องค์การบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก
ติมอร์ตะวันออก Timór Lorosa'e Timor-Leste | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
2542–2545 | |||||||||||
![]() ตำแหน่งของติมอร์ตะวันออกทางปลายสุดของหมู่เกาะอินโดนีเซีย | |||||||||||
สถานะ | ดินแดนในอารักขาของสหประชาชาติ | ||||||||||
เมืองหลวง | ดิลี | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาเตตุน ภาษาโปรตุเกส ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาอังกฤษ | ||||||||||
การบริหาร | |||||||||||
นายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์ตะวันออก | |||||||||||
• 2001-2002 | มารี อัลกาตีรี | ||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||
25 ตุลาคม 2542 | |||||||||||
• เอกราช | 20 พฤษภาคม 2545 | ||||||||||
ประชากร | |||||||||||
• | 947,000 | ||||||||||
สกุลเงิน | ดอลลาร์สหรัฐ | ||||||||||
|
องค์กรบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (อังกฤษ: United Nations Transitional Administration in East Timor, UNTEAT) เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเมื่อ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เพื่อรับผิดชอบการบริหารงานก่อนจะมอบเอกราชให้ติมอร์ตะวันออก ปัญหาในติมอร์ตะวันออกเริ่มขึ้นเมื่ออินโดนีเซียเข้ายึดครองอาณานิคมของโปรตุเกสในติมอร์เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2518 สหประชาชาติไม่รับรองอำนาจของอินโดนีเซียเหนือดินแดนแห่งนี้ แต่ไม่มีผลต่อรัฐบาลซูฮาร์โต จนมาถึงรัฐบาลของฮาบิบีจึงได้ยอมให้ดินแดนนี้ปกครองตนเองแบบพิเศษและให้มีการลงประชามติว่าต้องการเป็นเอกราชหรือรวมเข้ากับอินโดนีเซียในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 การลงประชามติเกิดขึ้นเมื่อ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542 โดยเกิดความรุนแรงจากกลุ่มที่ต้องการรวมเข้ากับอินโดนีเซียตลอดเวลา จนเมื่อมีการประกาศผลการลงประชามมติเมื่อ 4 กันยายน โดย 4 ใน 5 ต้องการเป็นเอกราช กลุ่มกองกำลังที่ต้องการรวมกับอินโดนีเซียได้ก่อการจลาจลจนสหประชาชาติต้องถอนคณะทำงานออกมา และได้มีมติในวันที่ 15 กันยายน ที่จะฟื้นฟูสันติภาพในติมอร์ตะวันออก โดยส่งกองกำลังนานาชาติเข้าสู่ติมอร์ตะวันออกเมื่อ 20 กันยายน จากนั้นจึงก่อตั้งองค์กรบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก และให้องค์กรบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออกเข้าสู่ติมอร์ตะวันออกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2543 กองกำลังนานาชาติยุติบทบาทลงเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
ประเทศที่เข้าร่วมในการรักษาสันติภาพ กองกำลังนำโดยออสเตรเลีย ประเทศที่สนับสนุนได้แก่
นิวซีแลนด์
แอลจีเรีย
ฝรั่งเศส
อาร์เจนตินา
บราซิล
ชิลี
เดนมาร์ก
ฟีจี
ไอร์แลนด์
ญี่ปุ่น
มาเลเซีย
รัสเซีย
สิงคโปร์
เกาหลีใต้
ไทย
ฟิลิปปินส์
โปรตุเกส
สวีเดน
และสหราชอาณาจักร ส่วนสหรัฐอเมริกาสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เอกราช
องค์กรบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออกได้จัดให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2544 โดยพรรคเฟรติลินได้คะแนนมากที่สุด จากนั้นได้ร่างรัฐธรรมนูญซึ่งประกาศใช้เมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2545 สภาดังกล่าวได้กลายเป็นสภานิติบัญญัติชุดแรก การเลือกตั้งประธานาธิบดีเกิดขึ้นเมื่อ 14 เมษายน พ.ศ. 2545 โดยชานานา กุฌเมา ได้รับเลือก จากนั้น ติมอร์ตะวันออกได้เอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
เหรียญสหประชาชาติ[แก้]
ประเทศที่ได้ไปปฏิบัติหน้าที่ติมอร์ตะวันออกในฐานะสมาชิกของสหประชาชาติ จะได้เหรียญสหประชาชาติทุกคน
- เหรียญคณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก
อ้างอิง[แก้]
- ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548, หน้า 564-566.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: องค์การบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก |
- Archived official website
- The United Nations and East Timor - A Chronology
- UNTAET Mission Summary
- A Brief History of Australian Army Operations in East Timor, 1999-2005
- Archived web-site of first Transitional Administration*
- Goldstone, Anthony (2004). "UNTAET with Hindsight: The Peculiarities of Politics in an Incomplete State". Global Governance: 83–98.
- Martin, Ian (2005). "The United Nations and East Timor: From Self-Determination to State-Building". International Peacekeeping. 12 (1): 125–145. doi:10.1080/1353331042000286595.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)