วิกฤตการณ์ติมอร์ตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกฤตการณ์ติมอร์-เลสเต

ทหารออสเตรเลียในติมอร์-เลสเต
วันที่20 กันยายน 2542 – 28 กุมภาพันธ์ 2543
สถานที่
ติมอร์-เลสเต
ผล เอกราชของติมอร์-เลสเต
คู่สงคราม

 ติมอร์-เลสเต
 สหประชาชาติ

  • ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย – 5,500
  • สหรัฐ สหรัฐอเมริกา - 4,543
  • นิวซีแลนด์ – 1,100
  • บังกลาเทศ บังกลาเทศ 
  • บราซิล บราซิล 
  • แคนาดา แคนาดา 
  • ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 
  • เยอรมนี เยอรมนี 
  • สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ 
  • อิตาลี อิตาลี 
  • เคนยา เคนยา 
  • นอร์เวย์ นอร์เวย์ 
  • ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 
  • โปรตุเกส โปรตุเกส 
  • สิงคโปร์ สิงคโปร์ 
  • เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 
  • ไทย ไทย 
  • สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร 

 อินโดนีเซีย

สนับสนุน
 มาเลเซีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหประชาชาติ จอร์ช ฮอวาร์ด
ติมอร์-เลสเต ชานานา กุฌเมา
บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี
วีรันโต

ภายหลังโปรตุเกสถออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมิได้จัดการปกครองให้แก่ติมอร์ตะวันออกแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ประเทศอินโดนีเซียส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกโดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต่อมาได้ถูกคัดค้านจากประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การชุมนุมทางศาสนาในพิธีมิสซาที่โบสถ์โมตาเอล (Motael) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ด้เดินขบวนไปยังสุสานซานตาครูซจำนวนผู้ร่วมชุมนุมจึงมีมากขึ้น และการชุมนุมก็เปลี่ยนเป็นการเรียกร้องเอกราช โดยมีนายชานานา กุฌเมา เป็นผู้นำที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเรียกร้องเอกราชจากอินโด

อย่างไรก็ดีเมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมให้ชาวติมอร์ตะวันออกลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากอินโดนีเซีย ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกกว่าร้อยละ 80 ออกเสียงสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในติมอร์ตะวันออกโดยกลุ่มกองกำลังมิลิเทีย (militia) ที่นิยมอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงได้ตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังนานาชาติ (International Force in East Timor – INTERFET) เมื่อ 15 กันยายน 2542 เพื่อส่งเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ก่อนที่จะประกาศเอกราชในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ในขณะนี้ สหประชาชาติดำเนินการสนับสนุนติมอร์ตะวันออกภายใต้ United Nations Mission of Support in East Timor (UNMISET) ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545