ธานินทร์ กรัยวิเชียร
ธานินทร์ กรัยวิเชียร | |
---|---|
ธานินทร์ ใน พ.ศ. 2554 | |
ประธานองคมนตรี | |
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน | |
ดำรงตำแหน่ง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (0 ปี 49 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | เปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี) |
ถัดไป | เปรม ติณสูลานนท์ (ประธานองคมนตรี) |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 14 | |
ดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 (1 ปี 12 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | บุญชัย บำรุงพงศ์ อัมพร จันทรวิจิตร |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ถัดไป | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 เมษายน พ.ศ. 2470 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เชื้อชาติ | ไทย |
พรรคการเมือง | อิสระ |
คู่สมรส | คาเรน แอนเดอร์เซน (เสียชีวิต) |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | |
วิชาชีพ | |
ลายมือชื่อ | |
ศาสตราจารย์พิเศษ [1] ธานินทร์ กรัยวิเชียร ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ภ.ป.ร. ๒ (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2470) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวไทย อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 14 อดีตองคมนตรีและผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานองคมนตรี
ประวัติ
[แก้]ธานินทร์ กรัยวิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2470 ภูมิลำเนา ณ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของแหและผะอบ กรัยวิเชียร สมรสกับคุณหญิงคาเรน กรัยวิเชียร (สกุลเดิม แอนเดอเซ่น) มีบุตรด้วยกัน 5 คน ได้แก่
- รูบีนา สุวรรณพงษ์
- มหินทร์ กรัยวิเชียร
- เขมทัต กรัยวิเชียร
- นิติกร กรัยวิเชียร
- ทันตแพทย์หญิงรีเบ้กก้า กรัยวิเชียร
การศึกษา
[แก้]ธานินทร์ กรัยวิเชียร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น พ.ศ.2479 ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ได้ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่ ณ วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร และ พ.ศ. 2496 เนติบัณฑิตอังกฤษจาก สำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรย์สอินน์ ประเทศอังกฤษ
การทำงาน
[แก้]- ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
- ศาสตราจารย์สอนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา
- ศาสตราจารย์(พิเศษ)ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2]
- นายกรัฐมนตรี ใน คณะรัฐมนตรีคณะที่ 39 ของไทย (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520)
- องคมนตรี (ตั้งแต่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2520 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
- กรรมการตุลาการ (พ.ศ. 2521 – พ.ศ. 2528)
- กรรมการร่างกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ประธานกรรมการปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
- รองประธานกรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์[3]
- รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
- กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
- กรรมการบริหารสภากาชาดไทย
- กรรมการบริหารศิริราชมูลนิธิ
บทบาททางการเมือง
[แก้]ธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ของไทย[4] ภายหลังจากที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยการนำของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สาเหตุที่เขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจาก ขณะที่พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ทรงพระราชทานคำแนะนำแก่พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ให้ปรึกษาธานินทร์ กรัยวิเชียร [5] ผู้พิพากษาศาลฎีกา ณ ขณะนั้น
ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร มีนโยบายโดดเด่นคือ การต่อต้านภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังมีอิทธิพลอย่างสูงในขณะนั้น นโยบายปราบปรามยาเสพติด โดยจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) อีกทั้งนโยบายด้านการปราบปรามคอรัปชั่น รัฐบาลของธานินทร์ กรัยวิเชียร นับว่าเป็นรัฐบาลเผด็จการพลเรือนที่ใช้อำนาจจัดการประชาชนในข้อหาคอมมิวนิสต์ จนมีประชาชนส่วนหนึ่งหนีข้อหานี้เข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน สั่งปิดหนังสือพิมพ์ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี มีคำสั่งปิดหนังสือพิมพ์ถึง 22 ครั้ง[6] ซึ่งผู้สั่งปิดได้แก่ สมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจคำสั่งปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 เป็นยุคมืดของวงการสื่อสารมวลชนและนักหนังสือพิมพ์[7]
อย่างไรก็ตามเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่ซื่อสัตย์สุจริตที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย ภายหลังจากที่คณะปฏิวัติได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของธานินทร์แล้ว พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งธานินทร์ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และได้ดำรงตำแหน่งนี้มาจนสิ้นรัชกาล โดยก่อนหน้านั้นเขาได้รับแต่งตั้งเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2516[8]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต และพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จะปฏิบัติหน้าที่องคมนตรีในคราวเดียวกันไม่ได้ ดังนั้น คณะองคมนตรีจึงได้มีมติเลือกธานินทร์ ซึ่งเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี[9][10]
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]ศาสตราจารย์พิเศษ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น ศาสตราจารย์ นายกองใหญ่ ธานินทร์ กรัยวิเชียร เมื่อ พ.ศ. 2520[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ศาสตราจารย์พิเศษ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[12] ดังนี้
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[15]
- พ.ศ. 2561 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขานิติศาสตร์[16]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[17]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[18]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 2 (ภ.ป.ร.2)[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก [1-10 พฤศจิกายน 2542]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (21 ง): 109. 14 Mar 2000. สืบค้นเมื่อ 20 Feb 2021.
- ↑ ตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษจุฬาลงกรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้อำนาจจัดตั้ง "มูลนิธิจุฬาภรณ์" เป็นนิติบุคคล เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๗๒ ง วันที่ ๐๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งนายกรัฐมนตรี (นายธานินทร์ กรัยวิเชียร) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 124ก ฉบับพิเศษ วันที่ 10 ตุลาคม 2519
- ↑ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519
- ↑ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
- ↑ คำสั่งปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ "แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นการชั่วคราว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-19.
- ↑ “ธานินทร์ กรัยวิเชียร” นั่งประธานองคมนตรี
- ↑ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดน
- ↑ "นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๔ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร". thaigov. สืบค้นเมื่อ 20 Mar 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๗, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๖๑, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๕, ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓๑ ง หน้า ๑๖๖๗, ๑๒ เมษายน ๒๕๒๐
- ↑ รายพระนามและรายนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๐ จากเว็บไซต์ thaiscouts
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑๓ กันยายน ๒๕๒๒
ก่อนหน้า | ธานินทร์ กรัยวิเชียร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช | นายกรัฐมนตรีไทย (ครม. 39) (8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520) |
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2470
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดพระนคร
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 9
- นายกรัฐมนตรีไทย
- ผู้นำที่พ้นตำแหน่งจากรัฐประหาร
- ศาสตราจารย์พิเศษ
- อาจารย์คณะนิติศาสตร์
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- ผู้พิพากษาไทย
- สามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิษย์เก่าจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์