ข้ามไปเนื้อหา

กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น
航空自衛隊
ประจำการ1 กรกฎาคม ค.ศ. 1954
ประเทศญี่ปุ่น
กำลังรบ45,000 นาย (2005)
805 อากาศยาน[1] (2010)
ขึ้นกับกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลอากาศเอก ฮารุฮิโกะ คาทาโอกะ
(ประธานเสนาธิการกองกำลังป้องกันตนเองทางกากาศ)
เครื่องหมายสังกัด
เครื่องหมายอากาศยาน
ธงประจำหน่วย
Aircraft flown
AttackF-2
การสงครามอิเล็กทรอนิกส์E-767, EC-1, E-2C
FighterF-4EJ, F-15J/DJ, F-2
เฮลิคอปเตอร์UH-60J, CH-47J, KV-107
InterceptorF-15J
TrainerF-15DJ, T-7, T-400, T-4
TransportC-1, KC-767J, C-130H

กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 航空自衛隊โรมาจิKōkū Jieitai, อังกฤษ: Japan Air Self-Defense Force : JASDF) เป็นสาขาหนึ่ง ของ กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น มีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันน่านฟ้าของญี่ปุ่นและการดำเนินงานการบินอื่น ๆ JASDF ดำเนินการลาดตระเวนทางอากาศทั่วญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน ก็มีเครือข่ายกับที่เชื่อมกับหน่วยงานภาคพื้นดิน รวมถึงระบบเรดาร์เตือนภัยล่วงหน้าทางอากาศ

ประวัติ

[แก้]

ช่วงระยะเวลาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และก่อนการจัดตั้ง กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น ญี่ปุ่นไม่มีกองกำลังทางอากาศที่แยกส่วนออกมา การดำเนินการการบินได้ดำเนินการโดย ฝ่ายอากาศบริการของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นและจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น ต่อมาภายหลัง กองทัพของญี่ปุ่นทั้งหมดถูกยุบ กลายเป็น กองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น ภายใต้กฎหมายกองกำลังป้องกันตนเอง ค.ศ. 1954 ในสาขาการบิน

องค์กร

[แก้]

อากาศยาน

[แก้]
Mitsubishi F-2 บ.โจมตี
Mitsubishi F-15 Eagle บ.โจมตี
Kawasaki T-4 บ.ฝึกหัด ที่ฐานทัพอิวะกุนิ
JASDF C-130H
Kawasaki C-1
Boeing E-767
Boeing CH-47 Chinook

กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ มีอากาศยานทั้งหมด 805 ลำ ในจำนวนนี้ เป็นเครื่องบินรบ 424 ลำ

อากาศยาน
ประเภท
รุ่น
ประจำการ[2]
หมายเหตุ
เครื่องบินรบ
Mitsubishi F-2 โจมตี
โจมตี/ฝึกหัด
F-2A
F-2B
62
12
  • แผน 94 ลำ+ 4 ต้นแบบ
  • F-2B 12 ลำ ได้รับความเสียหายในช่วงเหตุการณ์สึนามิและถูกทิ้ง
Mitsubishi F-15J โจมตี
โจมตี/ฝึกหัด
F-15J
F-15DJ
153
48
2 F-15J's & 12 F-15DJ's ประกอบขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาส่วนแรก และส่วนที่เหลือถูกประกอบขึ้นต่อโดยมิตซูบิชิภายใต้สัญญาอนุญาต
F-4 Phantom II โจมตี
ตรวจการณ์
F-4EJ/EJ改
RF-4E/EJ
91
26
  • 2 F-4EJ & RF-4s RF-4 ประกอบขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา ส่วน F 4EJ's ที่เหลือถูกประกอบขึ้นโดยมิตซูบิชิภายใต้สัญญาอนุญาต
  • รุ่น RF-4 กำลังทยอยออก
เครื่องบินฝึกหัด
Kawasaki T-4 ฝึกหัด 208
Raytheon Hawker 400 Trainer T-400 13
Fuji T-7 ฝึกหัด 48
เครื่องบินลำเลียง
C-130 Hercules การขนส่งทางยุทธวิธี C-130H 15
Kawasaki C-1 การขนส่งทางยุทธวิธี
สงครามอิเล็กทรอนิกส์
C-1A
EC-1
25
1
Boeing 767 อากาศยานเติมเชื้อเพลิง Boeing KC-767J 4
Boeing 747 ขนส่งบุคคลสำคัญ (แอร์ฟอร์ซวัน/ทูญี่ปุ่น) 747-400 2
Gulfstream IV ขนส่งบุคคลสำคัญ U-4 5
NAMC YS-11 ขนส่ง YS-11 13
British Aerospace BAe 125 การขนส่งเบา U-125A 32
AEW
Boeing E-767 อากาศยานเตือนภัยล่วงหน้าและควบคุม E-767 4
Grumman E-2 Hawkeye อากาศยานเตือนภัยล่วงหน้า E-2C 13
เฮลิคอปเตอร์ขนส่ง/ค้นหาและกู้ภัย
CH-47 Chinook|Boeing CH-47 Chinook เฮลิคอปเตอร์ขนส่ง CH-47J 15 ประกอบขึ้นโดยคาวาซากิ ภายใต้สัญญาอนุญาต
Mitsubishi H-60 ค้นหาและกู้ภัย UH-60J 45 3 UH-60J ประกอบขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา ส่วร UH-60J's ที่เหลือประกอบขึ้นโดยมิตซูบิชิภายใต้สัญญาอนุญาต

อาวุธเครื่องบินรบ

[แก้]
  • ระบบอาวุธปล่อยอากาศ-สู่อากาศ/ลูกระเบิด
  • อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศ AIM-9 Sidewinder
  • อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศ AIM-7 Sparrow
  • อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศ AAM-3 (Mitsubishi)
  • อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-อากาศ AAM-4 (Type 99) พัฒนาจาก AIM-7 Sparrow
  • อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-เรือ ASM-1 และ ASM-2
  • ลูกระเบิดนำวิถี MK 82
  • ลูกระเบิดนำวิถี JDAM
  • ลูกระเบิดนำวิถี CBU 87 Cluster Bomb

ระบบป้องกันภัยทางอากาศ

[แก้]
  • ระบบขีปนาวุธพื้น-สู่-อากาศพิสัยกลาง MIM 104 Patriot Pack 2-3
  • อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศพิสัยใกล้ Type 81 SAM
  • อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศประทับบ่า Type 91 SAM (พัฒนาจาก สติงเจอร์ ของอเมริกา)
  • ระบบ ปตอ.ขนาด 20 มม.6 ลำกล้อง M167 VADS (Vulcan Air Defense System)

อากาศยานในอนาคตของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น

[แก้]

ญี่ปุ่นมีโครงการ F-X หรือโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทน F-4EJ ซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันคือ Eurofighter, Rafale, F/A-18E/F, F-15, F-35 และ F-22 ทั้งนี้ ญี่ปุ่นค่อนข้างแสดงเจตจำนงที่จะจัดหา F-22 เพื่อเพิ่มศักยภาพของกำลังรบให้ทัดเทียมจีน รัสเซีย และป้องกันภัยคุกคามจากขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ และสหรัฐยังมีความกังวลอยู่มากเกี่ยวกับเทคโนโลยีใน F-22 ที่จะส่งออกให้ญี่ปุ่น ซึ่งทำให้การจัดหา F-22 ยังมีความไม่แน่นอนอยู่

และในขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็เริ่มการศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการพัฒนาเครื่องบิน Stealth ด้วยตนเองครับ เพราะความต้องการหลักของโครงการ F-X คือเครื่องบินรบที่มีคุณสมบัติตรวจจับได้ยาก (Stealth) และสามารถทำลายขีปนาวุธข้ามทวีปได้

โมเดลในภาพยังเป็นเพียงโมเดลที่ใช้ศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยี Stealth เท่านั้น โครงการพัฒนายังไม่ได้เริ่มอย่างเป็นทางการและยังไม่มีการสร้างเครื่องบินต้นแบบออกมา ซึ่งกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นจะต้องตัดสินใจระหว่างการจัดซื้อเครื่องบินที่มีเทคโนโลยี Stealth โดยตรงหรือพัฒนาเครื่องบินที่มีเทคโนโลยี Stealth ด้วยตนเอง และถ้าตัดสินใจที่จะพัฒนาเอง จะต้องร้องของบประมาณไปที่รัฐสภาญี่ปุ่น ซึ่งน่าจะได้รับการอนุมัติงบประมาณในปีงบประมาณ 2551-52 ครับ และในการพัฒนาเองนั้น ไม่ว่าอย่างไร กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นก็แสดงความตั้งใจที่จะให้ Lockheed Martin หรือ Boeing เข้ามาร่วมพัฒนาเครื่องบินในโครงการนี้เพราะเป็นเพียงสองบริษัทที่มีเทคโนโลยี Stealth ที่สมบูรณ์อยู่ในมือ

ซึ่งถ้าญี่ปุ่นสามารถพัฒนาเครื่องบินได้ด้วยตนเองจนสามารถเข้าประจำการได้ ก็จะเป็นเครื่องบินลำแรกในรอบ 30 ปีที่ญี่ปุ่นพัฒนาเอง (เพราะ F-2 ของญี่ปุ่นได้แบบแผนมาจาก F-16 ของสหรัฐ)

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นจะส่งคำร้องขอข้อเสนอ (Request for Proposal:RFP) ภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า และคาดว่าจะสามรถเลือกแบบเครื่องบินได้ภายในปี 2551 หรืออย่างช้าในปี 2552 และเครื่องบินลำแรกจะต้องเข้าประจำการภายในปี 2553-2554 ซึ่งทำให้ F-35 ไม่น่าจะสามารถส่งมอบได้ทันเนื่องจากโครงการประสบปัญหาด้านเทคนิคและความล่าช้ามาก ส่วน F-22 ก็อาจจะต้องใช้เวลาที่นานกว่านั้นในการพิจารณาถึงเทคโนโลยีที่จะสามารถส่งออกให้ญี่ปุ่น รวมถึงการติดตั้งระบบป้องกันความลับของข้อมูลในตัวเครื่องบินซึ่งอาจจะต้องใช้เงินอีกราว 1 พันล้านเหรียญด้วย

และล่าสุดญี่ปุ่นได้ตัดF-22ออกจากการแข่งขันโครงการจัดหาเครื่องบินทดแทนแล้วเนื่องจากอเมริกาไม่มีนโยบายส่งออกและสายการผลิตใกล้จะปิดดังนั้นเครื่องบินที่น่าจะเป็นไปได้คือF-35

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-12. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-12. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]