แอร์บัส เอ320

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แอร์บัส เอ 320)
แอร์บัส เอ320
บทบาทอากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ
บริษัทผู้ผลิตแอร์บัส
บินครั้งแรก22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987
เริ่มใช้18 เมษายน ค.ศ. 1988 กับแอร์ฟรานซ์[1]
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักอเมริกันแอร์ไลน์
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์
อีซี่ย์เจ็ต
ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์
ช่วงการผลิตค.ศ. 1986 - 2021 (ตระกูลเอ320ซีอีโอ)
ค.ศ. 2012 - ปัจจุบัน (ตระกูลเอ320นีโอ)
จำนวนที่ผลิต10,616 ลำ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022
มูลค่าราคา ณ ปีค.ศ. 2018:
เอ318: 77.4 ล้านเหรียญสหรัฐ
เอ319: 92.3 ล้านเหรียญสหรัฐ
เอ320: 101.0 ล้านเหรียญสหรัฐ
เอ321: 118.3 ล้านเหรียญสหรัฐ
แบบอื่นแอร์บัส เอ318
แอร์บัส เอ319
แอร์บัส เอ321
พัฒนาต่อเป็นแอร์บัส เอ320นีโอ

แอร์บัส เอ320 (Airbus A320 Family) เป็นอากาศยานประเภทลำตัวแคบที่มีพิสัยบินระยะใกล้ถึงปานกลาง ผลิตโดยแอร์บัส เอส.เอ.เอส. เริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2531 โดยแอร์ฟรานซ์ และยังคงได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน รุ่นของ เอ 320 รวมถึง A318, A319, A320 และ A321 ในปัจจุบันเรียกถึงด้วยชื่อว่า A320ซีอีโอ (ceo; current engine option) อันสืบเนื่องจากการเปิดตัวรุ่นใหม่ ได้แก่ เอ320นีโอ[2] โรงงานประกอบสุดท้ายอยู่ที่ตูลูส ประเทศฝรั่งเศส และ ฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมนี และยังมีที่ เทียนจิน ที่เปิดใช้ในปีค.ศ. 2009 เพื่อผลิตเครื่องบินให้กับสายการบินของประเทศจีน แอร์บัส เอ320 สามารถจุผู้โดยสารได้ถึง 220 คน และมีพิสัยการบินตั้งแต่ 3,100 ถึง 12,000 กิโลเมตร โดยขึ้นอยู่กับรุ่นผลิต

สมาชิกรุ่นแรกของตระกูลแอร์บัส เอ320 คือ เอ320 ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1984 และขึ้นบินครั้งแรกในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1987 และจากนั้นไม่นานก็มีรุ่นใหม่อื่นๆ ออกมา ได้แก่ เอ321 (ส่งมอบในปีค.ศ. 1994) เอ319 (ค.ศ. 1996) และ เอ318 (ค.ศ. 2003) โดยเครื่องบินในรุ่นของ เอ320 นั้นเป็นเครื่องบินรุ่นแรกที่เริ่มใช้ระบบบังคับการบินแบบ fly-by-wire และยังเริ่มใช้การควบคุมโดยสติ๊กด้านข้าง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกสำหรับเครื่องบินพาณิชย์ และนอกจากนี้ยังมีการพัฒนาอื่นๆ อีกมากมายตั้งแต่เปิดตัวเครื่องบินรุ่นนี้ขึ้น

ณ วันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 แอร์บัสมียอดส่งมอบเครื่องบินตระกูล เอ 320 ถึง 6,668 ลำ และนอกจากนี้ยังมีคำสั่งซื้ออีก 5,161 ลำ ทำให้ เอ320 เป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีการยอดจำหน่ายสูงสุดในระหว่างปีค.ศ. 2005 ถึง 2007 และยังเป็นเครื่องบินรุ่นเดียวที่มียอดขายสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง[3][4] เครื่องบินแอร์บัส เอ 320 นั้นเป็นเครื่องบินยอดนิยมในหมู่สายการบินต่างๆ รวมถึงสายการบินต้นทุนต่ำ เช่น อีซี่ย์เจ็ต ซึ่งได้ซื้อรุ่น เอ319 และ เอ320 เพื่อแทนที่โบอิง 737 โดยมีลูกค้าที่ใช้ประจำการมากที่สุด คือ อเมริกันแอร์ไลน์ (459 ลำ)

รุ่น[แก้]

เอ318[แก้]

แอร์บัส เอ318 ของอาเบียงกา

แอร์บัส เอ318 เป็นรุ่นของแอร์บัส เอ320 ที่เล็กที่สุดของตระกูล โดยสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุด 132 คน และมีพิสัยการบิน 5,700 กม. (3,100 ไมล์ทะเล) เครื่องบินลำนี้เข้าประจำการในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2003 กับฟรอนเทียร์แอร์ไลน์ เอ318 ใช้ระดับใบอนุญาตการบินอากาศยานเดียวกันกับเครื่องบินในตระกูล เอ320 รุ่นอื่นๆ ทำให้นักบินสามารถใช้ใบอนุญาตการบินเครื่องบินตระกูลเอ320 ที่มีอยู่ในการบินเอ318 ได้โดยไม่ต้องฝึกอบรมเพิ่มเติม แอร์บัส เอ318 เป็นเครื่องบินพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานความปลอดภัยการบินแห่งยุโรป (EASA) สำหรับการขึ้นลนและลงจอดด้วยความชัน ทำให้เอ318 สามารถบินได้ที่ท่าอากาศยานต่างๆ เช่น ท่าอากาศยานลอนดอนซิตี ที่มีขนาดเล็กและมีตึกสูงในบริเวณใกล้เคียง เมื่อเทียบกับเครื่องบินรุ่นอื่นในตระกูลแอร์บัส เอ320 แล้ว เอ318 ทำยอดขายได้ในจำนวนที่น้อย โดยมียอดสั่งซื้อทั้งหมดเพียง 80 ลำในราคาลำละ 77.4 ล้านเหรียญสหรัฐ[5]

เอ319[แก้]

แอร์บัส เอ319 ของฟินน์แอร์

แอร์บัส เอ319 หรือที่เรียกว่า เอ320M-7 เป็นรุ่นย่อของแอร์บัส เอ320 โดยมีความยาวลำตัวอยู่ที่ 3.73 ม. (12 ฟุต 3 นิ้ว)[6][7][8] โดยได้มีการถอดลำตัวเครื่องออกสี่เฟรม บริเวณด้านหน้าของปีกและสามเฟรมที่ท้ายปีกออก ด้วยความจุเชื้อเพลิงที่ใกล้เคียงกับ เอ320-200 และจำนวนผู้โดยสารที่น้อยลง สามารถจุผู้โดยสารได้ 124 คนในการจัดเรียงที่นั่งแบบสองชั้น ในพิสัยการบิน 6,650 กม. (3,590 nmi) หรือ 6,850 กม. (3,700 nmi) ด้วย "ชาร์กเล็ท" แม้ว่าจะใช้เครื่องยนต์เหมือนกับของเอ320 แต่เครื่องยนต์เหล่านี้ถูกลดแรงผลักดันลงเนื่องจากน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดที่ต่ำกว่าของแอร์บัส เอ319

แอร์บัสได้มีการส่งมอบแอร์บัส เอ319ซีอีโอ ทั้งหมด 1,460 ลำ โดยเหลืออีก 24 ลำที่สั่งซื้อ ณ วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2017[9] ในปี 2018 ราคาตามรายการของ A319 อยู่ที่ 92.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]

เอซีเจ319[แก้]

แอร์บัส เอซีเจ319 เป็นรุ่นเครื่องบินส่วนตัวของเอ319 โดยมีถังเชื้อเพลิงเสริมแบบถอดได้ (ถังกลางเพิ่มเติมสูงสุด 6 ถัง) ซึ่งติดตั้งในห้องเก็บสัมภาระ และเพดานบินเพิ่มขึ้น 12,500 ม. (41,000 ฟุต)[10] มีพิสัยการบิน 11,000 กิโลเมตร (6,000 ไมล์ทะเล)[11][12] เมื่อขายต่อ เครื่องบินสามารถกำหนดค่าใหม่เป็น เอ319 มาตรฐานได้โดยการถอดถังพิเศษและชุดห้องโดยสารของบริษัทออก ซึ่งจะทำให้มูลค่าการขายต่อสูงสุด ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ เอซีเจ หรือ แอร์บัสคอร์ปอเรทเจ็ต ในขณะที่เริ่มตั้งแต่ปี 2014 มีการชื่อทางการตลาดว่า เอซีเจ319

เอ320[แก้]

แอร์บัส เอ320 ของเวอร์จินแอตแลนติก

แอร์บัส เอ320 มีสองรุ่นย่อย ได้แก่ เอ320-100 และ เอ320-200 โดยแอร์บัสได้ผลิตเอ320-100 เพียง 21 ลำเท่านั้น[13] โดยได้เข้าประจำการกับแอร์อินเตอร์ ก่อนถูโอนย้ายไปยังแอร์ฟรานซ์และบริติชแอร์เวย์ตามลำดับ จากการเข้าควบคุมกิจการของบริติชแคลิโดเนียน

รุ่น -200 ได้เป็นรุ่นที่พัฒนาต่อจากรุ่น -100 โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ปลายปีกและความจุเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีพิสัยการบินเพิ่มขึ้น อินเดียนแอร์ไลน์ใช้เครื่องบินเอ320-200 จำนวน 31 ลำ ที่มีล้อหลักแบบคู่สำหรับสนามบินที่มีสภาพทางวิ่งที่ย่ำแย่ ซึ่งเกียร์หลักแบบโบกี้เดียวไม่สามารถลงจอดได้

แอร์บัส เอ320 ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ซีเอฟเอ็ม56-5 หรือ IAE V2500 จำนวน 2 ลำ โดยมีแรงขับเคลื่อน 98–120 kN (22,000–27,000 lbf) เอ320 มีพิสัยการบิน 3,300 ไมล์ทะเล หรือ 6,100 กิโลเมตร[14] มีการส่งมอบเครื่องบินรุ่น เอ320ซีอีโอ ทั้งหมด 4,512 ลำ โดยเหลืออีก 220 ลำที่สั่งซื้อ ณ วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2017 คู่แข่งของโบอิงที่ใกล้เคียงที่สุดคือโบอิง 737-800

เอ320P2F[แก้]

หลังจากอีเอฟดับเบิลยูเริ่มการแปลงเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ลำแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 แอร์บัส เอ320P2F ได้ทำการบินครั้งแรกเป็นเวลา 3 ชั่วโมงในวันที่ 8 ธันวาคมจากสิงคโปร์[15] เครื่องบินดังกล่าวได้รับมอบครั้งแรกในปี 2006 และเปิดตัวกับแอสทรัลเอวิเอชั่นในกรุงไนโรบีตั้งปี 2022 โดยเช่าจาก Vaayu Group ผู้ให้เช่าในตะวันออกกลาง[16] เอ320P2F ได้รับการรับรองประเภทเพิ่มเติมเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 2022[17]

เอ321[แก้]

แอร์บัส เอ321 ของอีวีเอแอร์

เมื่อแอร์บัส เอ320 เริ่มให้บริการในปี 1998 เครื่องบินแอร์บัส เอ321 ก็ถูกเปิดตัวในฐานะเครื่องบินรุ่นแรกในปีเดียวกัน[13] ลำตัวเครื่องบินของ เอ321 ถูกยืดออก 6.93 เมตร (22 ฟุต 9 นิ้ว) โดยส่วนหน้ายาว 4.27 เมตร (14 ฟุต 0 นิ้ว) ยื่นออกไปด้านหน้าของปีก และส่วนหลังยาว 2.67 เมตร (8 ฟุต 9 นิ้ว)[18] น้ำหนักการบินขึ้นสูงสุดของ เอ321-100 เพิ่มขึ้น 9,600 กก. (21,200 ปอนด์) เป็น 83,000 กก. (183,000 ปอนด์) เพื่อรักษาประสิทธิภาพ จึงมีการติดตั้งแฟลปคู่ และเพิ่มพื้นที่ปีกอีก 4 ตร.ม. (43 ตร.ฟุต) เป็น 128 ตร.ม. (1,380 ตร.ฟุต)[19] เที่ยวบินแรกของต้นแบบเครื่องแรกจากทั้งหมดสองเครื่องเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1993 [20]เอ321-100 เข้าประจำการในเดือนมกราคม ค.ศ. 1994 กับลุฟท์ฮันซ่า

คู่แข่งของโบอิ้งที่ใกล้เคียงที่สุดกับแอร์บัส เอ321 คือ โบอิง 737-900/900อีอาร์ และ โบอิง 757-200[19] มีการส่งมอบเครื่องบินรุ่น เอ321ซีอีโอ ทั้งหมด 1,562 ลำ โดยเหลืออีก 231 ลำที่สั่งซื้อ ณ วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. /จๅต ในปี 2018 ราคาตามรายการของ เอ321 อยู่ที่ 118.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]

เอ321P2F[แก้]

แอร์บัส เอ321P2F ของซาลามแอร์

โครงการดัดแปลงเครื่องบินแอร์บัส เอ320 และ เอ321 เป็นเครื่องบินขนส่งสินค้า ได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยแอร์บัสเฟรต์เตอร์คอนเวอร์ชัน เจเอ็มเบฮาร์ โดยจะมีการนำเฟรมเครื่องบินมาดัดแปลงให้มีความเหมาะสมกบการขนส่งสินค้า โดยจะได้รับการดัดแปลงโดยบริษัท Elbe Flugzeugwerke GmbH (EFW) ในเดรสเดิน ประเทศเยอรมนี และซูคอฟสกี้ ประเทศรัสเซีย โดยแอร์แคป ลูกค้าเปิดตัวของรุ่นได้มาลองบันทุกความเข้าใจ (MoU) ในปี 2008 เพื่อเปลี่ยนเครื่องบินโดยสาร เอ320/เอ321 จำนวน 30 ลำของสายการบินเป็น เอ320/เอ321P2F (ผู้โดยสารเป็นเครื่องบินขนส่งสินค้า) อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2011 แอร์บัสประกาศว่าพันธมิตรทั้งหมดจะยุติโครงการดัดแปลงเครื่องบินขนส่งผู้โดยสารไปยังเครื่องบินขนส่งสินค้า โดยอ้างถึงความต้องการสูงสำหรับโครงเครื่องบินใช้แล้วสำหรับบริการผู้โดยสาร[21]

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2013 เอสทีแอโรสเปซได้ลงนามในข้อตกลงกับแอร์บัสและอีเอฟดับเบิลยู สำหรับความร่วมมือเพื่อเปิดตัวโปรแกรมดัดแปลง เอ320/เอ321 Passenger-to-Freighter (P2F)[22] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019 ควอนตัสได้รับการประกาศให้เป็นลูกค้าเปิดตัวสำหรับแอร์บัส เอ321P2F สำหรับปรษณีย์ออสเตรเลีย โดยมีเครื่องบินสูงสุดสามลำที่จะเปิดตัวในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 ไททันแอร์เวย์ได้รับ เอ321P2F ลำแรกในเดือนมกราคม ค.ศ. 2021[23] ซึ่งได้รับการดัดแปลงที่สิงคโปร์ สายการบินมี A321P2F อีกสองลำที่ยังไม่ได้รับการดัดแปลง[24]

ผู้ให้บริการ[แก้]

ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2022 มีเครื่องบินตระกูลแอร์บัส เอ320 จำนวน 9,824 ลำที่ให้บริการเชิงพาณิชย์ โดยมีผู้ให้บริการกว่า 330 ราย ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุด 5 ราย ได้แก่ อเมริกันแอร์ไลน์ (459), ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (358), อีซี่ย์เจ็ต (327), ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ (309) และ อินดีโก (260) โดยเครื่องบินที่ให้บริการ ได้แก่ เอ318 58 ลำ, เอ319 1,361 ลำ (ซีอีโอ 1,352 + นีโอ 9 ลำ), เอ320 5,850 ลำ (ซีอีโอ 4,303 ลำ) + 1,547 นีโอ) และเอ321 2,555 ลำ (ซีอีโอ 1,737 ลำ + นีโอ 818 ลำ) เครื่องบินตระกูลแอร์บัส เอ320นีโอมีส่งมอบทั้งหมด 2,374 ลำให้บริการ ในขณะที่เครื่องบินตระกูลแอร์บัส เอ320ซีอีโอมีให้บริการ 650 ลำประกอบด้วย เอ318 22 ลำ เอ319 132 ลำ เอ320 449 ลำและ เอ321 47 ลำหยุดให้บริการเนื่องจากการปลดระวาง[25]

คำสั่งซื้อและการส่งมอบ[แก้]

รุ่น คำสั่งซื้อ การส่งมอบ
รวม รวม 2022 2021 2020 2019 2018 2017 2016
เอ318 80 80 - - - - - - 1
เอ319 1,486 1,484 - 2 3 4 8 10 4
เอ320 4,763 4,752 - - 3 49 133 184 251
เอ321 1,791 1,784 - 22 9 38 99 183 222
-- เอ320ซีอีโอ -- 8,120 8,100 - 24 15 91 240 377 477
เอ319นีโอ 85 10 6 2 - 2 - - -
เอ320นีโอ 3,977 1,619 214 258 253 381 284 161 68
เอ321นีโอ 4,603 887 220 199 178 168 102 20 -
-- เอ320นีโอ -- 8,665 2,516 440 459 431 551 386 181 68
รวม (16,785) (10,616) (440) (483) (446) (642) (626) (558) (545)
รุ่น การส่งมอบ
2015 2014 2013 2012 2011 2010 2009 2008 2007 2006 2005 2004 2003 2002 2001 2000 1999 1998 1997 1996 1995 1994 1993 1992 1991 1990 1989 1988
เอ318 - 1 2 2 2 6 13 - 17 8 9 10 9 - - - - - - - - - - - - - - -
เอ319 24 34 38 38 47 51 88 98 105 137 142 87 72 85 89 112 88 53 47 18 - - - - - - - -
เอ320 282 306 352 332 306 297 221 209 194 164 121 101 119 116 119 101 101 80 58 38 34 48 71 111 119 58 58 16
เอ321 184 150 102 83 66 51 87 66 51 30 17 35 33 35 49 28 33 35 22 16 22 16 - - - - - -
รวม 491 490 493 455 421 401 402 386 367 339 289 233 233 236 257 241 222 168 127 72 56 64 71 111 119 58 58 16

ข้อมูลเมื่อ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 (2022 -11-30).[26][27]

ข้อมูลจำเพาะ[แก้]

ข้อมูล เอ318 เอ319 เอ320 เอ321
นักบิน 2
ความจุผู้โดยสาร 117 (ชั้นประหยัด) 142 (ชั้นประหยัด) 179 (ชั้นประหยัด) 220 (ชั้นประหยัด)
ความยาว 31.45 เมตร (103 ฟุต 2 นิ้ว) 33.84 เมตร (111 ฟุต) 37.57 เมตร (123 ฟุต) 44.51 เมตร (146 ฟุต)
ความกว้างของปีก 34.10 เมตร (111 ฟุต 10 นิ้ว)
ความสูง 12.56 เมตร (41 ฟุต 2 นิ้ว) 11.76 เมตร (38 ฟุต 7 นิ้ว)
น้ำหนักบรรทุกเปล่า 39,300 กิโลกรัม 40,600 กิโลกรัม 42,400 กิโลกรัม 48,200 กิโลกรัม
น้ำหนักสูงสุดเมื่อนำเครื่องขึ้น 68,000 กิโลกรัม
(149,900 ปอนด์)
75,500 กิโลกรัม
(166,500 ปอนด์)
77,000 กิโลกรัม
(169,000 ปอนด์)
93,500 กิโลกรัม
(206,100 ปอนด์)
ความเร็วปกติ 0.79 มัก
ความเร็วสูงสุด 0.82 มัก
พิสัยบิน เมื่อบรรทุกเต็มลำ 5,950 กิโลเมตร
3,200 ไมล์ทะเล
6,800 กิโลเมตร
3,700 มไล์ทะเล
5,700 กิโลเมตร
3,000 ไมล์ทะเล
5,600 กิโลเมตร
3,050 ไมล์ทะเล
ความจุเชื้อเพลิงสูงสุด 23,860 ลิตร
6,300 แกลลอน
29,840 ลิตร
7,885 แกลลอน
29,680 ลิตร
6,850 แกลลอน
เพดานบิน 41,000 ฟุต
เครื่องยนต์ 2 X PW6122A
2 X CFM56-5
2 X IAE V2500
2 X CFM56-5

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน[แก้]

รุ่นที่ใกล้เคียงกัน[แก้]

เครื่องบินที่คล้ายกัน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. David Learmount (3 September 1988). "A320 in service: an ordinary aeroplane". Flight International. Reed Business Publishing. 134 (4129): 132, 133. ISSN 0015-3710.
  2. "Airbus offers new fuel saving engine options for A320 Family". Airbus. 1 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-09. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
  3. Airbus A320 Family passes the 5,000th order markAirbus เก็บถาวร 2013-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "Airbus steals the Paris air show". Hellocompany.org. 19 June 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-26. สืบค้นเมื่อ 26 June 2011.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2018-01-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ 2022-12-25.
  6. "A320 Dimensions & key data" เก็บถาวร 2012-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Airbus. Archived from the original on 24 January 2012. Retrieved 13 February 2012.
  7. Moxon, Henley (30 August 1995). "Meeting demands". Flight International. Archived from the original on 22 June 2012. Retrieved 25 February 2011.
  8. "A319 Dimensions & key data" เก็บถาวร 2016-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Airbus. Archived from the original on 15 February 2012. Retrieved 13 February 2012.
  9. "Orders and deliveries | Airbus". www.airbus.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-06-16.
  10. "Aircraft Families - Airbus Executive and Private Aviation - ACJ Family". web.archive.org. 2007-05-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-29. สืบค้นเมื่อ 2022-12-25.
  11. ACJ Specifications Archived 8 October 2013 at the Wayback Machine , airbus.com
  12. "ACJ Analysis" Business & Commercial Aviation Magazine – July 2002, Page 44
  13. 13.0 13.1 Norris, Guy (1999). Airbus. Mark Wagner. Osceola, WI, USA: MBI Pub. Co. ISBN 0-7603-0677-X. OCLC 41173835.
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-24. สืบค้นเมื่อ 2022-12-25.
  15. Chua2021-12-09T03:02:00+00:00, Alfred. "First A320P2F completes maiden test flight from Singapore". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  16. Chua2022-02-14T05:41:00+00:00, Alfred. "First A320P2F to enter service with African cargo carrier Astral Aviation". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  17. Chua2022-03-24T02:25:00+00:00, Alfred. "EFW clinches European type certification for A320P2F". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
  18. Gunston, Bill (2009). Airbus : the complete story (2nd ed ed.). Sparkford, Yeovil, Somerset: Haynes Pub. ISBN 978-1-84425-585-6. OCLC 421811014. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)
  19. 19.0 19.1 Julian Moxon (17 March 1993). "A321: Taking on the 757". Flight International. Archived from the original on 24 March 2017. Retrieved 23 March 2017.
  20. Civil aircraft today : the world's most successful commercial aircraft. Paul E. Eden. London: Amber Books. 2008. ISBN 978-1-905704-86-6. OCLC 255970386.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  21. "Newsroom | Airbus". www.airbus.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-06-14.
  22. "ST Aerospace, Airbus and EFW to launch A320 and A321P2F conversion programme" เก็บถาวร 2020-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Press release). ST Aerospace. 17 June 2015. Archived from the original on 25 July 2020. Retrieved 25 February 2020.
  23. Loh, Chris (2021-01-08). "Titan Airways Takes Delivery Of First A321P2F Freighter". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  24. admin, C. P. L. (2020-01-06). "Three A321 freighters join Titan Airways fleet". Titan Airways (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  25. "Orders and deliveries | Airbus". www.airbus.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-06-16.
  26. "Orders and deliveries | Airbus". www.airbus.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-06-16.
  27. "Historical Orders and Deliveries 1974–2009" (Microsoft Excel). Airbus S.A.S. January 2010. Archived from the original on 23 December 2010. Retrieved 10 December 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]