เทศบาลเมืองสามควายเผือก

พิกัด: 13°49′42.7″N 100°06′22.4″E / 13.828528°N 100.106222°E / 13.828528; 100.106222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ตำบลสามควายเผือก)
เทศบาลเมืองสามควายเผือก
ทม.สามควายเผือกตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐม
ทม.สามควายเผือก
ทม.สามควายเผือก
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองสามควายเผือก
พิกัด: 13°49′42.7″N 100°06′22.4″E / 13.828528°N 100.106222°E / 13.828528; 100.106222
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครปฐม
อำเภอเมืองนครปฐม
จัดตั้ง • 31 มีนาคม 2539 (อบต.)
 • 23 กันยายน 2562 (ทม.)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสุเทพ เถลิงศักดาเดช
พื้นที่
 • ทั้งหมด14.72 ตร.กม. (5.68 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด11,384 คน
 • ความหนาแน่น773.37 คน/ตร.กม. (2,003.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04730111
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 115 หมู่ที่ 4 ซอยสามควายเผือก 2 ทางหลวงชนบท นฐ.4002 ตำบลสามควายเผือก อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
เว็บไซต์samkwaipuak.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ตำบลสามควายเผือก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Sam Khwai Phueak
ประเทศไทย
จังหวัดนครปฐม
อำเภอเมืองนครปฐม
พื้นที่
 • ทั้งหมด14.72 ตร.กม. (5.68 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด11,384 คน
 • ความหนาแน่น773.37 คน/ตร.กม. (2,003.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 73000
รหัสภูมิศาสตร์730114
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองสามควายเผือก เป็นเทศบาลเมืองซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมตำบลสามควายเผือกทั้งตำบล ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เดิมเคยเป็น "สภาตำบลสามควายเผือก" ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็น "องค์การบริหารส่วนตำบลสามควายเผือก" ใน พ.ศ. 2539[2] แล้วจึงได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองใน พ.ศ. 2562[3] เทศบาลแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากเมืองนครปฐมไปทางทิศเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ เขตเทศบาลตำบลธรรมศาลา เขตองค์การบริหารส่วนตำบลธรรมศาลา เขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อยในอำเภอเมืองนครปฐม เขตองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว และเขตเทศบาลตำบลศีรษะทองในอำเภอนครชัยศรี[4] ปัจจุบันมีประชากรทั้งหมด 11,384 คน[1]

ชื่อของตำบลและเทศบาลมีที่มาจากเรื่องเล่าที่ชาวบ้านพบเห็นควายเผือกจำนวนสามตัวพลัดตกลงไปในสระน้ำจนตาย จึงตั้งชื่อพื้นที่นี้ว่า "สามควายเผือก"[5] นอกจากนี้ ควายเผือกสามตัวยังปรากฏในตราสัญลักษณ์ของเทศบาลอีกด้วย พื้นที่ของเทศบาลมีคลองสามควายเผือกและคลองชลประทานไหลผ่าน นอกจากนี้ยังมีศูนย์บำบัดน้ำเสียของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ[6]

หมู่บ้าน[แก้]

เทศบาลเมืองสามควายเผือกครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบลสามควายเผือกซึ่งแบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่[7]

  • หมู่ที่ 1 บ้านสระน้ำหวาน
  • หมู่ที่ 2 บ้านศาลาแดง
  • หมู่ที่ 3 บ้านสามควายเผือก
  • หมู่ที่ 4 บ้านรางฉิม
  • หมู่ที่ 5 บ้านรางกระโดน
  • หมู่ที่ 6 บ้านรางมะเดื่อ
  • หมู่ที่ 7 บ้านต้นกร่าง
  • หมู่ที่ 8 บ้านกกโก

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 อำเภอเมืองนครปฐม". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. 30 มกราคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-01-16.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสามควายเผือก อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นเทศบาลเมืองสามควายเผือก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (พิเศษ 237 ง): 18. 23 กันยายน 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-05-06.
  4. "สภาพข้อมูลพื้นฐานเทศบาลเมืองสามควายเผือก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-30. สืบค้นเมื่อ 2020-05-06.
  5. "ประวัติเทศบาลเมืองสามควายเผือก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-30. สืบค้นเมื่อ 2020-05-06.
  6. อจน.โชว์ศูนย์บำบัดน้ำเสียสามควายเผือก ดันน้ำดีแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ
  7. "แผนที่เทศบาลเมืองสามควายเผือก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-30. สืบค้นเมื่อ 2020-05-06.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]