หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์
จิรายุ นพวงศ์ | |
---|---|
องคมนตรี | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2455 ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 (91 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิง พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา |
ศาสตราจารย์ ร้อยเอก หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2455 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546) อดีตองคมนตรี,อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและเป็นนักภาษาศาสตร์ชาวไทยเชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีและสันสกฤต[1]
หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมายได้แก่องคมนตรี,อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ,ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม แห่งราชบัณฑิตยสภา ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีและสันสกฤต คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการแผนกอักษรศาสตร์ มูลนิธิอานันทมหิดล ระหว่างที่ศึกษาอยู่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ไปทำงานเสรีไทย เป็นทหารในกองทัพบกอังกฤษ จนกระทั่งสงครามเสร็จสิ้นจึงปลดประจำการขณะมียศร้อยเอก
บุคคลสำคัญในวงการภาษาไทย
[แก้]ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในการพัฒนาภาควิชาภาษาไทย ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจากผลงานนี้ได้ก่อกำเนิดให้มีผู้ที่รัก และรู้ภาษาไทยเกิดขึ้นอีกซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตครูทางภาษาไทยของประเทศ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ได้วางพื้นฐาน และ ปรับปรุงหลักสูตรภาษาไทยให้มีความทันสมัย รวมทั้งได้ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการศึกษาวิชาภาษาไทยไปถึงขั้นปริญญาเอก ในแง่มุมของคำศัพท์ภาษาไทย ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ได้บัญญัติคำขึ้นใหม่ โยเน้นให้มีความกะทัดรัด ออกเสียงง่าย ได้ใจความและความหมายชัดเจน อาทิเช่น สารัตถศึกษา , กิตติมศักดิ์ , กิตติกรรมประกาศ และ พฤทธาจารย์ เป็นต้น
ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งคือ ได้เป็นพระอาจารย์ในวิชาบาลี และสันสกฤต ถวายพระอักษรแด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ครั้งยังทรงศึกษาที่โรงเรียนจิตรลดา และเรื่อยมาจนทรงเข้าศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ดำรงตำแหน่งองคมนตรี
ถึงแก่อสัญกรรม
[แก้]หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลาภาณุรังษี วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
ประวัติการศึกษา
[แก้]- อักษรศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วุฒิบัตรภาษาบาลีและสันสกฤต จาก วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน
- ปริญญาโท ทางภาษาบาลีและสันสกฤต คณะบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
- ปริญญาโท ทางภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา
ประวัติการทำงาน
[แก้]- อดีตหัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อดีตองคมนตรี[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2479 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[6]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ การดำรงตำแหน่ง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๓, ๒๖ เมษายน ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๑๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ กันยายน ๒๕๒๒
- จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2455
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2546
- องคมนตรี
- หม่อมหลวง
- ราชสกุลนพวงศ์
- ศาสตราจารย์
- ราชบัณฑิต
- นักภาษาศาสตร์ชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.2
- สมาชิกขบวนการเสรีไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเทพศิรินทร์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิษย์เก่าจากวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
- ชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์