ข้ามไปเนื้อหา

กองบิน 6 ดอนเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองบิน 6
กองทัพอากาศไทย
เครื่องบินซี-130 ของฝูงบิน 601
ณ ฐานทัพร่วมเอลเมนดอร์ฟ-ริชาร์ดสัน รัฐอะแลสกา สหรัฐ
ประจำการกองบินน้อยที่ 6 (พ.ศ. 2484–2492)
กองบินลำเลียง (พ.ศ. 2492–2496)
กองบินน้อยที่ 6 (พ.ศ. 2496–2506)
กองบิน 6 (พ.ศ. 2506–ปัจจุบัน)
ประเทศ ไทย
เหล่าธงของกองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
รูปแบบกองบิน
บทบาทกองบินลำเลียง
ขึ้นกับส่วนกำลังรบ กองทัพอากาศไทย
กองบัญชาการฐานทัพอากาศดอนเมือง, แขวงสนามบิน, เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
สมญาบน.6 Wing 6
คำขวัญกองบิน 6 นักรบผู้ปราศจากอาวุธ
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันนาวาอากาศเอกวิภาษวิทย์ โพธิ์มณี
เครื่องหมายสังกัด
เครื่องหมายราชการ

กองบิน 6 (อังกฤษ: Wing 6 Royal Thai Air Force) เป็นกองบินลำเลียง อยู่ในส่วนกำลังรบและเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพอากาศไทย[1] ประจำการอยู่ที่ฐานทัพอากาศดอนเมือง แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2484[2]

ประวัติ

[แก้]

สงครามมหาเอเชียบูรพา

[แก้]

กองบิน 6 ได้รับการก่อตั้งขึ้นในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2484 รับบทบาทเป็นกองบินทิ้งระเบิดแรกในประเทศไทยในสงครามมหาเอเชียบูรพา ในชื่อว่า กองบินน้อยที่ 6 มี นาวาอากาศเอก สกล รสานนท์ เป็นผู้บังคับการกองบินคนแรก ประกอบกำลังทางอากาศจำนวน 2 ฝูงบิน ประกอบด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบที่ 3 มาร์ติน และเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบที่ 4 นากาชิมา ประจำการที่ฐานทัพอากาศดอนเมือง และมีการปรับกำลังไปประจำการในพื้นที่อื่นตามความจำเป็นในสภาวะสงคราม ประกอบไปด้วย[3]

และย้ายกลับมาประจำการที่ดอนเมืองในปี พ.ศ. 2489 โดยมีหน่วยในสังกัด 3 ฝูงบิน ได้แก่ ฝูงบิน 61 ฝูงบิน 62 และฝูงบิน 63 จากนั้น พ.ศ. 2492 ได้เปลี่ยนแปลงชื่อหน่วย จากกองบินน้อยที่ 6 เป็น กองบินลำเลียง เนื่องจากได้ปลดประจำการเครื่องบินทิ้งระเบิดไปหมดแล้ว และนำเครื่องบินเข้าประจำการแทน คือเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 1 ซี-45 เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2 ซี-47 เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 3 ซี-54 เครื่องบินฝึกแบบที่ 8 ที-6 และเครื่องบินสื่อสารกับเฮลิคอปเตอร์ มีภารกิจในการลำเลียงการฝึกนักบินของส่วนกลาง ปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย การบินสื่อสารและภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย[3]

สงครามเกาหลี

[แก้]

ระหว่างปี พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2519 หน่วยบินลำเลียง กองทัพอากาศไทย ได้เข้าร่วมการรบในสงครามเกาหลี โดยใช้เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2 ซี-47 จำนวน 3 เครื่อง เดินทางไปจากประเทศไทยในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ไปถึงสนามบินตาชิกาวา ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2494 และร่วมปฏิบัติการกับสหประชาชาติจนถึงปี พ.ศ. 2511 จึงได้เปลี่ยนแบบไปใช้เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 4 ซี-123บี จนเสร็จสิ้นภารกิจ และเดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 รวมระยะเวลาในการปฏิบัติการในสงครามเกาหลี 25 ปี[3]

ระหว่างนั้นเอง ในปี พ.ศ. 2496 ได้เปลี่ยนแปลงชื่อหน่วย จากกองบินลำเลียง เป็นกองบินน้อยที่ 6 เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกองบินยุทธการ และต่อมาในปี พ.ศ. 2506 ได้เปลี่ยนชื่อ จากกองบินน้อยที่ 6 เป็น กองบิน 6 ขึ้นตรงกับกองทัพอากาศ และใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน[2][3]

การจัดหน่วย

[แก้]

กองบิน 6 แบ่งส่วนการบริหารราชการภายใน 2 กอง 4 ฝูงบิน 7 แผนก 1 ฝ่าย[3] ดังนี้

กอง

[แก้]
  • กองบังคับการ
  • กองเทคนิค

ฝูงบิน

[แก้]
  • ป้ายของฝูงบิน 601 กองบิน 6
    ฝูงบิน 601 "Lucky"
  • ฝูงบิน 602 "Wihok"
  • ฝูงบิน 603 "Cowboy"
  • ฝูงบิน 604 "Sunny"
    • เครื่องบินฝึกแบบที่ 14: ที-41ดี
    • เครื่องบินฝึกแบบที่ 16: ซี-4บี
    • เครื่องบินตรวจการณ์และลำเลียงแบบที่ 20: พี-180
    • เครื่องบินกองทัพอากาศแบบที่ 6: ทอ.6
    • เครื่องบินฝึกแบบที่ 21: ดีเอ-40เอ็นจี

แผนก

[แก้]
  • แผนกการเงิน
  • แผนกสนับสนุนการบิน
  • แผนกช่างโยธา
  • แผนกขนส่ง
  • แผนกพลาธิการ
  • แผนกสวัสดิการ
  • แผนกการท่าอากาศยานทหาร

อื่น ๆ

[แก้]
  • โรงพยาบาลกองบิน[a]
  • กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 6[a]
  • กองร้อยสารวัตรทหาร[a]
  • หน่วยบิน 2034[b]

อากาศยาน

[แก้]
อากาศยาน ผู้ผลิต บทบาท แบบ รุ่น ประจำการ หมายเหตุ
ฝูงบิน 601
ล็อกฮีด มาร์ติน  สหรัฐ ลำเลียงทางยุทธวิธี C-130H-30 12 [6]
ฝูงบิน 602
แอร์บัส  สหภาพยุโรป เครื่องบินพระที่นั่งสำรอง A-319-115X CJ 1 [7]
แอร์บัส  สหภาพยุโรป รับส่งบุคคลสำคัญ ACJ320 2 [7]
แอร์บัส  สหภาพยุโรป เครื่องบินพระที่นั่งสำรอง

รับส่งบุคคลสำคัญ

A340-500 1 [7]
โบอิง  สหรัฐ เครื่องบินพระที่นั่งสำรอง

รับส่งบุคคลสำคัญ

B737-4Z6 1
โบอิง  สหรัฐ เครื่องบินพระที่นั่งใน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

B737-8Z6 (B737-800) 2
ฝูงบิน 603
เอทีอาร์  ฝรั่งเศส รับส่งบุคคลสำคัญ ATR-72-500

ATR-72-600

3 (รุ่น 500)

6 (รุ่น 600)

[7][4]
ซุคฮอย  รัสเซีย รับส่งบุคคลสำคัญ Superjet 100LR 2 [7][5]
ฝูงบิน 604
เซสนา  สหรัฐ ฝึกบิน T-41D 36 [8]
แปซิฟิค แอโรสเปซ คอร์ปอเรชั่น  นิวซีแลนด์ ฝึกบิน CT-4B [9]
ปิอาจิโอ แอโรสเปซ  อิตาลี ตรวจการณ์และลำเลียง P-180 1 [10][11]
อุตสาหกรรมการบินไทย  ไทย ฝึกบิน RTAF-6 [12]
ไดมอนด์ แอร์คราฟท์  ออสเตรีย ฝึกบิน DA-40NG 8 [13][14]

ที่ตั้ง

[แก้]

ภารกิจ

[แก้]
การส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปช่วยเหลือในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล เมษายน พ.ศ. 2558

กองบิน 6 เป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพอากาศที่ดูแลปฏิบัติการการบินรับส่งเสด็จของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ บุคคลสำคัญ การปฏิบัติการลำเลียงทางอากาศ การส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ การควบคุมไฟป่า การฝึกนักเรียนนายเรืออากาศ การฝึกบินเป็นกรณีพิเศษ การฝึกขั้นพื้นฐานผู้บังคับอากาศยานภายใน ดำเนินการสนับสนุนกิจกรรมของหน่วยฝึกบินพลเรือนของกองทัพอากาศ การฝึกนักบินในการบินทดสอบเครื่องบินและบินทดสอบเครื่องต้นแบบ[15]

นอกจากนี้ กองบิน 6 ยังเป็นกองบินหลักในการปฏิบัติการบรรเทาสาธารณภัยทั้งในประเทศและระหว่างประเทศในการลำเลียงความช่วยเหลือต่าง ๆ ในการให้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลไปยังประชาชนและประเทศไทยไปยังมิตรประเทศที่ประสบเหตุ เช่น อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2567[16] แผ่นดินไหวในประเทศตุรกีและประเทศซีเรีย พ.ศ. 2566[17] แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล เมษายน พ.ศ. 2558[18]

รวมไปถึงการอพยพชาวไทยออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ความไม่สงบในซูดาน[19] การโจมตีอิสราเอลที่นำโดยกลุ่มฮามาส[20]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ไม่ได้บรรจุ จะถูกบรรจุเมื่อย้ายออกจากที่ตั้งปกติ
  2. หน่วยสบทบ

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
  2. 2.0 2.1 "ประวัติความเป็นมา". wing6.rtaf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-21. สืบค้นเมื่อ 2024-10-16.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
  4. 4.0 4.1 "พิธีบรรจุเครื่องบินแบบ ATR 72-600 จำนวน 3 เครื่อง ซึ่งบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินสัญชาติฝรั่งเศส-อิตาลี ได้ส่งมอบให้กองทัพอากาศไทย". สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย.
  5. 5.0 5.1 "ทอ.บรรจุเครื่องบินลำเลียง "ซูคอย ซูเปอร์เจ็ต" 2 ลำ เข้าประจำการ". Thai PBS.
  6. ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 พูดว่า, อานนท์ กาทองทุ่ง (2020-12-17). "รู้จักเครื่องบินพระที่นั่ง/รับส่งบุคคลสำคัญของไทย". thaiarmedforce.
  8. ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
  9. ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
  10. "ซื้อ Navigation Database บ.ตล.๒๐ (P-180) จำนวน ๑ ระบบ (๒๘ พ.ค.๖๒) – กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-08-22.
  11. ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
  12. ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
  13. ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
  14. "ทอ.บรรจุประจำการ เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 15 ก-เครื่องบินฝึกแบบที่ 21 จำนวน 8 เครื่อง". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 2024-10-16.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-24.
  16. ""กองทัพอากาศ" ส่งอากาศยาน-กำลังพล ช่วย "น้ำท่วมเชียงราย"". Thai PBS.
  17. MINGKWAN, PAIRUCH. "เที่ยวบินพิเศษเชิญสิ่งของพระราชทานช่วยเหตุแผ่นดินไหวตุรกี". เดลินิวส์.
  18. "เปิดศูนย์ปฏิบัติการฯ ติดตามการช่วยเหลือในเนปาล". Thai PBS.
  19. "ทอ. ส่งเครื่องบินเตรียมอพยพคนไทยในซูดานกลับ กำหนดออกเดินทางจากกองบิน 6 ดอนเมือง คืนนี้". THE STANDARD. 2023-04-25.
  20. "'ทอ.' ปรับเส้นทางใหม่ ส่ง แอร์บัส A340 บินผ่าน 4 ประเทศ ' รับ 145 คนไทยในอิสราเอล". bangkokbiznews. 2023-10-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]