ปราโบโว ซูบียันโต
ปราโบโว ซูบียันโต | |
---|---|
ภาพถ่ายตอนเลือกตั้ง ค.ศ. 2023 | |
ว่าที่ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย | |
รอรับตำแหน่ง | |
ว่าที่ตำแหน่ง 20 ตุลาคม ค.ศ. 2024 | |
รองประธานาธิบดี | กิบรัน รากาบูมิง รากา (ว่าที่) |
รับช่วงจาก | โจโก วีโดโด |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนที่ 26 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 23 ตุลาคม 2019 | |
ประธานาธิบดี | โจโก วีโดโด |
รอง | |
ก่อนหน้า | รียามีซาร์ด รียาจูดู |
หัวหน้าพรรคเกอรินดราคนที่ 2 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 20 กันยายน 2014 | |
ก่อนหน้า | ซูฮาร์ดี |
ผู้บัญชาการกซตรัด คนที่ 22 | |
ดำรงตำแหน่ง 20 มีนาคม 1998 – 22 พฤษภาคม 1998 | |
ประธานาธิบดี | |
ก่อนหน้า | ซูกีโยโน |
ถัดไป |
|
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดโกปัซซุซ คนที่ 15 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ธันวาคม 1995 – 20 มีนาคม 1998 | |
ประธานาธิบดี | ซูฮาร์โต |
ก่อนหน้า | ซูบากีโย ฮาดี ซิซโวโย |
ถัดไป | มุคดี ปูร์โวปรันโจโน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ปราโบโว ซูบียันโต โจโยฮาดีกูซูโม 17 ตุลาคม ค.ศ. 1951 จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย |
พรรคการเมือง | เกอรินดรา |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | กลการ์ (จนถึง ค.ศ. 2008) |
คู่สมรส | ซีตี เฮอดียาตี ฮารียาดี (สมรส 1983; หย่า 1998) |
บุตร | ดีดิต เฮอดีปราเซตโย |
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ |
|
ศิษย์เก่า | โรงเรียนทหารอินโดนีเซีย |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | Archived website |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | อินโดนีเซีย |
สังกัด | กองทัพอินโดนีเซีย |
ประจำการ | 1974–1998 |
ยศ | พลเอก (กิตติมศักดิ์) |
หน่วย | โกปัซซุซ |
บังคับบัญชา | |
ผ่านศึก | |
รางวัล | รายการ |
Service no. | 27082 |
ปราโบโว ซูบียันโต โจโยฮาดีกูซูโม (อินโดนีเซีย: Prabowo Subianto Djojohadikusumo; เกิดวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1951) เป็นนักการเมือง นักธุรกิจ และนายพลกิตติมศักดิ์เกษียณอายุชาวอินโดนีเซีย ซึ่งจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม [1] ปราโบโวจะเป็นประธานาธิบดีคนที่สามของอินโดนีเซียที่มีภูมิหลังทางการทหาร ต่อจากซูฮาร์โต อดีตพ่อตาของเขา และ ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน โดยในปี ค.ศ. 1998 เขาถูกปลดประจำการจากกองทัพ และต่อมาถูกห้ามไม่ให้เข้าสหรัฐอเมริกา เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ากระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ปราโบโว ซูบียันโต สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการทหารแห่งอินโดนีเซีย (Akademi Militer Nasional) ในปี ค.ศ. 1970 และส่วนใหญ่รับราชการในหน่วยรบพิเศษ (Kopassus) จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยบัญชาการสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (Kostrad) ในปี ค.ศ. 1998 เขามักถูกนิยามว่าเป็นชาตินิยมฝ่ายขวา [2][3][4]
ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2008 กลุ่มคนใกล้ชิดของปราโบโว ได้ก่อตั้งพรรคขบวนการอินโดนีเซียยิ่งใหญ่ หรือเกอรินดรา ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี ค.ศ. 2009 เขาลงสมัครชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในฐานะผู้สมัครคู่กับเมกาวาตี ซูการ์โนปูตรี แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง เขาลงสมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี ค.ศ. 2014 [5] และพ่ายแพ้ต่อโจโก วีโดโด ผู้ว่าการกรุงจาการ์ตา ซึ่งเขาโต้แย้งผลการเลือกตั้งในตอนแรก [6] เขาลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 2019 โดยมี ซันดิยะกา อูโน เป็นผู้สมัครร่วม และได้รับการสนับสนุนจากเกอรินดรา พรรคยุติธรรมรุ่งเรือง พรรคอาณัติแห่งชาติ พรรคประชาธิปไตย และพรรคเบอะร์กายา .[7][8] การที่เขาปฏิเสธที่จะยอมรับผลการเลือกตั้งทำให้ผู้ติดตามของเขาออกมาประท้วงซึ่งก่อให้เกิดการจลาจลที่นองเลือดในจาการ์ตา อย่างไรก็ตาม หลังจากการขับเคี่ยวที่ดุเดือด ปราโบโวเข้าร่วมคณะรัฐมนตรีในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในช่วงปี ค.ศ. 2019 ถึง ค.ศ. 2024 [9]
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2021 เกอรินดราประกาศให้ปราโบโวเป็นผู้สมัครในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 2024 [10] วันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2022 ปราโบโวประกาศว่าเขายอมรับการเสนอชื่อของเกอรินดรา [11] ปราโบโวประกาศชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ โดยการสำรวจความคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการในช่วงแรกแสดงให้เห็นว่าเขามีคะแนนนำในการลงคะแนนรอบแรก [12] เมื่อวันที่ 20 มีนาคม คณะกรรมการการเลือกตั้งทั่วไป (KPU) รับรองผลการเลือกตั้งและประกาศให้เขาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอินโดนีเซีย [1] ศาลรัฐธรรมนูญอินโดนีเซียยืนยันสถานะของเขาเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 2024 [13][14][15] ปัจจุบันรัฐบาลของโจโก วีโดโด กำลังเตรียมการสำหรับกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลในอนาคตของปราโบโว [16]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Pemilu 2024: KPU umumkan Prabowo-Gibran raih suara terbanyak, bagaimana nasib dugaan kecurangan?". BBC News Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). 2024-03-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-03-20.
- ↑ Anwar, Muhammad Choirul (13 July 2020). "Sosok Prabowo di Mata Wamenhan: Super Nasionalis!". CNBC Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-03-23.
- ↑ Topsfield, Jewel (8 May 2018). "Prabowo Subianto opens up on Jakarta elections and the 2019 presidency". The Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2018. สืบค้นเมื่อ 14 April 2018.
- ↑ "Jordan to enhance ties with RI", The Jakarta Post, 26 May 2015, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2019, สืบค้นเมื่อ 26 March 2019
- ↑ "Prabowo Runs for President". 22 November 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2011. สืบค้นเมื่อ 23 November 2011.
- ↑ "Jakarta governor Widodo wins Indonesian presidential election". Indonesia News.Net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2014. สืบค้นเมื่อ 23 July 2014.
- ↑ "Dihadiri AHY, Prabowo-Sandiaga Uno resmi mendaftar di KPU". BBC News Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). 10 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2018. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.
- ↑ Ghaliya, Ghina (21 May 2019). "KPU names Jokowi winner of election". The Jakarta Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2019. สืบค้นเมื่อ 23 May 2019.
- ↑ "Prabowo jadi menteri pertahanan, pengamat militer: Pandangannya 'berbahaya'". BBC News Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-12-08.
- ↑ "Sekjen Gerindra: Insyaallah Prabowo Maju Pilpres 2024". detiknews (ภาษาอินโดนีเซีย). 2021-10-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-10-10.
- ↑ Teresia, Ananda; Lamb, Kate; Suroyo, Gayatri (12 August 2022). Kapoor, Kanupriya (บ.ก.). "Indonesia defence minister Prabowo accepts party's nomination to run for president". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2022. สืบค้นเมื่อ 13 August 2022.
- ↑ "Indonesia election 2024: Prabowo Subianto hails 'victory for all Indonesians' as early counts show him in lead with 58%". South China Morning Post. 15 February 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2024. สืบค้นเมื่อ 16 February 2024.
- ↑ Muliawati, Dwi Rahmawati, Brigitta Belia Permata Sari, Anggi. "MK Tolak Gugatan Sengketa Pilpres 2024 dari Anies-Cak Imin!". detiknews (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2024-04-22.
- ↑ Muliawati, Brigitta Belia Permata Sari, Dwi Rahmawati, Anggi. "MK Juga Tolak Gugatan Hasil Pilpres 2024 dari Ganjar-Mahfud!". detiknews (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2024-04-22.
- ↑ Rosseno Aji; Emir Yanwardhana. "MK Tolak Gugatan Anies-Ganjar, Kapan Prabowo Ditetapkan Jadi Presiden?". CNBC Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2024-04-22.
- ↑ Yanwardhana, Emir. "Istana Hormati Putusan MK Tolak Semua Gugatan Pilpres Anies dan Ganjar". CNBC Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2024-04-22.
ข้อมูล
[แก้]- Friend, T. (2003). Indonesian Destinies. Harvard University Press. ISBN 0-674-01137-6.
- Purdey, Jemma (2006). Anti-Chinese Violence in Indonesia, 1996–1999. Honolulu, HI: University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-3057-1.