ไอริส-ที
IRIS-T | |
---|---|
IRIS-T ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ | |
ชนิด | อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ |
แหล่งกำเนิด | ร่วมพัฒนาโดยหลายประเทศ นำโดยเยอรมนี |
บทบาท | |
ประจำการ | ธันวาคม พ.ศ. 2548 |
ผู้ใช้งาน | 11 ประเทศ |
ประวัติการผลิต | |
บริษัทผู้ผลิต | Diehl BGT Defence |
มูลค่า | 400,000 ยูโร |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 87.4 กิโลกรัม |
ความยาว | 2,936 มิลลิเมตร |
เส้นผ่าศูนย์กลาง | 127 มิลลิเมตร |
หัวรบ | สะเก็ดระเบิดแรงสูง |
กลไกการจุดชนวน | การกระทบของสายชนวนบริเวณเรดาร์ |
เครื่องยนต์ | จรวดเชื้อเพลิงแข็ง |
ความยาวระหว่างปลายปีก | 447 มิลลิเมตร |
พิสัยปฏิบัติการ | ~25 กิโลเมตร |
ความสูงปฏิบัติการ | 20,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล |
ความเร็ว | 3 มัค (1,029 เมตร/วินาที) |
ระบบนำวิถี | อินฟราเรด |
ฐานยิง | ผู้ใช้งาน: |
ไอริส-ที (ย่อ: IRIS-T อังกฤษ: Infra Red Imaging System Tail) เป็นอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ที่เยอรมนีเป็นผู้นำในการพัฒนาร่วมกับหลายประเทศ เพื่อแทนที่ AIM-9 Sidewinder ซึ่งเป็นที่ใช้งานส่วนใหญ่ในประเทศสมาชิก นาโต้
ประวัติ
[แก้]ในทรรศวรรษที่ 1980 ประเทศสมาชิกนาโต้ลงนามในบันทึกความตกลงว่าสหรัฐอเมริกาจะพัฒนาอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยกลางเพื่อแทนที่ AIM-7 Sparrow ในขณะที่สหราชอาณาจักรและเยอรมนีจะพัฒนาอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ เพื่อแทนที่ AIM-9 Sidewinder สหรัฐอเมริกาได้ออกแบบและพัฒนา AIM-120 AMRAAM ในขณะที่สหราชอาณาจักร-เยอรมนีเริ่มออกแบบและพัฒนา AIM-132 ASRAAM
ASRAAM ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1970 ซึ่งออกแบบให้มีความคล่องแคล่วสูงที่เรียกว่า "Taildog" แต่ในปี 1974 การพัฒนาก็ต้องสิ้นสุดลงจากการที่ไม่มีคำสั่งซื้อ ซึ่งต่อมาเยอรมนีและสหราชอาณาจักรได้มีความพยายามที่จะรื้อแผนงานนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ในช่วงเวลานั้น ความจำเป็นในการที่ขีปนาวุธจะต้องมีความคล่องแคล่วสูงได้ถูกลดระดับลง
AIM-120 ที่สหรัฐอเมริกาพัฒนานั้นสามารถปฏิบัติการในรัศมีมากกว่า 32 กิโลเมตร ในขณะที่ AIM-9 และ Taildog ยังพบช่องโหว่อีกมากที่ต้องเร่งแก้ไข แปลนขีปนาวุธเดิมได้ถูกนำมาใช้อีกครั้งในการผลิต แต่มีการปรับปรุงในบางรายละเอียด
ภายหลังจากที่เยอรมนีได้รวมประเทศในปี ค.ศ. 1990 เยอรมนีพบว่าตนเองนั้นมีขีปนาวุธ Vympel R-73 ของสหภาพโซเวียตอยู่มากมาย สำหรับใช้งานกับเครื่องบิน มิก-29 ซึ่งเป็นที่รับรู้ถึงประสิทธิภาพของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันถูกค้นพบว่ามีความคล่องแคล่วกว่าเท่าตัวรวมถึงมีพิสัยทำการไกลกว่า AIM-9 ซึ่งข้อสรุปเหล่านี้เองทำให้เยอรมนีตั้งคำถามบางแง่มุมในการออกแบบของ ASRAAM ในส่วนของลำตัวซึ่งเป็นความรับผิดชอบของสหราชอาณาจักร ซึ่งต่อมานั้นส่งผลให้เยอรมนีและสหราชอาณาจักรไม่สามารถมาตกลงเกี่ยวกับการออกแบบของ ASRAAM ได้ ดังนั้นในปี ค.ศ. 1990 เยอรมนีถอนตัวออกจากโครงการ ASRAAM ในขณะที่สหราชอาณาจักรมีมติที่จะหาผู้ร่วมพัฒนาอื่นๆในการพัฒนา ASRAAM ต่อไป
ประเทศผู้พัฒนา
[แก้]ในปี ค.ศ. 1995 เยอรมนีได้ประกาศแผนงานพัฒนาขีปนาวุธนามว่า "IRIS-T" ร่วมกับกรีซ, อิตาลี, นอร์เวย์, สวีเดนและแคนาดา ซึ่งภายหลังแคนาดาได้ถอนตัวออกไป
สัดส่วนการจัดสรรงานในการพัฒนาขีปนาวุธ IRIS-T
- เยอรมนี: 46%
- อิตาลี: 19%
- สวีเดน: 18%
- กรีซ: 13%
- แคนาดาและนอร์เวย์: 4 %
ประเทศผู้ใช้งาน
[แก้]เยอรมนี | สเปน | กรีซ | ออสเตรีย | สวีเดน | นอร์เวย์ | อิตาลี | เบลเยียม | ซาอุดีอาระเบีย | แอฟริกาใต้ | ไทย |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1,250[1] | 770[2] | 350[1] | 25 | 400 | 150 | 450 | 500 | 1,400[3] | 25 | 220[4] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 deagel.com: Spain Joins IRIS-T Program
- ↑ Ministerio de Defensa (September 2011). "Evaluación de los Programas Especiales de Armamento (PEAs)" (PDF) (ภาษาสเปน). Madrid: Grupo Atenea. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-26. สืบค้นเมื่อ 30 September 2012.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2013-04-08.
- ↑ "Diehl Defence: IRIS-T, the short-distance missile of the latest generation". Diehl.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-30. สืบค้นเมื่อ 2014-04-19.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- [https://web.archive.org/web/20110718230948/http://www.diehl-bgt-defence.de/index.php?id=564&L=1 เก็บถาวร 2011-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน IRIS-T on the Homepage of German developer and manufacturer Diehl BGT Defence]