การปฏิวัติอิหร่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปฏิวัติอิหร่าน
ส่วนหนึ่งของ ความพยายามตามรัฐธรรมนูญในอิหร่านและสงครามเย็น
รูฮุลลอฮ์ โคมัยนีกลับมาจากประเทศฝรั่งเศสในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979
วันที่7 มกราคม ค.ศ. 1978 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979
สถานที่ประเทศอิหร่าน
สาเหตุ
เป้าหมายโค่นล้มราชวงศ์ปาห์ลาวี
วิธีการ
ผล
คู่ขัดแย้ง
ผู้นำ
ความสูญเสีย
532 คน[1]
2,000–3,000 คนถูกฆ่าในระหว่างการเดินขบวนในปีค.ศ.1978–79 (ข้อมูลจากFMV)[2][3]
  1. มีการแก้ไขในสภาผู้แทนราษฎรหลังจากพบกับรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1979
  2. ทหารของจักรพรรดิอิหร่านถูกเพิกถอนและมีสถานะเป็นกลางในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979

การปฏิวัติอิหร่าน (หรือเรียก การปฏิวัติอิสลาม หรือการปฏิวัติ ค.ศ. 1979; เปอร์เซีย: انقلاب اسلامی, Enghelābe Eslāmi หรือ انقلاب بیست و دو بهمن) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการโค่นราชวงศ์ปาห์ลาวีภายใต้พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา[4] และการแทนที่ด้วยสาธารณรัฐอิสลามภายใต้รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้นำการปฏิวัติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การฝ่ายซ้ายและอิสลามหลายแห่ง[5] และขบวนการนักศึกษาอิหร่าน

ชนวนเหตุ[แก้]

เริ่มการเดินขบวนต่อต้านชาห์ในเดือนตุลาคม 2520 พัฒนาเป็นการรณรงค์การดื้อแพ่งซึ่งมีทั้งภาคฆราวาสและศาสนา[6][7][8] ซึ่งบานปลายในเดือนมกราคม 2521[9] ระหว่างเดือนสิงหาคมและธันวาคม 2521 การนัดหยุดงานและการเดินขบวนทำให้ประเทศเป็นอัมพาต ชาห์เสด็จออกนอกประเทศอิหร่านเพื่อลี้ภัยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2522 เป็นพระมหากษัตริย์เปอร์เซียพระองค์สุดท้าย ปล่อยภาระหน้าที่ให้สภาผู้สำเร็จราชการและนายกรัฐมนตรีที่อิงฝ่ายค้าน รัฐบาลเชิญรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีกลับประเทศอิหร่าน[10][11] และกลับสู่กรุงเตหะรานซึ่งมีชาวอิหร่านหลายล้านคนรอต้อนรับ[12] การทรงราชย์สิ้นสุดหลังวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เมื่อกองโจรและทหารกบฏชนะกำลังซึ่งภักดีต่อชาห์ในการสู้รบด้วยอาวุธตามถนน นำให้โคมัยนีเถลิงอำนาจอย่างเป็นทางการ[13][14] อิหร่านออกเสียงลงคะแนนการลงประชามติทั่วประเทศให้เป็นสาธารณรัฐอิสลามเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2522[15] และรับรองรัฐธรรมนูญเทวาธิปไตย-สาธารณรัฐนิยมฉบับใหม่[6][7][16][17] ซึ่งโคมัยนีกลายเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ ในเดือนธันวาคม 2522

หลังจากสิ้นสุด[แก้]

การปฏิวัตินี้แปลกสำหรับความประหลาดใจที่สร้างไปทั่วโลก[18] เพราะขาดสาเหตุการปฏิวัติดังที่เคยมีมา (เช่น แพ้สงคราม วิกฤตการณ์การเงิน กบฏชาวนาหรือกองทัพไม่พอใจ)[19] เกิดในชาติที่มีความมั่งคั่งทางวัตถุและเจริญรุ่งเรืองค่อนข้างดี[10][17] มีความเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งด้วยความเร็ว[20] เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทำให้มีการลี้ภัยของชาวอิหร่านจำนวนมาก[21] และแทนกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชนิยมตะวันตก[10]ด้วยเทวาธิปไตยอำนาจนิยมต่อต้านตะวันตก[10][16][17][22][23]โดยยึดมโนทัศน์ความอนุบาลของนักนิติศาสตร์อิสลาม (Guardianship of the Islamic Jurists หรือ velayat-e faqih) เป็นการปฏิวัติที่ค่อนข้างไม่รุนแรง และช่วยนิยามความหมายและการปฏิบัติของการปฏิวัติสมัยใหม่ใหม่ (แม้มีความรุนแรงให้หลังการปฏิวัติ)[24]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kurzman, p. 109.แม่แบบ:سخsources: "On martyrs of the revolution see Laleh'he-ye Enqelab; this volume, published by a religious institution, features photographs of `martyrs of the revolution, ` including name, age, date and place of death, and sometimes occupation; the method of selection is not described. I am indebted to Prof. James A. Bill for directing me to Laleh'ha-ye Enqelab, which he too has used as sampling of revolutionary fatalities (Bill, James, The Eagle and the Lion, p. 487
  2. "A Question of Numbers" เก็บถาวร 4 สิงหาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน IranianVoice.org, 8 August 2003 Rouzegar-Now Cyrus Kadivar
  3. E. Baqi, `Figures for the Dead in the Revolution`, Emruz, 30 July 2003.
  4. "Mohammad Reza Shah Pahlavi". Encyclopedia Britannica.
  5. Jubin M. GOODARZİ (8 February 2013). "Syria and Iran: Alliance Cooperation in a Changing Regional Environment" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
  6. 6.0 6.1 Abrahamian (1982), p. 515
  7. 7.0 7.1 Afkhami, Gholam-Reza. The Life and Times of the Shah.
  8. Abrahamian, Ervand (2009) "Mass Protests in the Islamic Revolution, 1977–79", in Adam Roberts and Timothy Garton Ash (eds.), Civil Resistance and Power Politics: The Experience of Non-violent Action from Gandhi to the Present. Oxford & New York: Oxford University Press, pp. 162–78.
  9. "The Iranian Revolution". fsmitha.com.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Milani, Abbas (22 May 2012). The Shah. ISBN 9780230340381.
  11. Milani, Abbas (2008). Eminent Persians. Syracuse University Press. ISBN 978-0-8156-0907-0.
  12. 1979: Exiled Ayatollah Khomeini returns to Iran| bbc.co.uk
  13. Graham, p. 228.
  14. Kurzman, p. 111
  15. Iran Islamic Republic, Encyclopædia Britannica.
  16. 16.0 16.1 Kurzman
  17. 17.0 17.1 17.2 Amuzegar, Jahangir (1991). Dynamics of the Iranian Revolution. p. 253. ISBN 9780791407318.
  18. Amuzegar, The Dynamics of the Iranian Revolution, (1991), p.4, 9–12
  19. Arjomand, p. 191.
  20. Amuzegar, Jahangir, The Dynamics of the Iranian Revolution, SUNY Press, p. 10
  21. Kurzman, p. 121
  22. "Iran: A Brief Study of the Theocratic Regime" (PDF).[ลิงก์เสีย]
  23. International Journal of Middle East Studies, 19, 1987, p. 261
  24. Ritter, Daniel. "Why the Iranian Revolution was Non-Violent".