เครือจักรภพแห่งประชาชาติ
เครือจักรภพแห่งประชาชาติ | |
---|---|
ธง | |
สำนักงานใหญ่ | ตำหนักมาร์ลบะระ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ |
ภาษาราชการ | อังกฤษ |
ประเภท | กลุ่มหรือสหภาพโดยสมัครใจ[1] |
สมาชิก | 56 ประเทศ
|
ผู้นำ | |
• ประมุข | พระเจ้าชาลส์ที่ 3 |
• เลขาธิการ | แพทริเซีย สกอตแลนด์ |
• ประธานในที่ประชุม | ริชี ซูแน็ก |
ก่อตั้ง | |
18 พฤศจิกายน 1926 | |
11 ธันวาคม 1931 | |
28 เมษายน 1949 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 29,958,050 ตารางกิโลเมตร (11,566,870 ตารางไมล์) |
ประชากร | |
• 2016 ประมาณ | 2,418,964,000 คน |
75 ต่อตารางกิโลเมตร (194.2 ต่อตารางไมล์) | |
เว็บไซต์ www |
เครือจักรภพแห่งประชาชาติ (อังกฤษ: Commonwealth of Nations) ชื่อเดิมคือ เครือจักรภพบริเตน (อังกฤษ: British Commonwealth) หรือเรียกอย่างง่ายว่า เครือจักรภพ เป็นองค์กรระหว่างประเทศในระดับรัฐบาล ประกอบด้วย 56 ชาติสมาชิกซึ่งส่วนมากเป็นอดีตอาณานิคมของจักรวรรดิบริเตน[2] เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยยึดหลักฉันทามติของชาติสมาชิกจากที่ประชุม เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยสำนักเลขาธิการเครือจักรภพและองค์กรอิสระ[3]
ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาณานิคมต่าง ๆ ของสหราชอาณาจักรเริ่มได้รับเอกราชเป็นของตนเอง เครือจักรภพแห่งประชาชาติกำเนิดขึ้นเมื่อมีปฏิญญาลอนดอนใน ค.ศ. 1949 ปฏิญญาได้กำหนดรายชื่อของชาติสมาชิกไว้ และกำหนดให้ชาติสมาชิกมีความเป็น "อิสระและเท่าเทียมกัน"[4] โดยมีสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ซึ่งเป็นประมุขของเครือจักรภพเป็นสัญลักษณ์ขององค์กร สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ยังทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของ 15 ชาติสมาชิกเครือจักรภพที่มีสถานะเป็น ราชอาณาจักรเครือจักรภพ ส่วนอีก 36 ชาติสมาชิกมีสถานะเป็นสาธารณรัฐ และอีก 5 ชาติสมาชิกมีราชวงศ์เป็นของตนเอง
ชาติสมาชิกต่างไม่มีซึ่งข้อผูกพันทางกฎหมายใด ๆ ระหว่างกัน มีเพียงหลักประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, เสรีภาพในการพูด และนิติธรรม เท่านั้น[3] ที่ทุกชาติสมาชิกต่างได้ลงนามไว้ในกฎบัตรเครือจักรภพว่าจะยึดถือปฏิบัติ[5]
สมาชิก
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Commonwealth Charter". 6 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-06. สืบค้นเมื่อ 5 March 2019.
Recalling that the Commonwealth is a voluntary association of independent and equal sovereign states, each responsible for its own policies, consulting and co-operating in the common interests of our peoples and in the promotion of international understanding and world peace, and influencing international society to the benefit of all through the pursuit of common principles and values
- ↑ "Member countries". The Commonwealth Secretariat. สืบค้นเมื่อ 2019-10-03.
- ↑ 3.0 3.1 "About us". The Commonwealth Secretariat. สืบค้นเมื่อ 2013-10-03.
- ↑ "London Declaration 1949, London, UK" (PDF). The Commonwealth Secretariat. สืบค้นเมื่อ 2019-10-03.
- ↑ "Charter of the Commonwealth" (PDF). The Commonwealth Secretariat. สืบค้นเมื่อ 2019-10-03.