ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องบินบริพัตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องบินบริพัตร
เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ 2 (บ.ท.2)
หน้าที่ เครื่องบินทิ้งระเบิด
ประเทศผู้ผลิต  ไทย
ผู้ผลิต กรมอากาศยานกองทัพอากาศทหารบกสยาม
ผู้ออกแบบ หลวงเวชยันต์รังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ)
เที่ยวบินแรก 23 มิถุนายน พ.ศ. 2470
เริ่มใช้ พ.ศ. 2470
ปลดระวาง พ.ศ. 2483
ผู้ใช้หลัก กรมอากาศยานกองทัพอากาศทหารบกสยาม
จำนวนที่ถูกผลิต <12
เครื่องบินบริพัตร

เครื่องบินบริพัตร หรือ เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ 2 (บ.ท.2) เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ออกแบบโดย พันโท หลวงเวชยันต์รังสฤษฏ์ (มุนี มหาสันทนะ) ผู้รั้งตำแหน่งผู้บังคับฝูงกองโรงงาน กรมอากาศยาน เมื่อ พ.ศ. 2472 สร้างโดยกองโรงงาน กรมอากาศยาน เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิด 2 ที่นั่ง ปีก 2 ชั้น โครงสร้างทำด้วยด้วยท่อภูราลูแมงและไม้ บุผ้า ใช้เครื่องยนต์จูปิเตอร์ขนาด 400-600 แรงม้า 1 เครื่อง

เครื่องบินแบบนี้ได้ชื่อว่า "บริพัตร" ตามพระนามของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหม นับเป็นเครื่องบินรบแบบแรก ที่ออกแบบและสร้างขึ้นโดยคนไทย [1]

เครื่องบินแบบบริพัตร เคยประจำการอยู่ที่กองบินน้อยที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2470 - 2483 เคยเดินทางไปเยือนต่างประเทศ 2 ครั้ง ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2472 ที่นิวเดลี ประเทศอินเดีย ตามคำเชิญของรัฐบาลอินเดีย และในปี พ.ศ. 2473 ไปฮานอย ประเทศเวียดนาม เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี และนำพวงมาลาไปวางที่อนุสาวรีย์ทหารฝรั่งเศส ที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1

ประจำการ

[แก้]
 ไทย

คุณลักษณะ (ต้นแบบที่ 1 - เครื่องยนต์จูปิเตอร์)

[แก้]

ข้อมูลจาก A Siamese Experimental[2]

ลักษณะทั่วไป

  • ลูกเรือ: 2
  • ความยาว: 8.76 m (28 ft 9 in)
  • ระยะระหว่างปลายปีกสองข้าง: 13.41 m (44 ft 0 in)
  • ความสูง: 3.18 m (10 ft 5 in) [3]
  • น้ำหนักรวม: 1,846 kg (4,070 lb)
  • Powerplant: 1 × Bristol Jupiter VI radial engine, 340 kW (450 hp)

สมรรถนะ

  • ความเร็วสูงสุด: 253 km/h (157 mph, 137 kn)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติกองทัพอากาศไทย จากเว็บไซต์กองทัพอากาศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-03. สืบค้นเมื่อ 2007-10-10.
  2. Young 1982, pp. 78–79.
  3. "Building 1" เก็บถาวร 2013-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Royal Thai Air Force Museum. Retrieved 24 February 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]