เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ

พิกัด: 15°51′N 104°38′E / 15.850°N 104.633°E / 15.850; 104.633
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ
สนามกีฬาจังหวัดอำนาจเจริญ
สนามกีฬาจังหวัดอำนาจเจริญ
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ
ตรา
ทม.อำนาจเจริญตั้งอยู่ในจังหวัดอำนาจเจริญ
ทม.อำนาจเจริญ
ทม.อำนาจเจริญ
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ
ทม.อำนาจเจริญตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.อำนาจเจริญ
ทม.อำนาจเจริญ
ทม.อำนาจเจริญ (ประเทศไทย)
พิกัด: 15°51′N 104°38′E / 15.850°N 104.633°E / 15.850; 104.633
ประเทศ ไทย
จังหวัดอำนาจเจริญ
อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
จัดตั้ง1 มกราคม 2538
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีณัฐพงศ์ ตั้งสกุลกุลพัฒน์
พื้นที่
 • ทั้งหมด38 ตร.กม. (15 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด25,964 คน
 • ความหนาแน่น683.26 คน/ตร.กม. (1,769.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04370102
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ถนนสุขาภิบาล 1 ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
โทรศัพท์045-511328-3 ต่อ 124
โทรสาร045-511982-3
เว็บไซต์amnatcharoencity.go.th//
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำนาจเจริญ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของตำบลบุ่ง ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดอำนาจเจริญ มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 25,964 คน[1]

ประวัติ[แก้]

เดิมเป็น สุขาภิบาลบุ่ง อยู่ในอำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดใหม่ คือ จังหวัดอำนาจเจริญ ด้วยผลของกฎหมายดังกล่าว จึงมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2537[2] มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538[ต้องการอ้างอิง]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เทศบาลเมืองอำนาจเจริญตั้งอยู่ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลบุ่งบางส่วน จำนวน 30 ชุมชน รวมพื้นที่ 38 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับสะพานห้วยชัน ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับสะพานห้วยไร่ ตำบลไก่คำ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับสะพานดอนหวาย ตำบลห้วยไร่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับสะพานห้วยนาค ตำบลโนนโพธิ์ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ

ตราสัญลักษณ์[แก้]

ตราสัญลักษณ์เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ

เป็นดวงตราที่บรรจุอยู่ภายในวงกลม ด้านบนเป็นรูปเป็นรูปพระมงคลมิ่งเมืองประทับบนดอกบัว เปล่งรัศมีแห่งธรรม ซึ่งเป็นเครื่องหมายยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจของประชาชนในเขตเทศบาล โดยมีต้นตะเคียนหินพร้อมเทพพยดาปกปักรักษา

ประชากร[แก้]

ประชากรเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ มีประชากรรวมทั้งสิ้น 26,496 คน เป็นประชากรชาย 12,882 คน ประชากรหญิง 13,614 คน จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 18,999 คน เป็นชาย 9,147 คน เป็นหญิง 9,852 คน (ที่มา : งานทะเบียนราษฎร สำนักงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (21 เมษายน พ.ศ. 2554))

มีผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.48 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล โดยมีวัด จำนวน 11 วัด ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.51 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล โดยมีโบสถ์คริสต์ จำนวน 3 แห่ง และผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.01 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล

ชุมชนจำนวน 31 ชุมชน จำนวนบ้าน 9,590 หลังคาเรือน จำนวนประชากรรวม 26,179

เศรษฐกิจ[แก้]

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และปลูกผักสวนครัวอื่น ๆ โดยมีย่านชุมชน หนาแน่น อยู่ตรงบริเวณสี่แยกไฟแดง ถนนอรุณประเสริฐกับถนนชยางกูร เป็นย่านธุรกิจการค้า ค้าปลีก ค้าส่ง ตลาดสด โรงแรม ธนาคาร รายได้ต่อหัวของประชากร 29,474 บาทต่อคนต่อปี

วัฒนธรรม[แก้]

ประเพณีท้องถิ่นสำคัญ คือ ประเพณีฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่น งานบุญข้าวจี่ งานบุญเดือนสิบสอง ฯลฯ

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

สถานศึกษา[แก้]

สถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล โรงเรียนเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (พุทธอุทยาน) โรงเรียนสาธิตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเทพมงคล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนหวาย สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอำนาจเจริญ โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ โรงเรียนเมืองอำนาจเจริญ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 91 (บ้านโคกจั๊กจั่น) โรงเรียนบ้านโนนจาน โรงเรียนบ้านดอนแดง สถานศึกษาเอกชน จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเจริญวิทยา โรงเรียนอนุบาลนพเก้า โรงเรียนอนุบาลบ้านเสาวภาคย์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคอำนาจเจริญ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดสำราญนิเวศ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดอำนาจเจริญ

สาธารณสุข[แก้]

โรงพยาบาลในเขตพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ ขนาด 270 เตียง และมีศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 3 แห่ง

การคมนาคม[แก้]

ภายในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ประกอบด้วยถนน จำนวน 114 สาย รวมความยาวได้ 103 กิโลเมตร โดยแยกเป็นถนนสายหลัก สายรอง ดังนี้[3]

  • ถนนสายหลัก 3 สาย ความยาว 9 กิโลเมตร
  • ถนนสายรอง 59 สาย ความยาว 45 กิโลเมตร
  • ซอย 52 ซอย ความยาว 49 กิโลเมตร

ไฟฟ้า[แก้]

ครัวเรือนที่มีการใช้ไฟฟ้า จำนวน 9,310 ครัวเรือน และมีไฟฟ้าใช้ครอบคลุม ทั้ง 30 ชุมชน ไฟฟ้าสาธารณะตามถนน ถนนสายหลักเมืองมีเกือบครบทุกสายเว้นแต่ถนนสายรอง และตามแยก ซอย ซึ่งยังขาดแคลนอีกหลายจุด

การประปา[แก้]

จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปามีจำนวนทั้งสิ้น 8,025 ครัวเรือน หน่วยงานเจ้าของกิจการประปา คือ การประปาส่วนภูมิภาค จังหวัดอำนาจเจริญ ผลิตน้ำประปาได้วันละ 10,560 ลูกบาศก์เมตร /วัน ปริมาณการใช้น้ำ 400 ลิตร/คน/วัน พื้นที่บริการจ่ายน้ำ 7 ตารางกิโลเมตร[4]

การสื่อสาร[แก้]

  • จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคลในพื้นที่ จำนวน 3,309 เลขหมาย
  • จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่ จำนวน 536 เลขหมาย
  • ชุมสายโทรศัพท์ในเขตพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง จำนวนคู่สายทั้งหมด 4,200 คู่สาย เปิดใช้ 2,331 คู่สาย
  • ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง คือที่ทำการไปรษณีย์อำนาจเจริญ
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงในเขตพื้นที่ มี 1 สถานี คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดอำนาจเจริญ
  • ระบบเสียงวิทยุไร้สาย 1 สถานี ของสำนักงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ
  • หน่วยงานวิทยุสื่อสารในเขตเทศบาล ได้แก่ แม่ข่ายแสงเพชรของสำนักงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ แม่ข่ายมิ่งเมืองของสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอำนาจเจริญ แม่ข่ายเมืองแมนของที่ทำการปกครองอำเภอเมือง แม่ข่ายเทพมงคลของที่ทำการปกครองจังหวัดอำนาจเจริญ

สถานที่สำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/A/053/60.PDF พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ พ.ศ. 2537
  3. กองช่าง สำนักงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (21 เมษายน 2554)
  4. สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดอำนาจเจริญ (21 เมษายน 2554)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]