องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้
จีน: 上海合作组织
รัสเซีย: Шанхайская организация сотрудничества
      สมาชิก       สังเกตการณ์       คู่ค้า
ชื่อย่อSCO
ก่อนหน้าเซี่ยงไฮ้ไฟฟ์
ก่อตั้ง15 มิถุนายน ค.ศ. 2001 (2001-06-15)
ประเภทองค์กรทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความปลอดภัย
สํานักงานใหญ่ปักกิ่ง ประเทศจีน (สำนักเลขาธิการ)
ทาชเคนต์ ประเทศอุซเบกิสถาน (คณะกรรมการบริหาร RATS)
สมาชิก
9 ชาติสมาชิก

4 ชาติสังเกตการณ์

14 ชาติคู่ค้า

4 ชาติรับเชิญ

ภาษาทางการ
เลขาธิการทั่วไป
จาง หมิง
รองเลขาธิการทั่วไป
  • เยริก อาชิมอฟ
  • Zhang Haizhou
  • มูรัตเบก อาซึมบาเกียฟ
  • กริกอรี ลอกวินอฟ
  • เชราลี โจโนนอฟ
คณะกรรมการบริหาร RATS
รุสลัน มีร์ซาเอฟ
เว็บไซต์sectsco.org แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ (สำนักเลขาธิการ)
ecrats.org/en/ (RATS)

องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (อังกฤษ: Shanghai Cooperation Organisation, ย่อ: SCO; จีนตัวย่อ: 上海合作组织; จีนตัวเต็ม: 上海合作組織; พินอิน: Shànghǎi hézuò zǔzhī) มีอีกชื่อว่า กติกาเซี่ยงไฮ้[3] เป็นองค์การการเมือง เศรษฐกิจและการทหารระหว่างทวีป ซึ่งเป็นองค์การภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดตามด้านภูมิศาสตร์และประชากร โดยกินพื้นที่ยูเรเชียประมาณ 60% ประชากรโลก 40% และจีดีพีทั่วโลกที่มากกว่า 30%[4]

SCO สืบต่อจาก เซี่ยงไฮ้ไฟฟ์ ซึ่งเป็นข้อตกลงความมั่นคงร่วมกันที่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1996 ที่มีสามชิกเป็นประเทศจีน, คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน, รัสเซีย และทาจิกิสถาน ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2001 ผู้นำจากชาติเหล่านี้กับอุซเบกิสถานพบปะกันที่เซี่ยงไฮ้ เพื่อประกาศจัดตั้งองค์การใหม่ที่เน้นถึงการร่วมมือทางการเมืองและเศรษฐกิจให้มากกว่าเดิม มีการลงนามกฎบัตร SCO ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 และนำไปใช้งานในวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2003 สมาชิกในองค์การนี้เพิ่มขึ้นเป็นแปดประเทศ โดยอินเดียและปากีสถานเข้าร่วมในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2017 อิหร่านกลายเป็นสมาชิกเต็มตัวในเดือนกันยายน ค.ศ. 2021 ที่การประชุมดูชานเบ (ทาจิกิสถาน) ประเทศอื่น ๆ บางส่วนนำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์หรือคู่ค้า

สมาชิก[แก้]

รัฐสมาชิก[แก้]

ประเทศ เข้าร่วม เป็นสมาชิกตั้งแต่
 จีน 15 มกราคม ค.ศ. 2001[a]
 คาซัคสถาน
 คีร์กีซสถาน
 รัสเซีย
 ทาจิกิสถาน
 อุซเบกิสถาน
 อินเดีย 10 มิถุนายน ค.ศ. 2015 9 มิถุนายน ค.ศ. 2017
 ปากีสถาน
เข้าเป็นสมาชิก
 อิหร่าน 17 กันยายน ค.ศ. 2021 ไม่เกินเดือนเมษายน ค.ศ. 2023
 เบลารุส 16 กันยายน ค.ศ. 2022 TBA

รัฐสังเกตการณ์[แก้]

คู่ค้า[แก้]

แฮมิด คาร์ไซ ประธานาธิบดีอัฟกานิสถานในงานประชุม SCO ใน ค.ศ. 2004

มีการจัดตั้งสถานะคู่ค้าใน ค.ศ. 2008.[9]

ประเทศ ยอมรับสถานะ ได้รับสถานะ[b]
 ศรีลังกา 15 หรือ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2009[10][11] 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2010[12]
 ตุรกี 7 มิถุนายน ค.ศ. 2012[7] 26 เมษายน ค.ศ. 2013[13]
 กัมพูชา 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2015[14] 24 กันยายน ค.ศ. 2015[15]
 อาเซอร์ไบจาน 14 มีนาคม ค.ศ. 2016[16]
 เนปาล 22 มีนาคม ค.ศ. 2016[17]
 อาร์มีเนีย 16 เมษายน ค.ศ. 2016[18]
 อียิปต์ 16 กันยายน ค.ศ. 2021 14 กันยายน ค.ศ. 2022[19][20]
 กาตาร์
 ซาอุดีอาระเบีย
คู่ค้าในเร็ววัน[c]
 บาห์เรน 16 กันยายน ค.ศ. 2022[20] TBA
 คูเวต
 มัลดีฟส์
 พม่า
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
อดีตคู่ค้า
 เบลารุส 15 หรือ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2009 28 เมษายน ค.ศ. 2010

แขกผู้เข้าร่วม[แก้]

ผู้นำปัจจุบันของประเทศสมาชิก[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. จีน, คาซัคสถาน, คีร์กีซสถาน, รัสเซีย และทาจิกิสถานเคยเป็นสมาชิกเซี่ยงไฮ้ไฟฟ์ตั้งแต่ 26 เมษายน ค.ศ. 1996 อุซเบกิสถานถูกรวมเข้าไปในเซี่ยงไฮ้ไฟฟ์ในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2001[5] ทั้งหกประเทศลงนามก่อตั้งองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2001[6]
  2. ประเทศเหล่านี้จะได้รับสถานะคู่ค้า SCO อย่างเป็นทางการหลังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและเลขาธิการทั่วไป SCO ลงนามบันทึกข้อตกลงรับสถานะ
  3. ประเทศเหล่านี้ยังไม่ได้รับการลงนามบันทึกข้อตกลง ทำให้ยังไม่เป็นคู่ค้า โดยนิตินัย
  4. ในทางกฎหมาย ประธานาธิบดีจีนเป็นตำแหน่งเชิงพิธี แต่เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน (ผู้นำโดยพฤตินัย) ดำรงตำแหน่งนี้ตั้งแต่ ค.ศ. 1993 ยกเว้นในช่วงเปลี่ยนผ่าน ผู้นำสูงสุดคนปัจจุบันคือประธานาธิบดีสี จิ้นผิง

อ้างอิง[แก้]

  1. Seiwert, Eva (30 September 2021). "The Shanghai Cooperation Organization Will Not Fill Any Vacuum in Afghanistan". Foreign Policy Research Institute. สืบค้นเมื่อ 24 July 2022. So far, the SCO has not officially recognized the Taliban regime and did not invite its representatives to the summit in Dushanbe in mid-September.
  2. "About SCO". Shanghai Cooperation Organisation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-06-09.
  3. "Iran looks east after China-led bloc OKs entry". www.msn.com. สืบค้นเมื่อ 2021-09-19.
  4. Совместное заявление глав государств Республики Казахстан, Китайской Народной Республики, Кыргызской Республики, Российской Федерации, Республики Таджикистан, Республики Узбекистан [Joint statement of heads of state of Republic of Kazakhstan, People's Republic of China, Kyrgyz Republic, Russian Federation, Republic of Tajikistan, Republic of Uzbekistan]. President of Russia (ภาษารัสเซีย). 14 June 2001.
  5. Главы государств «Шанхайского форума» приняли Декларацию о создании нового объединения – Шанхайской организации сотрудничества ["Shanghai Forum" heads of state have adopted the Declaration on creation of a new association – the Shanghai Cooperation Organisation]. President of Russia (ภาษารัสเซีย). 15 June 2001.
  6. 7.0 7.1 "SCO accepts Afghanistan as observer, Turkey dialogue partner". Xinhua News Agency. 7 June 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-06-07 – โดยทาง People's Daily.
  7. "Belarus gets observer status in Shanghai Cooperation Organization". Belarusian Telegraph Agency. 2015-07-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-08-08.
  8. "Regulations on the Status of Dialogue Partner of the Shanghai Cooperation Organisation". The Shanghai Cooperation Organisation. 28 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2012. สืบค้นเมื่อ 11 June 2016.
  9. "Sri Lanka gains partnership in SCO members welcome end to terror in country". Ministry of Defence, Democratic Socialist Republic of Sri Lanka. 30 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016.
  10. Bedi, Rahul (2 June 2007). "Sri Lanka turns to Pakistan, China for military needs". IANS. Urdustan.com Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2007. สืบค้นเมื่อ 2 June 2007.
  11. "Russian MFA Spokesman Andrei Nesterenko Response to Media Question about the Signing of a Memorandum Granting the Status of SCO Dialogue Partner to Sri Lanka". Ministry of Foreign Affairs (Russia). 12 May 2010.
  12. "No: 123, 26 April 2013, Press Release Concerning the Signing of a Memorandum with the Shanghai Cooperation Organization". Ministry of Foreign Affairs (Turkey). 26 April 2013.
  13. Kucera, Joshua (2015-07-10). "SCO Summit Provides Few Concrete Results, But More Ambitious Goals". Eurasianet. สืบค้นเมื่อ 2021-10-16.
  14. "Cambodia becomes dialogue partner in SCO". TASS. 24 September 2015.
  15. "Foreign Minister Elmar Mammadyarov met with Rashid Alimov, Secretary General of the Shanghai Cooperation Organization within his working visit to the People's Republic of China". Ministry of Foreign Affairs (Azerbaijan). 14 March 2016.
  16. "Press Release issued by Embassy of Nepal, Beijing on Nepal officially joined the Shanghai Cooperation Organization (SCO) as a dialogue partner". Government of Nepal – Ministry of Foreign Affairs. 22 March 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2018. สืบค้นเมื่อ 4 August 2018.
  17. "Armenia was granted a status of dialogue partner in the Shanghai Cooperation Organisation". Ministry of Foreign Affairs (Armenia). 16 April 2016.
  18. "SCO member states signed memorandums on granting SCO dialogue partner status to the Arab Republic of Egypt and the State of Qatar". Shanghai Cooperation Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-29. สืบค้นเมื่อ 16 September 2022.
  19. 20.0 20.1 "President Xi Jinping Attends the 22nd Meeting of the SCO Council of Heads of State and Delivers Important Remarks". Ministry of Foreign Affairs, PRC. สืบค้นเมื่อ 16 September 2022.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]