วิกฤตการณ์คองโก
วิกฤตการณ์คองโก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การให้เอกราชในแอฟริกาและสงครามเย็น | |||||||
ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน:
| |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
1960–63:
สนับสนุน:สหภาพโซเวียต (1960) ONUC[a] |
1960–62: สหภาพโซเวียต | ||||||
1964–65: ONUC (1964) | สนับสนุน: | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
|
| ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ถูกฆ่า: ~100,000[5] |
วิกฤตการณ์คองโก (ฝรั่งเศส: Crise congolaise) เป็นช่วงความขัดแย้งและผันผวนทางการเมืองในสาธารณรัฐคองโก (สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในปัจจุบัน) ระหว่างค.ศ. 1960–1965 วิกฤตการณ์นี้เกิดขึ้นเกือบทันทีหลังคองโกได้รับเอกราชจากเบลเยียม และสิ้นสุดลงอย่างไม่เป็นทางการเมื่อโมบูตู เซเซ เซโกขึ้นปกครองประเทศ วิกฤตการณ์คองโกเป็นชุดสงครามกลางเมืองและเป็นสงครามตัวแทนในสงครามเย็น ซึ่งสหภาพโซเวียตและสหรัฐเข้าสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามกัน เชื่อว่ามีประชาชนราว 100,000 คนถูกฆ่าในวิกฤตการณ์นี้
ขบวนการชาตินิยมในเบลเจียนคองโกเรียกร้องให้ยุติการปกครองโดยเจ้าอาณานิคม นำไปสู่การได้รับเอกราชในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1960[6] อย่างไรก็ตามมีการเตรียมการเพียงเล็กน้อยหลังได้รับเอกราชและปัญหาหลายอย่าง เช่น แนวคิดสหพันธรัฐ เผ่าชนนิยม และชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ไม่ได้รับการแก้ไข[7] เพียงสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม เกิดการก่อการกำเริบในกองทัพ[8] ความรุนแรงระหว่างคนขาวกับคนดำปะทุ[8] และกาต็องกาและซูด-กาซายแยกตัวโดยได้รับการสนับสนุนจากเบลเยียม[9] ท่ามกลางความไม่สงบ ด๊าก ฮัมมาร์เฮิลด์ เลขาธิการสหประชาชาติส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปในคองโกเพื่อรักษาความสงบภายใน[10] แต่ปฏิเสธที่จะใช้กองกำลังนี้ช่วยรัฐบาลเลออปอลวีลสู้กับกลุ่มแยกตัว ปาทริส ลูมูมบา นายกรัฐมนตรีจึงขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต ซึ่งสนับสนุนที่ปรึกษาทางทหารและความช่วยเหลืออื่น ๆ[11]
การเข้ามาของสหภาพโซเวียตก่อให้เกิดความแตกแยกในรัฐบาล และนำไปสู่ความตึงเครียดระหว่างลูมูมบากับประธานาธิบดีโฌแซ็ฟ กาซา-วูบู[12] ซึ่งยุติลงเมื่อโมบูตูที่คุมกองทัพก่อรัฐประหาร ขับที่ปรึกษาโซเวียตและจัดตั้งรัฐบาลใหม่ใต้อำนาจตน[13] ลูมูมบาถูกจับกุมและภายหลังถูกประหารใน ค.ศ. 1961 ในช่วงเวลาเดียวกัน ผู้สนับสนุนลูมูมบาตั้งรัฐบาลคู่แข่งนาม "สาธารณรัฐเสรีคองโก" ในสตานเลวีลและได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตแต่พ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1962[14] ด้านสหประชาชาติแข็งกร้าวต่อกลุ่มแยกตัวมากขึ้นหลังฮัมมาร์เฮิลด์เสียชีวิตในเหตุเครื่องบินตกใน ค.ศ. 1961[15] ต่อมารัฐบาลเลออปอลวีลที่ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังสหประชาชาติเอาชนะกาต็องกาและซูด-กาซายในต้นค.ศ. 1963[16][17]
เมื่อกาต็องกาและซูด-กาซายกลับเข้ามาอยู่ใต้อำนาจรัฐบาล มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ประนีประนอมและให้มออีซ ชอมเบ ผู้นำกาต็องกาที่ลี้ภัยเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว[18] แต่ก่อนจะมีการเลือกตั้งเกิดกลุ่มติดอาวุธนิยมลัทธิเหมาที่เรียกตนเองว่าซิมบาขึ้นทางตะวันออกของประเทศ ซิมบาสามารถยึดพื้นที่ได้จำนวนมากและก่อตั้ง "สาธารณรัฐประชาชนคองโก" ในสตานเลวีล[19] เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1964 ระหว่างที่ฝ่ายรัฐบาลค่อย ๆ ยึดพื้นที่คืน สหรัฐและเบลเยียมเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือตัวประกันที่ถูกซิมบาจับตัวในสตานเลวีล[20] หลังจากนั้นไม่นานซิมบาพ่ายแพ้และล่มสลาย หลังการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1965 เกิดความตึงเครียดรอบใหม่ระหว่างช็อมเบกับกาซา-วูบู ส่งผลให้โมบูตูก่อรัฐประหารอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนและขึ้นปกครองประเทศด้วยตนเอง[21] โมบูตูเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐซาอีร์ใน ค.ศ. 1971 และปกครองด้วยระบอบเผด็จการจนกระทั่งเขาถูกโค่นล้มใน ค.ศ. 1997[22]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Haskin 2005, pp. 24–5.
- ↑ Nzongola-Ntalaja 2007, p. 101.
- ↑ Dorn 2016, p. 32.
- ↑ Nugent 2004, p. 97.
- ↑ Mwakikagile 2014, p. 72.
- ↑ Zeilig 2008, p. 88.
- ↑ Zeilig 2008, pp. 89–91.
- ↑ 8.0 8.1 Gondola 2002, p. 118.
- ↑ Nugent 2004, p. 86.
- ↑ "United Nations Operation in the Congo (ONUC) (1960-1964) - UNARMS". search.archives.un.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
- ↑ Zeilig 2008, p. 116.
- ↑ Nzongola-Ntalaja 2007, p. 108.
- ↑ Nzongola-Ntalaja 2007, p. 109.
- ↑ Gendebien 1967, p. 205.
- ↑ Boulden 2001, p. 36.
- ↑ Willame 1972, p. 68.
- ↑ Boulden 2001, p. 40.
- ↑ Gleijeses 1994, p. 74.
- ↑ Stapleton 2017, p. 244.
- ↑ Nzongola-Ntalaja 2007, p. 136.
- ↑ EISA 2002b.
- ↑ Abbott (2014), pp. 34–35.
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน