วิรุณ ตั้งเจริญ
ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ | |
---|---|
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | |
ก่อนหน้า | นายชัยพร รัตนนาคะ |
อธิบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2546 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554 (7 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | สุมณฑา พรหมบุญ |
ถัดไป | เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 กรุงเทพมหานคร |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 -) นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[1], นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พ.ศ. 2546 - 2554)[2], อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 และนักการศึกษา นักบริหาร ศิลปินด้านทัศนศิลป์ ผลงานที่โดดเด่นที่สุด คือการเป็นนักวิชาการด้านศิลปะ มีผลงานออกสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น ผลงานหนังสือประวัติศาสตร์ศิลป์ และ ทฤษฎีด้านศิลปะ
การศึกษา
[แก้]ระดับมัธยมศีกษา โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม จังหวัดอ่างทอง จบการศึกษาจาก วิทยาลัยเพาะช่าง และวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) แล้วจึงไปศึกษาระดับปริญญาโท สาขาจิตรกรรม ที่มหาวิทยาลัยอเมริกัน และปริญญาเอกด้านศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์สเตท และประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.1) สถาบันพระปกเกล้า[3]
การทำงาน
[แก้]เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำแผนกวิชาศิลปะและวัฒนธรรม คณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร ซึ่งต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตประสานมิตร และได้ย้ายมาสังกัดคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง ต่อมาจึงเป็นคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์, รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม, ประธานโครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2546 ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ตำแหน่งหน้าที่อื่น
[แก้]นอกเหนือจากการทำงานในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแล้ว ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ ยังได้รับการแต่งตั้งให้ทำงานในหน่วยงานต่างๆ อีก อาทิเช่น เป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา เป็นประธานฝ่ายวิชาการ สมาคมฝ่ายศิลปกรรมไทย (ชมรมศิลปกรรมแห่งประเทศไทย) เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี[4] เป็นภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน สำนักศิลปกรรม และยังได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549
ผลงานวิจัย
[แก้]- Painting : Construction in Spatial Field (R&D/Thesis : MFA.)
- A cross Cultural Study : The Relationship Between Perception and Drawing Ability Among Children from the United States and Thailand (Dissertation : Ed.D)
- ประธานโครงการวิจัยและพัฒนาหนังสือศิลปกรรม ศิลปวัฒนธรรม และศิลปาชีพในโครงการวิจัยและพัฒนาหนังสือและโฮมเพจ ชุดพัฒนาสังคมตามแนวพระราชดำริ (ทุนวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร)
- ประธานโครงการวิจัยเรื่อง "รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์ : กรณีศึกษาโรงเรียนไผทอุดมศึกษา" (ทุนวิจัย สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ)
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- Mary M. Packwood Awards. Illinois State University, USA
- รางวัลสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ "สำนึกของปลาทอง" สำนักพิมพ์ต้นอ้อ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/310/12.PDF
- ↑ รายนามอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เก็บถาวร 2009-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2553)
- ↑ สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[ลิงก์เสีย]
- ↑ กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๗๘, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2489
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- ศาสตราจารย์
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- นักวิชาการชาวไทย
- ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
- บุคคลจากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- บุคคลจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา