ทอ.4 จันทรา
ทอ.4 จันทรา | |
---|---|
เครื่องบินจันทรา (บ.ฝ.17) | |
หน้าที่ | เครื่องบินฝึก |
ประเทศผู้ผลิต | ไทย |
ผู้ผลิต | กรมช่างอากาศ กองทัพอากาศไทย |
เที่ยวบินแรก | 25 กันยายน พ.ศ. 2515 |
เริ่มใช้ | 26 กันยายน พ.ศ. 2517 |
ผู้ใช้หลัก | กองทัพอากาศไทย |
จำนวนที่ถูกผลิต | 12 |
พัฒนาจาก | de Havilland Canada DHC-1 Chipmunk |
ทอ.4 จันทรา (บ.ฝ.17) เป็นเครื่องบินแบบแรกของกองทัพอากาศไทยที่ผลิตออกมาใช้งานภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพอากาศไทยกำหนดสัญลักษณ์เป็น บ.ฝ.17 หรือ เครื่องบินฝึกแบบ 17 โครงการสร้างเครื่องบินแบบ ทอ.4 เริ่มขึ้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เครื่องต้นแบบบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2515 กรมช่างอากาศได้รับงบประมาณสร้าง ทอ.4 จำนวน 12 เครื่อง สายการผลิต ทอ.4 เริ่มในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 และมีพิธีมอบ ทอ.4 จำนวน 12 เครื่อง เพื่อบรรจุเข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2517 เพื่อใช้เป็นเครื่องบินฝึกนักบินพลเรือนของกรมการบินพลเรือน กองทัพอากาศ
เครื่อง ทอ.4 ได้ใช้ฐานแบบมาจาก เครื่องบินแบบ ดี ฮาวิล แลนด์ ชิปมังค์ (บ.ฝ.9) โดยดัดแปลงและพัฒนาให้ดีขึ้น ได้มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์จากเครื่องยนต์ลูกสูบเรียง 4 กระบอกสูบแบบยิปซีเมเจอร์ กำลัง 145 แรงม้ามาเป็นเครื่องยนต์สูบนอน 6 กระบอกสูบแบบคอนติเนนตัล กำลัง 210 แรงม้า มีการเปลี่ยนแปลงลำตัวและชุดหางใหม่ให้มีคุณลักษณะดีขึ้นในการบังคับ มีการสร้างประทุนคลุมที่นั่งนักบินใหม่และติดตั้งระบบเครื่องวัดประกอบการบินเดินอากาศและระบบไฟฟ้าอีเล็คทรอนิกส์ใหม่
ประจำการ
[แก้]รายละเอียด ทอ.4 จันทรา(บ.ฝ.17)
[แก้]- ผู้สร้าง กรมช่างอากาศ กองทัพอากาศไทย (ไทย)
- ประเภท เครื่องบินฝึกหรือธุรการ
- เครื่องยนต์ ลูกสูบคอนติเนนตัล ไอโอ-360-เอช สูบนอน 6 สูบ กำลัง 210 แรงม้า 1 เครื่อง
- กางปีก 10.55 เมตร
- ยาว 7.80 เมตร
- สูง 2.41 เมตร
- น้ำหนักเปล่า 744.5 กิโลกรัม
- น้ำหนักบรรทุก 345 กิโลกรัม
- น้ำหนักรวมสูงสุด 1,090 กิโลกรัม
- น้ำหนักรวมสูงสุดนำหรับบินผาดแผลง 1,044 กิโลกรัม
- อัตราเร็วขั้นสูง 258 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระดับน้ำทะเล
- อัตราเร็วเดินทาง 225 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระยะสูง 5,000 ฟุต
- อัตราไต่สูงสุด 365 เมตร/นาที ที่ระดับน้ำทะเล
- ระยะทางวิ่งขึ้นถึงระยะสูง 50 ฟุต 240 เมตร
- ระยะทางร่อนลงจากระยะ 50 ฟุต 315 เมตร
- พิสัยบิน 1,014 กิโลเมตร ที่ระดับน้ำทะล
- บินทน 4 ชั่วโมง 30 นาที ที่ระดับน้ำทะเล
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- อภิวัตน์ โควินทรานนท์. อากาศยาน 1979 ฉบับเครื่องบิน. กรุงเทพฯ : เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์, พ.ศ. 2522.