ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงบุรกรรมโกวิท (ล้อม บุรกรรมโกวิท)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
{{ม.ป.ช.}}
{{ม.ป.ช.}}
{{ม.ว.ม.|2496}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/D/078/5387.PDF แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์]</ref>
{{ม.ว.ม.}}
{{ท.จ.ฝ่ายหน้า}}
{{ท.จ.ฝ่ายหน้า}}
{{ว.ป.ร.3|2485}}<ref>http://www.vajiravudh.ac.th/VC_Annals/vc_annal123.htm</ref>
{{ว.ป.ร.3|2485}}<ref>http://www.vajiravudh.ac.th/VC_Annals/vc_annal123.htm</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:01, 14 เมษายน 2563

หลวงบุรกรรมโกวิท (ล้อม บุรกรรมโกวิท)
ไฟล์:หลวงบุรกรรมโกวิท.jpg
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 พฤษภาคม พ.ศ. 2439
เสียชีวิตพ.ศ. 2514
คู่สมรสคุณหญิงลมุน บุรกรรมโกวิท[1]

พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หลวงบุรกรรมโกวิท (ล้อม บุรกรรมโกวิท) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2500 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี และอดีตเลขาธิการสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์[2]

ประวัติ

ล้อม บุรกรรมโกวิท เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 เป็นบุตรของนายกรี กับนางแข เข้าเรียนที่โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย แล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ได้เข้าฝึกงานในกองก่อสร้างพระที่นั่งบ้านปืน ังหวัดเพชรบุรี สังกัดกระทรวงมหาดไทย จนได้บรรจุเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2460 ตำแหน่งช่างแบบ เป็นรองอำมาตย์ตรีในปี พ.ศ. 2462 และเป็นขุนบริกรรมโกวิท ในปีถัดมา จนเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการกระทั่งเป็นอธิบดีกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย[3]

หลวงบุรกรรมโกวิท เป็นกรรมการชุดก่อตั้งของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2493[4]

หลวงบุรกรรมโกวิท ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก และหลังการเลือกตั้งเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม[5]

ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 โดยไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงลมุน บุรกรรมโกวิท (2522)
  2. ประวัติสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
  3. เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ : อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หลวงบุรกรรมโกวิท (2514)
  4. ประวัติความเป็นมาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  5. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  6. แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  7. http://www.vajiravudh.ac.th/VC_Annals/vc_annal123.htm