กลุ่มวิแชกราด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มวิแชกราด
  • Visegrádská skupina (เช็ก)
  • Grupa Wyszehradzka (โปแลนด์)
  • Vyšehradská skupina (สโลวัก)
  • Visegrádi Együttműködés (ฮังการี)
ตราสัญลักษณ์ของกลุ่มวิแชกราด
ตราสัญลักษณ์
  ประเทศในกลุ่มวิแชกราด
สมาชิก
ผู้นำ
ฮังการี
สถาปนา15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991
พื้นที่
• รวม
533,615 ตารางกิโลเมตร (206,030 ตารางไมล์)
ประชากร
• 2019 ประมาณ
เพิ่มขึ้น 63,845,789[1]
120.0 ต่อตารางกิโลเมตร (310.8 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2019 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 2.226 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] (อันดับที่ 13)
เพิ่มขึ้น 34,865 ดอลลาร์สหรัฐ[3]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2019 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.118 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
เพิ่มขึ้น 17,511 ดอลลาร์สหรัฐ[3]
เว็บไซต์
www.visegradgroup.eu แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

กลุ่มวิแชกราด (เช็ก: Visegrádská skupina; โปแลนด์: Grupa Wyszehradzka; สโลวัก: Vyšehradská skupina; ฮังการี: Visegrádi Együttműködés) หรือที่รู้จักกันในชื่อ วิแชกราด 4 (อังกฤษ: Visegrád Four) และ วี4 (V4) เป็นพันธมิตรทางการเมืองและวัฒนธรรมระหว่างรัฐสี่รัฐในยุโรปกลาง ได้แก่ เช็กเกีย โปแลนด์ ฮังการี และสโลวาเกีย[4] (ซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปและองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการทหาร วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และพลังงานซึ่งกันและกัน และผลักดันการรวมกลุ่มของตนเข้ากับสหภาพยุโรป[5]

กลุ่มวิแชกราดมีจุดเริ่มต้นมาจากการประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำจากเชโกสโลวาเกีย ฮังการี และโปแลนด์ซึ่งจัดขึ้นในเมืองปราสาทวิแชกราดในฮังการี[6] เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 วิแชกราดได้รับเลือกให้จัดการประชุมครั้งนั้นในฐานะที่เป็นสถานที่ที่จัดการประชุมใหญ่ระหว่างพระเจ้ายังแห่งโบฮีเมีย, พระเจ้ากาโรยที่ 1 แห่งฮังการี และพระเจ้ากาชีมีแยชที่ 3 แห่งโปแลนด์ใน ค.ศ. 1335

หลังการยุบเชโกสโลวาเกียใน ค.ศ. 1993 สาธารณรัฐเช็ก (เช็กเกีย) และสโลวาเกียได้กลายเป็นสมาชิกเอกเทศของกลุ่มวิแชกราด ทำให้จำนวนสมาชิกในกลุ่มเพิ่มจากสามเป็นสี่ประเทศ จากนั้นสมาชิกทั้งหมดในกลุ่มวิแชกราดได้เข้าร่วมสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2004

ผู้นำคนปัจจุบัน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Population on 1 January". ec.europa.eu/eurostat. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 25 October 2019.
  2. "World Economic Outlook Database, April 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 10 September 2019.
  3. 3.0 3.1 3.2 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.
  4. "The Visegrad Group: Czech Republic, Hungary, Poland and Slovakia | About the Visegrad Group". 15 August 2006.
  5. "The Bratislava Declaration of the Prime Ministers of the Czech Republic, the Republic of Hungary, the Republic of Poland and the Slovak Republic on the occasion of the 20th anniversary of the Visegrád Group". Official web portal of the Visegrád Group. 17 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2014.
  6. Engelberg, Stephen (17 February 1991). "Three Eastern European Leaders Confer, Gingerly". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 11 April 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]