สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
| |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สำนักงานใหญ่ | จาการ์ตา, อินโดนีเซีย | ||||||||||||||||||||
เมืองใหญ่สุด | จาการ์ตา, อินโดนีเซีย | ||||||||||||||||||||
ภาษาทางการ | ภาษาอังกฤษ[6] | ||||||||||||||||||||
ภาษาราชการ ของประเทศสมาชิก | |||||||||||||||||||||
รัฐสมาชิก | 10 รัฐสมาชิก 2 รัฐผู้สังเกตการณ์ | ||||||||||||||||||||
ผู้นำ | |||||||||||||||||||||
เกา กึมฮวน | |||||||||||||||||||||
• ประธานอาเซียน | ลาว | ||||||||||||||||||||
ก่อตั้ง | |||||||||||||||||||||
8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 | |||||||||||||||||||||
• รับสมาชิกล่าสุด | 30 เมษายน พ.ศ. 2542 | ||||||||||||||||||||
16 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |||||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||||
• รวม | 4,522,518[7] ตารางกิโลเมตร (1,746,154 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||||||
• 2021 ประมาณ | 667,393,019[8] | ||||||||||||||||||||
144 ต่อตารางกิโลเมตร (373.0 ต่อตารางไมล์) | |||||||||||||||||||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2021 (ประมาณ) | ||||||||||||||||||||
• รวม | $8.993 ล้านล้าน[8] | ||||||||||||||||||||
• ต่อหัว | $13,475[8] | ||||||||||||||||||||
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2021 (ประมาณ) | ||||||||||||||||||||
• รวม | $3.356 ล้านล้าน[8] | ||||||||||||||||||||
• ต่อหัว | $4,849[8] | ||||||||||||||||||||
เอชดีไอ (2019) | 0.729[a] สูง | ||||||||||||||||||||
เขตเวลา | UTC+6:30 ถึง UTC+9 (เวลามาตรฐานอาเซียน) | ||||||||||||||||||||
เว็บไซต์ www |
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,479,210 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 625 ล้านคน[9] ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี อาเซียนมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ[11]
อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพฯ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ[12] หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น
เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558[13]
ประวัติ
สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองประเทศฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
รัฐสมาชิก
รัฐสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้:
ประเทศ | สถานะสมาชิก | ปีที่เข้า |
---|---|---|
ไทย | สมาชิกเต็ม | 1967 |
สิงคโปร์ | สมาชิกเต็ม | 1967 |
ฟิลิปปินส์ | สมาชิกเต็ม | 1967 |
มาเลเซีย | สมาชิกเต็ม | 1967 |
อินโดนีเซีย | สมาชิกเต็ม | 1967 |
บรูไน | สมาชิกเต็ม | 1984 |
เวียดนาม | สมาชิกเต็ม | 1995 |
พม่า | สมาชิกเต็ม | 1997 |
ลาว | สมาชิกเต็ม | 1997 |
กัมพูชา | สมาชิกเต็ม | 1999 |
รัฐสังเกตการณ์สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้:
ประเทศ | สถานะสมาชิก | ปีที่เข้า |
---|---|---|
ปาปัวนิวกินี | ไม่ใช่สมาชิก รัฐสังเกตการณ์ | 1976 |
ติมอร์-เลสเต | ไม่ใช่สมาชิก รัฐสังเกตการณ์ | 2002 |
การขยายตัว
ในปี พ.ศ. 2519 ปาปัวนิวกินีได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์[14] และตลอดช่วงพุทธทศวรรษ 2510 กลุ่มประเทศสมาชิกได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง หลังจากผลของการประชุมที่จังหวัดบาหลี ในปี พ.ศ. 2519 แต่ว่าความร่วมมือดังกล่าวได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักในช่วงพุทธทศวรรษ 2520 ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูเมื่อปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากไทยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้น ต่อมา บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่หก เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2527 หลังบรูไนประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม เพียงสัปดาห์เดียว[15]
ภูมิศาสตร์
ในปัจจุบัน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549) [12] ยอดเขาที่สูงสุดในภูมิภาค คือ ยอดเขาคากาโบราซีในพม่า ซึ่งมีความสูง 5,881 เมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจีน อินเดีย บังกลาเทศ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C[16] พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าสน ป่าหาดทรายชายทะเล ป่าไม้ปลูก มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพริกไทย[17]
วัตถุประสงค์
จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้[18]
- ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
- รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
- จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ
- ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
- ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
- ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
การเมือง
ประธานอาเซียน
กฎบัตรอาเซียน ข้อ 31 ระบุว่า ตำแหน่งประธานอาเซียนจะเวียนกันทุกปีตามลำดับพยัญชนะภาษาอังกฤษของชื่อรัฐสมาชิก รัฐสมาชิกที่เป็นประธานจะเป็นประธานการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาประสานงานอาเซียน สภาประชาคมอาเซียนสามสภา องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาและข้าราชการอาวุโส และคณะกรรมาธิการผู้แทนถาวร
สำนักเลขาธิการ
สำนักเลขาธิการอาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2519 ในตอนนั้นตั้งอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 70A Jalan Sisingamangaraja กรุงจาการ์ตา ซึ่งซูฮาร์โต ประธานาธิบดีอินโดนีเซียขณะนั้น ก่อตั้งในปี 2524
หน้าที่หลักของสำนักเลขาธิการอาเซียนคือเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานขององค์กรอาเซียน และให้การนำโครงการและกิจกรรมของอาเซียนไปปฏิบัติมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น[19]
เลขาธิการ
เลขาธิการอาเซียนได้รับแต่งตั้งโดยการประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นระยะเวลาดำรงตำแหน่งห้าปี สมัยเดียว โดยเลือกมาจากผู้มีสัญชาติรัฐสมาชิกอาเซียนตามลำดับพยัญชนะภาษาอังกฤษ
เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน คือ เกา กึมฮวน ชาวกัมพูชา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2566–2570
ผู้นำคนปัจจุบันในอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจ
ประเทศ | HDI (2022) | |
---|---|---|
สิงคโปร์ | 0.939 | สูงมาก |
บรูไน | 0.829 | สูงมาก |
มาเลเซีย | 0.803 | สูงมาก |
ไทย | 0.800 | สูงมาก |
อาเซียน | 0.725 | สูง |
อินโดนีเซีย | 0.705 | สูง |
เวียดนาม | 0.703 | สูง |
ฟิลิปปินส์ | 0.699 | ปานกลาง |
ลาว | 0.607 | ปานกลาง |
กัมพูชา | 0.593 | ปานกลาง |
พม่า | 0.585 | ปานกลาง |
กลุ่มอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในภูมิภาค อันประกอบด้วย "หลักสามประการ" ของความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ[12] การรวมกลุ่มกันในภูมิภาคได้ทำให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อตั้งประชาคมเศษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558[21] ประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีประชากรรวมกัน 560 ล้านคน และมูลค่าการค้ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[12]
เขตการค้าเสรี
รากฐานของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มต้นมาจากเขตการค้าเสรีอาเซียน[21] ซึ่งเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อให้สินค้าภายในอาเซียนเกิดการหมุนเวียน เขตการค้าเสรีอาเซียนเป็นข้อตกลงโดยสมาชิกกลุ่มอาเซียนซึ่งกังวลต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่นของตน ได้รับการลงนามในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ไทย เวียดนาม (เข้าร่วมในปี 2538) ลาว พม่า (เข้าร่วมในปี 2540) และกัมพูชา (เข้าร่วมในปี 2542)[22][23]
เขตการลงทุนร่วม
เขตการลงทุนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนหมุนเวียนภายในอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยหลักการดังต่อไปนี้:[24]
- เปิดให้อุตสาหกรรมทุกรูปแบบเกิดการลงทุนและลดขั้นตอนตามกำหนดการ
- ทำสัญญากับผู้ลงทุนในกลุ่มอาเซียนที่เขามาลงทุนในทันที
- กำจัดการกีดขวางทางการลงทุน
- ปรับปรุงกระบวนการและระเบียบการลงทุนให้เกิดความคล่องตัว
- สร้างความโปร่งใส
- ดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกในการลงทุน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเขตการลงทุนร่วมจะเป็นการกำจัดการกีดกันในกิจการเกษตรกรรม การประมง การป่าไม้และการทำเหมืองแร่ ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นส่วนใหญ่ และคาดว่าจะสำเร็จในปี พ.ศ. 2558 สำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม[24]
การแลกเปลี่ยนบริการ
ข้อตกลงการวางกรอบเรื่องการแลกเปลี่ยนบริการเริ่มต้นขึ้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงเทพมหานครในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548[25] ภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว รัฐสมาชิกของกลุ่มอาเซียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเจรจาอย่างเสรีในด้านการแลกเปลี่ยนบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันมากขึ้น ผลของการเจรจาการแลกเปลี่ยนบริการซึ่งได้เริ่มดำเนินการตามหมายกำหนดการเป็นรายเฉพาะจะถูกรวมเข้ากับกรอบข้อตกลง ซึ่งหมายกำหนดการดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการ ในปัจจุบัน พบว่ามีกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการจำนวนเจ็ดกลุ่มภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว[26]
ตลาดการบินเดียว
แนวคิดเรื่องตลาดการบินเดียวเป็นความคิดเห็นที่เสนอโดยกลุ่มงานขนส่งทางอากาศอาเซียน ได้รับการสนับสนุนในการประชุมการขนส่งอย่างเป็นทางการของอาเซียน และได้รับการอนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมของรัฐสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่การจัดระเบียบน่านฟ้าเปิดในภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 2558[27] โดยตลาดการบินเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการคมนาคมทางอากาศระหว่างรัฐสมาชิกเป็นไปอย่างเสรี ซึ่งสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มอาเซียนจากการเติบโตของการเดินทางทางอากาศในปัจจุบัน และยังเป็นการเพิ่มการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนและการบริการให้กับรัฐสมาชิกทั้งหมด[27][28] เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ข้อจำกัดเสรีภาพทางอากาศที่สามและที่สี่ระหว่างเมืองหลวงของรัฐสมาชิกสำหรับบริการสายการบินจะถูกยกเลิก[29] ในขณะที่หลังจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 จะมีเสรีภาพบริการการบินในภูมิภาค[27][28] และภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จะมีการเปิดเสรีเสรีภาพทางอากาศข้อที่ห้าระหว่างเมืองหลวงทั้งหมด[30]
ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน
อาเซียนได้เปิดการค้าเสรีกับประเทศภายนอกหลายประเทศ ทั้งจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และล่าสุด อินเดีย[31] ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศจีนได้สร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ในปัจจุบัน อาเซียนนั้นกำลังเจรจากับสหภาพยุโรปในการที่จะทำการค้าเสรีด้วยกัน[32] ผลดีของข้อตกลงนั้น คือการเปิดโอกาสการค้าของอาเซียน ให้มีศักยภาพและขยายตัวมากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนจากต่างชาติด้วย[33] ไต้หวันยังแสดงความสนใจที่จะทำข้อตกลงกับอาเซียน แต่ได้รับการคัดค้านทางการทูตจากประเทศจีน[34]
ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม
เมื่อก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเด็นปัญหาเริ่มมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศสมาชิกได้เริ่มเจรจากันถึงข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง การลงนามในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ในปี พ.ศ. 2545 ในความพยายามที่จะจำกัดขอบเขตของมลภาวะฟ้าหลัวในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้[35] แต่ทว่าในพื้นที่ก็ยังเกิดปัญหาฟ้าหลัวในประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2548 และปัญหาฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2549 ส่วนสนธิสัญญาฉบับอื่นที่ได้รับการลงนามโดยสมาชิกอาเซียนได้แก่ ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก[36] เครือข่ายกำกับดูแลสัตว์ป่าอาเซียนในปี พ.ศ. 2549[37] และ หุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาความสะอาดและสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อปรากฏการณ์โลกร้อน และผลกระทบทางด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ใน พ.ศ. 2550 ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก ซึ่งลงนามในกลุ่มอาเซียน ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการหาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
ความร่วมมือทางวัฒนธรรม
ความร่วมมือทางวัฒนธรรมนั้น มีจุดประสงค์เพื่อที่จะช่วยสร้างภาพรวมในด้านต่าง ๆให้ดีขึ้น โดยการให้การสนับสนุน ทั้งการกีฬา การศึกษา และกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ความร่วมมือต่าง ๆ ดังนี้
รางวัลซีไรต์
ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2522 เพื่อมอบรางวัลแก่นักประพันธ์หรือนักเขียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้สร้างผลงานที่ดีมีชื่อเสียง ที่ประสบความสำเร็จในช่วงชีวิตของนักเขียนนั้น ๆ ผลงานนั้นเป็นผลงานเขียนทุกประเภท ทั้งวรรณกรรมต่าง ๆ เรื่องสั้น กลอน รวมไปถึงผลงานทางศาสนา ซึ่งจะมีการจัดงานที่กรุงเทพมหานคร โดยมีเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ไทยเป็นผู้พระราชทานรางวัล
การศึกษา
สถาบันเพื่อการศึกษาขั้นสูงแห่งอาเซียน เป็นองค์การเอกชนที่จัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ. 2499 เพื่อที่จะพัฒนาระดับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ทั้งสถาบันการศึกษาระดับสูง การสอน การบริการสาธารณะที่ดีได้มาตรฐานที่สูงขึ้น โดยสอดคล้องไปกับวัฒนธรรมและพื้นที่นั้น ๆ
อุทยานมรดก
ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2527 และเริ่มใหม่อีกรอบในปี พ.ศ. 2547 เป็นการรวมรายชื่อของอุทยานแห่งชาติทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดประสงค์ที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ ปัจจุบันมีรวมทั้งหมด 35 แห่ง
การประชุม
การประชุมสุดยอดอาเซียน
ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนได้จัดการประชุมขึ้น เรียกว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน ซึ่งหัวหน้ารัฐบาลแต่ละประเทศสมาชิกจะมาอภิปรายและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิกเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้นที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ. 2519 จากผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่สาม ณ กรุงมะนิลา ในปี พ.ศ. 2530 สรุปว่าผู้นำประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนควรจะจัดการประชุมขึ้นทุกห้าปี[38] อย่างไรก็ตาม ผลของการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่อมาที่ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้เสนอให้จัดการประชุมให้บ่อยขึ้น และได้ข้อสรุปว่าจะมีการจัดการประชุมสุดยอดขึ้นทุกสามปีแทน[38] ต่อมา ในปี พ.ศ. 2544 ผู้นำสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซียนได้เสนอให้จัดการประชุมขึ้นทุกปีเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาด่วนที่ส่งผลกระทบในพื้นที่ ประเทศสมาชิกจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดขึ้นเรียงตามตัวอักษร ยกเว้นประเทศพม่า ซึ่งถูกยกเลิกการเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากปัญหาทางด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547[39]
การประชุมอาเซียนอย่างเป็นทางการมีกำหนดการสามวัน ดังนี้
- ผู้นำของรัฐสมาชิกจะจัดการประชุมภายใน
- ผู้นำของรัฐสมาชิกจะหารือร่วมกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในที่ประชุมกลุ่มอาเซียน
- การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียนบวกสาม" ผู้นำรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยจัดขึ้นพร้อมกับการประชุมสุดยอดอาเซียน
- การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียน-เซอร์" ผู้นำรัฐสมาชิกจะประชุมร่วมกับผู้นำออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ครั้งที่ | วันที่ | ประเทศ | สถานที่จัดการประชุม | |
---|---|---|---|---|
1 | 23-24 กุมภาพันธ์ 2519 | อินโดนีเซีย | บาหลี | |
2 | 4-5 สิงหาคม 2520 | มาเลเซีย | กัวลาลัมเปอร์ | |
3 | 14-15 ธันวาคม 2530 | ฟิลิปปินส์ | มะนิลา | |
4 | 27-29 มกราคม 2535 | สิงคโปร์ | สิงคโปร์ | |
5 | 14-15 ธันวาคม 2538 | ไทย | กรุงเทพมหานคร | |
6 | 15-16 ธันวาคม 2541 | เวียดนาม | ฮานอย | |
7 | 5-6 พฤศจิกายน 2544 | บรูไน | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน | |
8 | 4-5 พฤศจิกายน 2545 | กัมพูชา | พนมเปญ | |
9 | 7-8 ตุลาคม 2546 | อินโดนีเซีย | บาหลี | |
10 | 29-30 พฤศจิกายน 2547 | ลาว | เวียงจันทน์ | |
11 | 12-14 ธันวาคม 2548 | มาเลเซีย | กัวลาลัมเปอร์ | |
12 | 11-14 มกราคม 25501 | ฟิลิปปินส์2 | เซบู | |
13 | 18-22 พฤศจิกายน 2550 | สิงคโปร์ | สิงคโปร์ | |
143 | 27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 | ไทย | ชะอำ, หัวหิน | |
10–11 เมษายน 2552 | พัทยา | |||
15 | 23-25 ตุลาคม 2552 | ชะอำ, หัวหิน | ||
16 | 8-9 เมษายน 2553 | เวียดนาม | ฮานอย | |
17 | 28-31 ตุลาคม 2553 | |||
18 | 7-8 พฤษภาคม 2554 | อินโดนีเซีย4 | จาการ์ตา | |
19 | 14-19 พฤศจิกายน 2554 | บาหลี | ||
20 | 3-4 เมษายน 2555 | กัมพูชา | พนมเปญ | |
21 | 17–20 พฤศจิกายน 2555 | |||
22 | 24–25 เมษายน 2556 | บรูไน | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน | |
23 | 9–10 ตุลาคม 2556 | |||
24 | 10–11 พฤษภาคม 2557 | พม่า | กรุงเนปยีดอ | |
25 | 10–12 พฤศจิกายน 2557 | |||
26 | 26‒27 เมษายน 2558 | มาเลเซีย | กัวลาลัมเปอร์, เกาะลังกาวี | |
27 | 18–22 พฤศจิกายน 2558 | กัวลาลัมเปอร์ | ||
28 | 6–8 กันยายน 2559 | ลาว | เวียงจันทน์ | |
29 | ||||
30 | 26-27 เมษายน 2560 | ฟิลิปปินส์ | ปาไซ | |
31 | 10-14 พฤศจิกายน 2560 | |||
32 | 25-28 เมษายน 2561 | สิงคโปร์ | สิงคโปร์ | |
33 | 11–15 พฤศจิกายน 2561 | |||
34 | 20–23 มิถุนายน 2562[40] | ไทย | กรุงเทพมหานคร | |
35 | 31 ตุลาคม–4 พฤศจิกายน 2562[41] | กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี[42][43] | ||
36 | 14 เมษายน 2563 | เวียดนาม | ฮานอย (ประชุมทางไกลผ่านวีดิทัศน์)5 | |
37 | 11–15 พฤศจิกายน 2563 | |||
387 | 26–28 ตุลาคม 2564 | บรูไน | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน (ประชุมทางไกลผ่านวีดิทัศน์)5 | |
397 | ||||
407 | 10–13 พฤศจิกายน 2565 | กัมพูชา | พนมเปญ | |
417 | ||||
427 | 9–11 พฤษภาคม 2566 | อินโดนีเซีย | ลาบูอันบาโจ | |
437 | 5–7 กันยายน 2566 | จาการ์ตา | ||
447 | 6–11 ตุลาคม 2567 | ลาว | เวียงจันทน์ | |
457 | ||||
1 การประชุมเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 10-14 ธันวาคม เนื่องจากภัยไต้ฝุ่น. | ||||
2 พม่าไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เนื่องจากความกดดันอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป. | ||||
3 การประชุมถูกเลื่อนออกไปสองครั้งเนื่องจากการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล. | ||||
4 อินโดนีเซียเสนอแลกเปลี่ยนกับบรูไนอาจจะเป็นเจ้าภาพเอเปค (และอาจมีการประชุม G20) ในปี 2013. | ||||
5 เวียดนามและบรูไนเป็นประธานการประชุมสมัยพิเศษว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านระบบการประชุมทางไกล. | ||||
6 เลื่อนจากกำหนดเดิมปลายเดือนเมษายน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โดยเวียดนามเป็นประธานการประชุม. | ||||
7 ตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 38 พม่าซึ่งอยู่ในสถานการณ์การประท้วงอันสืบเนื่องมาจากการรัฐประหาร ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม แม้อาเซียนจะมีหนังสือเชิญผู้แทนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองก็ตาม[44][45][46] |
การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเป็นการจัดการประชุมทั่วเอเชียซึ่งจัดขึ้นทุกปีโดยผู้นำเอเชียตะวันออก 16 ประเทศ หัวข้อการประชุมนั้นเกี่ยวกับการค้า พลังงานและความมั่นคง และการประชุมสุดยอดดังกล่าวยังมีบทบาทในการสร้างประชาคมภูมิภาค
ประเทศผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ชาติอาเซียน 10 ประเทศร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งมีประชากรรวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของโลก เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 รัสเซียและสหรัฐอมริกาได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นสมาชิกเต็มตัวอย่างเป็นทางการ ประธานาธิบดีของทั้งสองประเทศเข้าร่วมการประชุมสุดยอดใน พ.ศ. 2554
การประชุมสุดยอดครั้งแรกจัดขึ้นในกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2548 และการประชุมครั้งต่อ ๆ มาถูกจัดขึ้นหลังการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนประจำปี
ครั้งที่ | วันที่ | ประเทศ | ที่จัดงาน | หัวหน้างาน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | 14 ธันวาคม ค.ศ. 2005 | มาเลเซีย | กัวลาลัมเปอร์ | นายกรัฐมนตรี อับดุลละฮ์ อะฮ์มัด บาดาวี | ประธานาธิบดีรัสเซียได้รับเชิญเข้าประชุม |
2 | 15 มกราคม ค.ศ. 2007 | ฟิลิปปินส์ | มันดาเว | ประธานาธิบดี กลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย | ย้ายจากวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2006 มีการลงนามปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก |
3 | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 | สิงคโปร์ | สิงคโปร์ | นายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง | ปฏิญญาสิงคโปร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ พลังงานและสิ่งแวดล้อม[47] ข้อตกลงว่าด้วยการก่อตั้งสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก |
4 | 25 ตุลาคม ค.ศ. 2009 | ไทย | ชะอำและหัวหิน | นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | วันที่และสถานที่ประชุมมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง โดยมีการประกาศในช่วงปลายตุลาคม ค.ศ. 2008 ว่าย้ายที่จัดการประชุมสุดยอดจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองในกรุงเทพ |
5 | 30 ตุลาคม ค.ศ. 2010 | เวียดนาม | ฮานอย | ประธานาธิบดี เหงียน มิญ เจี๊ยต | เชิญสหรัฐและรัสเซียเข้าร่วมการประชุม |
6 | 18–19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 | อินโดนีเซีย | บาหลี | ประธานาธิบดี ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน | เชิญสหรัฐและรัสเซียเข้าร่วมการประชุม |
7 | 19–20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 | กัมพูชา | พนมเปญ | นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน | ความตึงเครียดในข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออกบดบังความก้าวหน้าในการทำข้อตกลงทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกในการประชุม[48] |
8 | 9–10 ตุลาคม ค.ศ. 2013 | บรูไน | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน | สุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียห์ | |
9 | 12–13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 | พม่า | เนปยีดอ | ประธานาธิบดี เต้นเซน | |
10 | 21–22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 | มาเลเซีย | กัวลาลัมเปอร์ | นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก | |
11 | 6–8 กันยายน ค.ศ. 2016 | ลาว | เวียงจันทน์ | นายกรัฐมนตรี ทองลุน สีสุลิด | |
12 | 13–14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 | ฟิลิปปินส์ | ปาไซ | ประธานาธิบดี โรดรีโก ดูแตร์เต | นายกรัฐมนตรีแคนาดาเข้าร่วมประชุม |
13 | 14–15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 | สิงคโปร์ | สิงคโปร์ | นายกรัฐมนตรี ลี เซียนลุง | ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน เข้าร่วมประชุม[49] |
14 | 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 | ไทย | กรุงเทพ | นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา | |
15 | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 | เวียดนาม | ฮานอย (ในฐานะสถานที่จัดงาน) | นายกรัฐมนตรี เหงียน ซวน ฟุก | จัดออนไลน์เพราะโรคระบาดโควิด-19[50] |
16 | 26–27 ตุลาคม ค.ศ. 2021 | บรูไน | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน (ในฐานะสถานที่จัดงาน) | สุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียห์ | จัดออนไลน์เพราะโรคระบาดโควิด-19 |
17 | ค.ศ. 2022 | กัมพูชา | พนมเปญ | นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน |
การประชุมเชื่อมสัมพันธไมตรี
การประชุมเชื่อมสัมพันธไมตรีเป็นการประชุมระหว่างประเทศเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างชาติอาเซียน ถูกจัดตั้งขึ้นเนื่องในวาระครบรอบการก่อตั้งความสัมพันธ์ทางการทูต ประเทศนอกกลุ่มอาเซียนจะเป็นผู้เชิญชวนผู้นำชาติอาเซียนเพื่อประชุมเชื่อมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือในอนาคต
ที่ประชุมกลุ่มอาเซียน
ที่ประชุมกลุ่มอาเซียนเป็นการประชุมหลายฝ่ายอย่างเป็นทางการในภาคพื้นแปซิฟิก ในเดือนกรกฎาคม 2550 ที่ประชุมดังกล่าวประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 27 ประเทศ; ออสเตรเลีย บังกลาเทศ แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ มองโกเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี รัสเซีย ติมอร์-เลสเต สหรัฐ และศรีลังกา จุดประสงค์ของที่ประชุมเพื่อการปรึกษาหารือ นำเสนอความไว้วางใจและธำรงความสัมพันธ์ทางการทูตในกลุ่มสมาชิก ที่ประชุมกลุ่มอาเซียนจัดการประชุมครั้งแรกในปี 2537[51][52]
การประชุมอื่น
นอกเหนือจากการประชุมที่กล่าวมาข้างต้น อาเซียนยังได้มีการจัดการประชุมอื่นขึ้นอีก[53] ประกอบด้วย การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนประจำปี[54] รวมไปถึงคณะกรรมการย่อย อย่างเช่น ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การประชุมดังกล่าวมักจะมีหัวข้อการประชุมที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น ความมั่นคงระหว่างประเทศ[53] สิ่งแวดล้อม[53][55] ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะเป็นรัฐมนตรีแทนที่จะเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลทั้งหมด
การประชุมอาเซียนบวกสาม
ในขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ผลักดันให้จัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน เกาหลีใต้ก็ได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ด้วยการผนึกสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เข้ากับกลุ่มประเทศอาเซียนที่เรียกชื่อว่า "อาเซียนบวกสาม" (APT) แต่สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินหน้าจัดตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน โดยกีดกันญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ด้วยความจงใจ แม้ว่าตามข้อตกลงในการจัดซื้อเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน จะมีแผนที่จะผนวกเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเข้ามาในภายหลังเพื่อเป็นอาเซียนบวกสาม แต่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาอันแน่นอน อันทำให้เขตการค้าเสรีอาเซียนบวกสาม
การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป
การประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรปเป็นกระบวนการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ มีขึ้นครั้งแรกในปี 2538 เพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุโรปและเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาชิกของสหภาพยุโรปและอาเซียน[56] โดยกลุ่มอาเซียนจะส่งเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมร่วมกับผู้แทนอีก 45 คน และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะผู้บริหารของมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป ซึ่งเป็นองค์การความร่วมมือกันทางด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างเอเชียกับยุโรป
การประชุมอาเซียน-รัสเซีย
เป็นการประชุมประจำปีระหว่างผู้นำของประเทศกลุ่มอาเซียนร่วมกับประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย
การประชุมทางทหารของอาเซียน
การประชุมทางทหารของอาเซียน ประกอบไปด้วยหลายส่วน ประกอบไปด้วย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารอากาศ รวมไปถึงกิจกรรมทางทหารอื่น ๆ ภายในกองทัพของกลุ่มประเทศอาเซียน
หมายเหตุ
- ↑ การคำนวณเป็นค่าประมาณโดยเฉลี่ย ดัชนีการพัฒนามนุษย์เป็นข้อมูลของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติของประเทศสมาชิก
อ้างอิง
- ↑ "Ang Saligang Batas ng ASEAN" [The ASEAN Charter] (PDF) (ภาษาฟิลิปปินส์). Association of Southeast Asian Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-01-10. สืบค้นเมื่อ 10 January 2018.
- ↑ "Piagam Persatuan Negara Asia Tenggara" [The ASEAN Charter] (PDF) (ภาษามาเลย์). Association of Southeast Asian Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-01-10. สืบค้นเมื่อ 10 January 2018.
- ↑ "Hiến chương của Hiệp hội các Quốc gia Đông Nam Á" [The ASEAN Charter] (PDF) (ภาษาเวียดนาม). Association of Southeast Asian Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-01-10. สืบค้นเมื่อ 10 January 2018.
- ↑ "Piagam Perhimpunan Bangsa-Bangsa Asia Tenggara" [The ASEAN Charter] (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). Association of Southeast Asian Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-15. สืบค้นเมื่อ 10 January 2018.
- ↑ "ASEAN Motto". ASEAN.org. ASEAN. สืบค้นเมื่อ 9 May 2015.
- ↑ ASEAN Charter (PDF). Association of Southeast Asian Nations. p. 29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-09. สืบค้นเมื่อ 2016-09-08.
Article 34. The working language of ASEAN shall be English.
- ↑ "Selected Basic ASEAN Indicators" (PDF). ASEAN.organisation. ASEANstats. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 September 2015. สืบค้นเมื่อ 9 May 2015.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2020.
- ↑ "Selected basic ASEAN indicators" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 May 2012. สืบค้นเมื่อ 5 September 2010.
- ↑ EC.Europa.eu เก็บถาวร 2010-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, European Union Relations with ASEAN. Retrieved 29 October 2010.
- ↑ Termsak Chalermpalanupap. "ASEAN-10: Meeting the Challenges". Aseansec.org. ASEAN Secretariat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2011. สืบค้นเมื่อ 27 June 2008.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 "ASEAN - Overview" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2012.
- ↑ เคาต์ดาวน์สู่ ประชาคมอาเซียน. (8 สิงหาคม 2553). โพสต์ทูเดย์. สืบค้น 05-09-2010.
- ↑ "ASEAN secretariat". ASEAN. 23 July 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2012. สืบค้นเมื่อ 2009-01-12.
- ↑ "Background Note:Brunei Darussalam/Profile:/Foreign Relations". United States State Department. สืบค้นเมื่อ 2007-03-06.
- ↑ "Asean Tourism" (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Agriculture in ASEAN". Netherlandsworldwide.nl (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ ASEAN at About.com:Geography เก็บถาวร 2009-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- ↑ About ASEAN Secretariat ASEAN Secretariat. สืบค้น 13 เมษายน 2557.
- ↑ Global 2022 Human Development Report Overview - English. New York: United Nations Development Programme (UNDP). 2020. pp. 22–24. สืบค้นเมื่อ 20 May 2021.
- ↑ 21.0 21.1 Sim, Edmund "Introduction to the ASEAN Economic Community", http://www.asil.org/aseanevent/Sim_Intro_to_ASEAN.pdf เก็บถาวร 2012-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Agreement on the Common Effective Preferential Tariff Scheme for the ASEAN Free Trade Area, Singapore, 28 January 1992". Aseansec.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2012. สืบค้นเมื่อ 2008-12-21.
- ↑ "Overview - Trade". Aseansec.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-12. สืบค้นเมื่อ 2008-12-21.
- ↑ 24.0 24.1 "Highlights of the ASEAN Comprehensive Investment Agreement (ACIA)". Aseansec.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 2008-12-21.
- ↑ "ASEAN Framework Agreement on Services (1995)". Aseansec.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2012. สืบค้นเมื่อ 21 December 2008.
- ↑ "Overview - Services". Aseansec.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2011. สืบค้นเมื่อ 21 December 2008.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 "Asean Single Aviation Market". The Straits Times. 2 February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-09. สืบค้นเมื่อ 26 September 2008.
- ↑ 28.0 28.1 "Singaporean PM urges ASEAN to liberalise aviation". chinaview.cn. Xinhua News Agency. 1 November 2007. สืบค้นเมื่อ 26 September 2008.
- ↑ Kaur, Karamjit (25 September 2008). "Tiger offers 50,000 free seats". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 26 September 2008.
- ↑ "Three quarters of a million more seats and counting- KL-Singapore benefits from liberalisation". Centre for Asia Pacific Aviation. 28 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-05. สืบค้นเมื่อ 26 September 2008.
- ↑ "Welcome to Singapore FTA Network". Fta.gov.sg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-09. สืบค้นเมื่อ 21 December 2008.
- ↑ "Welcome to Singapore FTA Network". Fta.gov.sg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 21 December 2008.
- ↑ "การเติบโตทางการค้าระหว่างไทยกับอาเซียน กับแนวโน้มของ AFTA". ห้องสมุดธนาคารไทยพาณิชย์. 31 March 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2009.
- ↑ "Taipei Times - archives". Taipeitimes.com. สืบค้นเมื่อ 21 December 2008.
- ↑ "ASEAN Cooperation on Environment". ASEAN Secretariat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2012. สืบค้นเมื่อ 12 October 2006.
- ↑ East Asian leaders to promote biofuel เก็บถาวร 2011-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Philippine Daily Inquirer, 13 March 2007.
- ↑ "ASEAN Statement on Launching of the ASEAN Wildlife Law Enforcement Network (ASEAN-WEN)". ASEAN. 1 December 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2012. สืบค้นเมื่อ 2009-01-12.
- ↑ 38.0 38.1 ASEAN Structure เก็บถาวร 2007-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ASEAN Primer
- ↑ Denis Hew (2005). Roadmap to an Asean Economic Community. Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 981-230-347-2.
- ↑ "รายละเอียดการประชุม 34th ASEAN Summit". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
- ↑ "รายละเอียดการประชุม 35th ASEAN Summit and Related Summits". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27.
- ↑ กำหนดการสื่อมวลชน การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง เก็บถาวร 2020-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2562 ณ กรุงเทพฯ และนนทบุรี
- ↑ "ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-01. สืบค้นเมื่อ 2019-11-01.
- ↑ "ASEAN summit begins without Myanmar after top general barred". Al Jazeera. October 26, 2021. สืบค้นเมื่อ November 3, 2021.
- ↑ "Southeast Asia leaders struggle with Myanmar crisis at summit". Al Jazeera. November 11, 2022. สืบค้นเมื่อ January 18, 2023.
- ↑ Widakuswara, Patsy (September 6, 2023). "Myanmar's Seat Empty as VP Harris Speaks to ASEAN Leaders". Voice of America. สืบค้นเมื่อ January 4, 2024.
- ↑ Singapore Declaration on Climate Change, Energy and the Environment เก็บถาวร 13 พฤษภาคม 2012 ที่ Library of Congress Web Archives
- ↑ Branigan, Tania (20 พฤศจิกายน 2012). "Obama urges Asian leaders to step back from territorial disputes". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2018.
- ↑ "Singapore to host 13th East Asia Summit in November". Connected to India. 23 March 2018. สืบค้นเมื่อ 23 March 2018.
- ↑ "Ha Noi Declaration on the 15th Anniversary of the East Asia Summit". Association of Southeast Asian Nations. November 15, 2020. สืบค้นเมื่อ November 19, 2020.
- ↑ About Us เก็บถาวร 2013-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ASEAN Regional Forum official website เก็บถาวร 2013-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 12 June 2006
- ↑ Official Website of Australian Department of Foreign Affairs and Trade เก็บถาวร 2008-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 3 August 2008
- ↑ 53.0 53.1 53.2 "ASEAN Calendar of Meetings and Events November 2006". ASEAN Secretariat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2010. สืบค้นเมื่อ 13 March 2007.
- ↑ "ASEAN Ministerial Meetings". ASEAN Secretariat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2012. สืบค้นเมื่อ 13 March 2007.
- ↑ "Malaysians have had enough of haze woes". The Malaysian Bar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
- ↑ Lay Hwee Yeo (2003). Asia and Europe: the development and different dimensions of ASEM. Routledge (UK). ISBN 0-415-30697-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
- เกี่ยวกับอาเซียน
- เว็บไซต์ทางการ
- ASEAN News Network
- ASEAN Blog
- ASEAN Regional Forum
- BBC Country Profile/Asean Retrieved on 13 March 2007.
- การประชุมสุดยอดอาเซียน
- 14th ASEAN Summit
- 13th ASEAN Summit Retrieved on 16 September 2007.
- 12th ASEAN Summit, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-21, สืบค้นเมื่อ 13 March 2007
- 11th ASEAN Summit 12-14 December 2005, Kuala Lumpur, Malaysia, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-09, สืบค้นเมื่อ 13 March 2007
- 11th ASEAN Summit 12 December–14, 2005, Kuala Lumpur, Malaysia. Retrieved on 13 March 2007.
- องค์กรอาเซียน
- Official directory of ASEAN organizations
- ASEAN Law Association
- ASEAN Ports Association
- US-ASEAN Business Council