วิกฤตการณ์มาลายา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกฤตการณ์มาลายา
Darurat Malaya
馬來亞緊急狀態
மலாயன் அவசரநிலை
ส่วนหนึ่งของ การปลดปล่อยอาณานิคมเอเชีย และ สงครามเย็นในเอเชีย
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย:
  • ทหารบริติชยืนโพสท่าถ่ายรูปพร้อมกับถือศีรษะคนที่ถูกตัดขาด
  • ผู้นำคอมมิวนิสต์นามว่า ลี เหมิง ใน ค.ศ. 1952
  • เจ้าหน้าที่แห่งกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร(RAF) ทำการบรรจุลูกระเบิดเพื่อใช้ในการปราบปรามฝ่ายกบฎคอมมิวนิสต์
  • ทหารจากไรเฟิลแอฟริกันแห่งคิง(KAR) กำลังตรวจค้นกระท่อมที่ถูกทิ้งร้าง
  • พลเรือนที่ถูกขับไล่แบบบังคับออกจากดินแดนของตนโดยบริติช ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนบริกส์
วันที่16 มิถุนายน ค.ศ. 1948 – 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1960
(12 ปี 1 เดือน 2 สัปดาห์ และ 1 วัน)
สถานที่
ผล ทหารเครือจักรภพได้รับชัยชนะแต่กลับล้มเหลวทางการทูต
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
การได้รับเอกราชของสหพันธรัฐมาลายา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957
คู่สงคราม

กองกำลังฝ่ายเครือจักรภพ :
 สหราชอาณาจักร

ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์
ได้รับการสนับสนุนโดย:
 สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
 ไทย
(ชายแดนไทย-มาเลเซีย)
 สหรัฐ

กองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์:
พรรคคอมมิวนิสต์มลายา

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

สหราชอาณาจักร:

มาลายา

สิงคโปร์

ออสเตรเลีย

นิวซีแลนด์

พรรคคอมมิวนิสต์มลายา

กองทัพปลดปล่อยชาติมาลายัน (MNLA)

กำลัง

ทหารมากกว่า 451,000 นาย

ทหารมากกว่า 7,000 นาย

  • กองกำลังทหารแบบประจำของ MNLA + 7,000 นาย (ค.ศ. 1951).
  • ผู้ฝักใฝ่ประมาณ +1,000,000 คน
  • จำนวนที่ไม่อาจทราบได้ของชาวโอรังอัซลี ที่เป็นพันธมิตร.
  • จำนวนที่ไม่อาจทราบได้ของ มิน หยวน ที่เป็นผู้สนับสนุนฝ่ายพลเรือน
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 1,346 นาย
เสียชีวิต 519 นาย
บาดเจ็บ 2,406 นาย
เสียชีวิต 6,710 นาย
บาดเจ็บ 1,289 นาย
ถูกจับกุม 1,287 นาย
ยอมจำนน 2,702 นาย
พลเรือนเสียชีวิต: 5,000+ คน


วิกฤตการณ์มาลายา (อังกฤษ: Malayan Emergency) ยังเป็นที่รู้จักกันคือ วิกฤตการณ์มาเลย์ สงครามปลดปล่อยชาติต่อต้านบริติช (ค.ศ. 1948–1960) เป็นสงครามกองโจรที่ต่อสู้รบในบริติชมาลายา ระหว่างนักต่อสู้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่สนับสนุนความเป็นเอกราชของกองทัพปลดปล่อยชาติมาลายัน (MNLA) และกองกำลังทหารของจักรวรรดิบริติชและเครือจักรภพ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ต่อสู้รบเพื่อให้มาลายาได้รับเอกราชจากจักรวรรดิบริติชและเพื่อจัดตั้งเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ในขณะที่กองกำลังเครือจักรภพต่อสู้รบเพื่อปราบปรามลัทธิคอมมิวนิสต์และปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอาณานิคมของบริติช[1][2][3] ความขัดแย้งครั้งนี้เรียกว่า "สงครามปลดปล่อยชาติต่อต้านบริติช" โดย MNLA[4] แต่กลับถูกเรียกว่า "วิกฤตการณ์" โดยบริติช เนื่องจากบริษัทประกันภัยที่อยู่ในลอนดอนจะไม่ยอมจ่ายเงินในกรณีสงครามกลางเมือง[5]

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1948 บริติชได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในมาลายา ภายหลังจากการโจมตีที่ไร่ใหญ่[6] ซึ่งเป็นการโจมตีล้างแค้นจากการสังหารนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย[7] ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์มลายา(MCP) จีนเป็ง และพรรคพวกได้หนีเข้าไปในป่าและก่อตั้ง MNLA เพื่อทำสงครามในการปลดปล่อยชาติต่อต้านการปกครองอาณานิคมของบริติช นักต่อสู้ของ MNLA หลายคนเคยเป็นอดีตสมาชิกของกองทัพประชาชนมลายาต่อต้านญี่ปุ่น (MPAJA) กองทัพกองโจรฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่เคยถูกฝึก ติดอาวุธ และได้รับทุนสนับสนุนจากบริติชในการต่อสู้รบกับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[8] ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้รับการสนับสนุนจากชาวมาเลเซียจำนวนมากมาย ส่วนใหญ่มาจากชุมชนชาวจีน[9]

หลังจากสร้างฐานทัพป่าได้หลายแห่งแล้ว MNLA ได้เริ่มการโจมตีโฉบฉวยต่อตำรวจอาณานิคมและฐานทัพทหารของบริติช เหมืองแร่ดีบุกและไร่ใหญ่ที่เป็นสวนยางพาราก็ถูกโจมตีโดย MNLA เพื่อให้ได้รับเอกราชแก่มลายูจากการล้มละลายของบริติชผู้ยึดครอง บริติชพยายามที่จะทำให้ MNLA ต้องอดอยากโดยการใช้นโยบายกลยุทธ์ผลาญภพผ่านการปันส่วนอาหาร การฆ่าปศุสัตว์ และการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชทางอากาศรวมไปถึงฝนเหลือง[15] บริติชพยายามที่จะเอาชนะฝ่ายคอมมิวนิสต์รวมถึงการวิสามัญฆาตกรรมต่อชาวบ้านที่ไร้อาวุธ ซึ่งเป็นการละเมิดอนุสัญญาเจนีวา[16] ตัวอย่างที่น่าอัปยศที่สุดคือ การสังหารหมู่ที่บาตัง กาลี ซึ่งหนังสือพิมพ์ของบริติชได้เรียกกันว่า "การสังหารหมู่ที่หมีลายของบริติช"[21] แผนบริกส์ได้บังคับให้ทำการย้ายพลเรือนจำนวน 400,000 คน ถึงหนึ่งล้านคนไปยังค่ายกักกัน ซึ่งบริติชเรียกกันว่า "หมู่บ้านใหม่"[22][23][24] ชุมชนชาวพื้นเมืองโอรังอัซลีจำนวนมากยังตกเป็นเป้าหมายของการกักขังเพราะบริติชเชื่อว่า พวกเขาให้การสนับสนุนฝ่ายคอมมิวนิสต์[25][26] ด้วยความเชื่อเรื่องจิตสำนึกทางชนชั้นและความเท่าเทียมกันทั้งทางชาติพันธุ์และเพศของลัทธิคอมมิวนิสต์ กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงและชาวพื้นเมืองจำนวนมากต่างเข้าร่วมทั้ง MNLA และ มิน หยวน เครื่อข่ายส่งบำรุงกำลังอย่างลับ ๆ[27][28]

แม้ว่าสถานการณ์ฉุกเฉินจะถูกประกาศยุติลงใน ค.ศ. 1960 ผู้นำฝ่ายคอมมิวนิสต์ จีนเป็ง ได้เริ่มทำการก่อการกำเริบต่อรัฐบาลมาเลเซียใน ค.ศ. 1967 การก่อการกำเริบระยะที่สองนี้ได้ถูกดำเนินไปจนถึง ค.ศ. 1989

ชนวนเหตุ[แก้]

จากการถอนกำลังของจักรวรรดิญี่ปุ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เศรษฐกิจของมาลายาได้รับความเสียหายอย่างมาก เกิดปัญหาการว่างงานและค่าจ้างที่ต่ำ รวมไปถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น บ่อยครั้งที่แรงงานมากมายนัดหยุดงานและรวมตัวกันเพื่อประท้วงระหว่างปี ค.ศ. 1946 - 1948 ในห้วงเวลาอันยากลำบากนั้น อังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของมลายูมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะฟื้นระบบเศรษฐกิจของแหลมมลายู ซึ่งรายได้จากการค้าดีบุกและอุตสาหกรรมยางนี้เองเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ กลุ่มผู้ประท้วงได้ออกมาเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง ซึ่งรัฐบาลก็ได้มีมาตรการจับกุมและเนรเทศออกนอกดินแดน แต่ในทางกลับกันกลับกลายเป็นว่ากลุ่มผู้ประท้วงกลับแข็งข้อมากขึ้น ในวันที่ 16 มิถุนายน 1948 ชนวนเหตุได้ถูกจุดขึ้นเมื่อ 3 ผู้จัดการสวนชาวยุโรปได้ถูกฆ่าตายในเมืองซันกาย ซีปุด รัฐเปรัก[29]

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อังกฤษได้จึงประกาศใช้มาตรการฉุกเฉิน จากนั้นในเดือนกรกฎาคมภายใต้มาตรการฯ พรรคคอมมิวนิสต์มาลายาและกลุ่มบุคคลคู่กรณีได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากร และตำรวจได้รับอำนาจในการจับกุมและกักขังบุลคลที่เป็นคอมมิวนิสต์และผู้ต้องสงใสว่าให้การช่วยเหลือแก่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้โดยไม่ต้องสอบสวน ในขณะนั้น พรรคคอมมิวนิสต์มาลายาซึ่งนำโดย จีนเป็ง ได้ถอยกลับไปยังชนบทและก่อตั้ง กองทัพปลดปล่อยชนชาติมาลายา ขึ้น หรืออีกชื่อหนึ่งคือ กองทัพประชาชนปลดปล่อยมาลายา ใช้การรบแบบกองโจร โดยมีเป้าหมายคือ กลุ่มอุตสาหกรรมและธุรกิจของเจ้าอาณานิคม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุกและยางพารา

อ้างอิง[แก้]

  1. Deery, Phillip. "Malaya, 1948: Britain's Asian Cold War?" Journal of Cold War Studies 9, no. 1 (2007): 29–54.
  2. Siver, Christi L. "The other forgotten war: understanding atrocities during the Malayan Emergency." In APSA 2009 Toronto Meeting Paper. 2009., p.36
  3. Newsinger 2013, p. 217.
  4. Amin, Mohamed (1977). Caldwell, Malcolm (บ.ก.). The Making of a Neo Colony. Spokesman Books, UK. p. 216.
  5. Burleigh, Michael (2013). Small Wars, Faraway Places: Global Insurrection and the Making of the Modern World 1945–1965. New York: Viking – Penguin Group. p. 164. ISBN 978-0-670-02545-9.
  6. Burleigh, Michael (2013). Small Wars Faraway Places: Global Insurrection and the Making of the Modern World 1945–1965. New York: Viking – Penguin Group. pp. 163–164. ISBN 978-0-670-02545-9.
  7. Newsinger 2013, p. 216–217.
  8. Hack, Karl (28 September 2012). "Everyone Lived in Fear: Malaya and the British way of Counterinsurgency". Small Wars and Insurgencies. 23 (4–5): 672. doi:10.1080/09592318.2012.709764. S2CID 143847349 – โดยทาง Taylor and Francis Online.
  9. Datar, Rajan (host), with author Sim Chi Yin; academic Show Ying Xin (Malaysia Institute, Australian National University); and academic Rachel Leow (University of Cambridge): "The Malayan Emergency: A long Cold War conflict seen through the eyes of the Chinese community in Malaya," November 11, 2021, The Forum (BBC World Service), (radio program) BBC, retrieved November 11, 2021
  10. "The Malayan Emergency - Britain's Vietnam, Except Britain Won". Forces Network (ภาษาอังกฤษ). Gerrards Cross: British Forces Broadcasting Service. 4 October 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2021. One of these strategies was the 'Scorched Earth Policy' which saw the first use of Agent Orange – a herbicide designed to kill anything that it came in contact with.
  11. Mann, Michael (2013). The Sources of Social Power. Volume 4: Globalizations, 1945–2011. Cambridge: Cambridge University Press. p. 16. ISBN 9781107028678. A bloody ten-year civil war, the Malayan Emergency was finally won by British forces using scorched earth tactics, including the invention of forcible relocation of villages into areas controlled by British forces.
  12. Hay, Alastair (1982). The Chemical Scythe: Lessons of 2, 4, 5-T, and dioxin. New York: Plenum Press / Springer Nature. pp. 149–150. doi:10.1007/978-1-4899-0339-6. ISBN 9780306409738. S2CID 29278382. It was the British who were actually the first to use herbicides in the Malayan 'Emergency'...To circumvent surprise attacks on their troops the British Military Authorities used 2,4,5-T to increase visibility in the mixed vegetation
  13. Jacob, Claus; Walters, Adam (2021). "Risk and Responsibility in Chemical Research: The Case of Agent Orange". ใน Schummer, Joachim; Børsen, Tom (บ.ก.). Ethics Of Chemistry: From Poison Gas to Climate Engineering. Singapore: World Scientific. pp. 169–194. doi:10.1142/12189. ISBN 978-981-123-353-1. S2CID 233837382.
  14. Newsinger 2015, p. 52.
  15. [10][11][12][13][14]
  16. Siver, Christi (2018). "Enemies or Friendlies? British Military Behavior Toward Civilians During the Malayan Emergency". Military Interventions, War Crimes, and Protecting Civilians. Cham: Palgrave Macmillan / Springer Nature. pp. 2–8, 19–20, 57–90. doi:10.1007/978-3-319-77691-0. ISBN 978-3-319-77690-3. British efforts to educate soldiers about the Geneva Conventions either did not ever reach units deployed in Malaya or left no impression on them...All of these regiments went through the introductory jungle warfare course and received the same instruction about 'snap shooting' and differentiating between targets. Differences in training do not seem to explain why some units killed civilians while others did not.
  17. "A mistake or murder in cold blood? Court to rule over 'Britain's My Lai'". The Times (ภาษาอังกฤษ). London. 28 April 2012.
  18. Connett, David (18 April 2015). "Batang Kali killings: Britain in the dock over 1948 massacre in". The Independent (ภาษาอังกฤษ). London.
  19. Bowcott, Owen (25 January 2012). "Batang Kali relatives edge closer to the truth about 'Britain's My Lai massacre'". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). London.
  20. Hughes, Matthew (October 2012). "Introduction: British ways of counter-insurgency". Small Wars & Insurgencies. London: Taylor & Francis. 23 (4–5): 580–590. doi:10.1080/09592318.2012.709771.
  21. [17][18][19][20] While the phrase has often been used in the British press, the scholar Matthew Hughes has pointed out in Small Wars & Insurgencies that in terms of the number killed the massacre at Batang Kali is not of a comparable magnitude to the one at My Lai.
  22. Keo, Bernard Z. (March 2019). "A small, distant war? Historiographical reflections on the Malayan Emergency". History Compass. Hoboken: Wiley-Blackwell. 17 (3): e12523. doi:10.1111/hic3.12523. S2CID 150617654. Despite their innocuous nomenclature, New Villages were in fact, as Tan demonstrates, concentration camps designed less to keep the communists out but to place the rural Chinese population under strict government surveillance and control.
  23. Newsinger 2015, p. 50, 'Their homes and standing crops were fired, their agricultural implements were smashed and their livestock either killed or turned loose. Some were subsequently to receive compensation, but most never did. They were then transported by lorry to the site of their "new village" which was often little more than a prison camp, surrounded by a barbed wire fence, illuminated by searchlights. The villages were heavily policed with the inhabitants effectively deprived of all civil rights.'.
  24. Sandhu, Kernial Singh (March 1964). "The Saga of the "Squatter" in Malaya". Journal of Southeast Asian History. Cambridge: Cambridge University Press. 5 (1): 143–177. doi:10.1017/s0217781100002258. The outstanding development of the Emergency in Malaya was the implementation of the Briggs Plan, as a result of which about 1,000,000 rural people were corralled into more than 600 "new" settlements, principally New Villages.
  25. Jones, Alun (September 1968). "The Orang Asli: An Outline of Their Progress in Modern Malaya". Journal of Southeast Asian History. Cambridge: Cambridge University Press. 9 (2): 286–305. doi:10.1017/s0217781100004713. Thousands of Orang Asli were escorted out of the jungle by the police and the army, to find themselves being herded into hastily prepared camps surrounded by barbed wire to prevent their escape. The mental and physiological adaption called for was too much for many of the people of the hills and jungle and hundreds did not survive the experience.
  26. Idrus, Rusalina (2011). "The Discourse of Protection and the Orang Asli in Malaysia". Kajian Malaysia. Penang: Universiti Sains Malaysia. 29 (Supp. 1): 53–74.
  27. Khoo, Agnes (2007). Life as the River Flows: Women in the Malayan Anti-Colonial Struggle (ภาษาอังกฤษ). Monmouth, Wales: Merlin Press. pp. 12–13.
  28. "KAJIAN MALAYSIA". web.usm.my.
  29. Newsinger, John (2015). British counterinsurgency (2nd edition ed.). Basingstoke, Hampshire New York, NY: Palgrave Macmillan. ISBN 978-0-230-29824-8. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]