ตำบลทุ่งบัว
ตำบลทุ่งบัว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Thung Bua |
อดีตสถานีหนองฟักในทางรถไฟสายสุพรรณบุรี | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครปฐม |
อำเภอ | กำแพงแสน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 19.65 ตร.กม. (7.59 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 5,639 คน |
• ความหนาแน่น | 286.97 คน/ตร.กม. (743.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 73140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 730207 |
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบัว | |
---|---|
พิกัด: 14°02′33.8″N 99°57′24.1″E / 14.042722°N 99.956694°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครปฐม |
อำเภอ | กำแพงแสน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 19.65 ตร.กม. (7.59 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 5,639 คน |
• ความหนาแน่น | 286.97 คน/ตร.กม. (743.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06730213 |
ที่อยู่ที่ทำการ | หมู่ 3 ตำบลทุ่งบัว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 |
เว็บไซต์ | www |
ทุ่งบัว เป็นตำบลในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นตำบลที่มีทางรถไฟสายสุพรรณบุรีผ่าน โดยเป็นที่ตั้งของอดีตสถานีรถไฟหนองฟัก
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลทุ่งบัว มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสระสี่มุม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลกำแพงแสน
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลรางพิกุล
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลทุ่งลูกนก
ประวัติ
[แก้]ทุ่งบัว เดิมเป็นหมู่บ้านของตำบลทุ่งขวาง ปี พ.ศ. 2511 ทางจังหวัดนครปฐมประกาศแยก 9 หมู่บ้านของตำบลทุ่งขวาง ออกมาตั้งตำบลทุ่งบัว[3] ปี พ.ศ. 2534 นายสุกิจ จุลละนันทน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมได้ประกาศแยกพื้นที่ทางทิศใต้ของตำบลทุ่งบัว รวม 8 หมู่บ้าน คือ หมู่ 2 บ้านทุ่งพัฒนา, หมู่ 3 บ้านรางพิกุล, หมู่ 4,11 บ้านห้วยด้วน, หมู่ 6 บ้านกำแพงแสน, หมู่ 7 บ้านดอนกำเพา, หมู่ 9 บ้านรางหมัน และหมู่ 15 บ้านไผ่โน้ม ออกไปตั้งเป็นตำบลรางพิกุล[3]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลทุ่งบัวแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน ได้แก่
- หมู่ที่ 1 บ้านหนองสมควร
- หมู่ที่ 2 บ้านหนองฟัก
- หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งควายหาย
- หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งปรือ
- หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งอินทนิน
- หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งบัว
- หมู่ที่ 7 บ้านหนองไม้งาม
- หมู่ที่ 8 บ้านหนองน้ำเย็น
- หมู่ที่ 9 บ้านดอนเจริญ
- หมู่ที่ 10 บ้านหนองนกกระสา
- หมู่ที่ 11 บ้านหนองแก
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ตำบลทุ่งบัวเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลทุ่งบัว ในปี พ.ศ. 2516[4] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลทุ่งบัวมี 8 หมู่บ้าน พื้นที่ 19.65 ตารางกิโลเมตร ประชากร 4,355 คน และ 777 ครัวเรือน[5] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลทุ่งบัวอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบัว[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตตำบลทุ่งบัว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (ตอนพิเศษ 63 ง): 90–205. วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2543
- ↑ 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (15 ง): 442–444. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลทุ่งบัว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539