน คริสโตเฟอร์ โกเดต์ มีบุตร 2 คน ได้แก่
- เอมี มาริสสา โกเดต์
- แองเจลา กัลยาณี โกเดต์
- ท่านผู้หญิงจารุลักษณ์กัลยาณี บูรณะนนท์ (พระนามเดิม หม่อมเจ้าจารุลักษณ์กัลยาณี รังสิต) กราบบังคมทูลลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรส[14]กับเฉลิม บูรณะนนท์ มีบุตร 2 คน ได้แก่
- จามิกร บูรณะนนท์ สมรสกับเจน แอนโดรส มีบุตรสองคน ได้แก่
- กัลยาณี แคทรีน บูรณะนนท์
- ชัยยา คริสโตเฟอร์ บูรณะนนท์
- ฉันทกะ บูรณะนนท์ สมรสกับซิลเวีย ซีสนิส มีบุตร 1 คน คือ
- ฉันทกะ บูรณะนนท์ Jr.
- จามิกร บูรณะนนท์ สมรสกับเจน แอนโดรส มีบุตรสองคน ได้แก่
พระกรณียกิจ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงจัดตั้งวิชาแพทย์ปรุงยาขึ้นในโรงเรียนราชแพทยาลัย ตามที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถได้ทรงปรารภเกี่ยวกับการขาดแคลนแพทย์ปรุงยาในกองทัพ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเภสัชกรรม ในปี พ.ศ. 2476 พระองค์ได้รับการเชิดชูพระเกียรติเป็นพระบิดาของวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมแห่งประเทศไทย
ลำดับการดำรงตำแหน่ง
- พ.ศ. 2454 ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[15] และนายร้อยโทพิเศษในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2460 ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ทรงจัดตั้งกองนักเรียนแพทย์เสือป่า และทรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมนักเรียนแพทย์เสือป่าหลวง
- พ.ศ. 2461 ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสาธารณสุข[16]
- พ.ศ. 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เลื่อนขึ้นเป็น กรมขุนชัยนาทนเรนทร ทรงศักดินา 15,000[17]
- พ.ศ. 2468 ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว[18] โดยทรงดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[19] และทรงลาออกจากราชการเนื่องจากพระอนามัยไม่สมบูรณ์
- พ.ศ. 2490 ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[20]
- พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี[21] พระราชทานยศพลเอกนายทหารพิเศษประจำกองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[22] และโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[23]
พระเกียรติยศ
[แก้]พระอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)[8]
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465[17] - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2468)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (9 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482)
- นายรังสิตประยูรศักดิ์ รังสิต ณ อยุธยา (ถอดพระอิสริยยศ; 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 - 20 กันยายน พ.ศ. 2487)[9]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร (คืนพระอิสริยยศ; 20 กันยายน พ.ศ. 2487 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493)[10]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 - 28 มกราคม พ.ศ. 2495)[24] โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
“พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร” สิงหนาม ทรงศักดินา 15000 ตามอย่างธรรมเนียมพระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวง
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร (28 มกราคม พ.ศ. 2495 - ปัจจุบัน)[25] หลังจากสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรมเป็นกรมพระยา และมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
“สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรทร จุฬาลงกรณราชวโรรส สยามสุขบทบุรัสการี เมตตาสีตลหฤทัย อาชชวมัททวัธยาศัยสุจารี วิวิธเมธีวงศาธิราชสนิท นวมนริศรสุมันตนบิดุล ติรตนคุณสรณาภิรักษ ประยุรศักดิธรรมิกนาถบพิตร”
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2454 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[26]
- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[27]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[28] (สายสร้อยทองลงยา)[29]
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า) (ฝ่ายหน้า)[30]
- พ.ศ. 2494 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[31]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[32]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[33]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[34]
- พ.ศ. 2472 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2)[35]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)[36]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[37]
พระสมัญญานาม
[แก้]พระยศ
[แก้]พระยศทหาร
[แก้]- 31 มีนาคม พ.ศ. 2454: นายร้อยโทพิเศษ[40]
- นายพันตรี
- นายพันโทพิเศษ ประจำกรมทหารบกราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[41]
- 17 เมษายน พ.ศ. 2493: พลเอก นายทหารพิเศษประจำกองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[42]
พระยศพลเรือน
[แก้]- 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2460: มหาอำมาตย์โท[43]
พระยศเสือป่า
[แก้]ราชตระกูล
[แก้]พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศแต่งตั้ง คณะอภิรัฐมนตรี เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์. เลาะวัง. กรุงเทพฯ : โชคชัยเทเวศร์ (1988), 2535. 416 หน้า. ISBN 974-420-045-6
- ↑ เสด็จไปศึกษาชั้นมัธยม ณ เมืองฮัสเบอรสตัด ประเทศเยอรมนี
- ↑ 8.0 8.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม, เล่ม 31, ตอน 0ง, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457, หน้า 1835
- ↑ 9.0 9.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดยศฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์และบรรดาศักดิ์, เล่ม 56, ตอน 0 ง, 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 ,หน้า 2617
- ↑ 10.0 10.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา นายรังสิตประยูรศักดิ์ รังสิต ณ อยุธยา กลับดำรงฐานะและฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ตามเดิม, เล่ม 61, ตอน 59 ก, 20 กันยายน พ.ศ. 2487, หน้า 848
- ↑ ข่าวสิ้นพระชนม์
- ↑ HRH Prince RANGSIT PRAYURASAKDI
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง ลาออกจากฐานันดรศักดิ์ (หม่อมเจ้าจารุลักษณ์กัลยาณี รังสิต), เล่ม 62, ตอน 39 ง, 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2488, หน้า 1113
- ↑ ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ ประกาศตั้งกรมสาธารณสุขและตั้งอธิบดีกรมสาธารณสุข ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 35 หน้า 302 วันที่ 8 ธันวาคม 2461
- ↑ 17.0 17.1 "ประกาศเลื่อนกรมตั้งพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 310–313. 19 พฤศจิกายน 2465. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี
- ↑ ประกาศยกเลิก พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 200 วันที่ 17 กรกฎาคม 2475
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งอภิรัฐมนตรี เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 64, ตอน 54 ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490, หน้า 688
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งประธานองคมนตรี (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ กรมขุนชัยนาทนเรนทร), เล่ม 67, ตอน 18 ก, 28 มีนาคม พ.ศ. 2493, หน้า 398
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ กรมพระชัยนาทนเรนทร) เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 67, ตอน 32 ก, 6 มิถุนายน พ.ศ. 2493, หน้า 644
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การสถาปนาพระราชวงศ์, เล่ม 67, ตอน 69, 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2493, หน้า 490
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร, เล่ม 69, ตอน 7 ก, 29 มกราคม พ.ศ. 2495, หน้า 77
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 48. 9 เมษายน ร.ศ. 130. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 (ตอน 27 ง): หน้า 1995. 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2493. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์จุลจอมเกล้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 36 (ตอน 0 ง): หน้า 2406. 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสายสร้อยเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าทองลงยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 69 (ตอน 7 ง): หน้า 310. 29 มกราคม พ.ศ. 2495. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานตรารัตนวราภรณ์ในงานเฉลิมพระชนม์พรรษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 38 (ตอน 0 ง): หน้า 2893. 8 มกราคม พ.ศ. 2464. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 (ตอน 22 ง): หน้า 1621. 18 เมษายน พ.ศ. 2493. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 36 (0): 3310. 25 มกราคม พ.ศ. 2462.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 50. 9 เมษายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 27 (ตอน 0 ง): หน้า 3095. 19 มีนาคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 46 (ตอน 0 ง): หน้า 2438. 1 ธันวาคม พ.ศ. 2472. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 55 (ตอน 0 ง): หน้า 2959. 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 15 (ตอน 26): หน้า 283. 25 กันยายน ร.ศ. 117. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เรียกข้อมูลวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-30. สืบค้นเมื่อ 2019-01-03.
- ↑ พระราชทานยศนายร้อยโท
- ↑ พระราชทานยศนายพันโท
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๙๗, ๓ มิถุนายน ๒๔๖๐
- ↑ พระราชทานนายหมวดโท
- ↑ พระราชทานนายกองโท
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คลองรังสิต[ลิงก์เสีย]
- รัฐสภาไทยใต้ร่มพระบารมี เก็บถาวร 2008-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ปรีดี พนมยงค์ | ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2489 — 24 มีนาคม พ.ศ. 2493 , 4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 — 7 มีนาคม พ.ศ. 2494) |
พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2428
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2494
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 9
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมพระยา
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5
- ราชสกุลรังสิต
- ราชสกุลสนิทวงศ์
- ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของไทย
- นายพลชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์
- เภสัชกรชาวไทย
- เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว
- สมาชิกกองเสือป่า
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์