ดำรง พุฒตาล
ดำรง พุฒตาล (31 พฤษภาคม พ.ศ. 2487สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
, พระนครศรีอยุธยา) เป็นบุคคลในแวดวงโทรทัศน์และสื่อมวลชนชาวไทยที่มีชื่อเสียง โดยเริ่มงานในแวดวงนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 และอดีตประวัติ[แก้]
ดำรงเป็นชาวไทยมุสลิมที่มีเชื้อสายเปอร์เซีย โดยบรรพบุรุษได้เดินทางเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย เมื่อกว่า 400 ปีก่อน ในสมัยอยุธยาตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ โดยเจ้าตัวเกิดที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ริมแม่น้ำลพบุรี และมีผู้เป็นทวดมีที่ดินอยู่ที่อำเภอวังน้อยกว่า 300 ไร่
ในวัยเด็กเจ้าตัวมักว่ายน้ำเล่นในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก รวมถึงแม่น้ำลพบุรี และชอบที่จะพูดคุยกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวยังพระนครศรีอยุธยา ด้วยการเป็นมัคคุเทศน์ท้องถิ่น และได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษไปในตัว
ผลงานของเจ้าตัวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ การเป็นพิธีคู่กับธรรมรัตน์ นาคสุริยะ รวมถึงการเป็นพิธีในรายการเจาะใจทางช่อง 5 อย่างยาวนานหลายปี คู่กับสัญญา คุณากร รวมถึงการเป็นผู้ผลิตนิตยสารคู่สร้างคู่สม และรายการโทรทัศน์ สู้แล้วรวย เป็นต้น
น้องชายของเจ้าตัว คือ มาโนช พุฒตาล นักดนตรีและนักวิจารณ์เพลงที่มีชื่อเสียง
ปัจจุบัน เจ้าตัวพักอาศัยอยู่ในบ้านพักที่ใช้ชื่อว่า บ้านเวียงเหล็ก ริมถนนอู่ทอง ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยอยู่ตรงข้ามกับวัดพุทไธศวรรย์ และห่างจากสถานที่เจ้าตัวเกิดไม่เกินกว่า 2 กิโลเมตร
การศึกษา[แก้]
- จบปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร)
- ปริญญาโท รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (ม.สุโขทัยธรรมาธิราช)
- ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตจาก 3 สถาบัน คือ
- ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ปี 2532
- ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการท่องเที่ยว จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ปี 2553
- ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิเทศศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปี 2558
ผลงานแสดงภาพยนตร์[แก้]
- ดรุณีผีสิง (2516)
- เท่งป๊ะต๊ะติ๊งโหน่ง (2521)
- สุริโยไท (2544)
การงาน[แก้]
- อดีตสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้ง) 4 ปี
- อดีตสมาชิกวุฒิสภา (เลือกตั้ง—กรุงเทพมหานคร) 6 ปี
- เป็นผู้ผลิต พิธีกร และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ตั้งแต่ ปี 2510
- เป็นประธานและผู้ก่อตั้งมูลนิธิเมาไม่ขับ
- เป็นประธานมูลนิธิดำรงพุฒตาล (อนุรักษ์ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย)
- กรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
- เป็นกรรมการมูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ,มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
- เป็นผู้ก่อตั้งและเจ้าของนิตยสาร คู่สร้างคู่สม
- เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อที่มีประสบการณ์ให้กับสถาบันการศึกษาและองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2558 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2553 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.)[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๑๐, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลจากอำเภอพระนครศรีอยุธยา
- สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
- มุสลิมชาวไทย
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- ชาวไทยเชื้อสายเปอร์เซีย
- บุคคลจากโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่