สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
การเข้าร่วมในสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์
วันลงนาม1 กรกฎาคม 2511
ที่ลงนามนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
วันมีผล5 มีนาคม 2513
เงื่อนไขสหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและรัฐผู้ลงนามอื่นอีก 40 รัฐให้สัตยาบัน
ภาคี190
ผู้ที่มิใช่ภาคี ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล ปากีสถาน และเซาท์ซูดาน
ผู้เก็บรักษารัฐบาลสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
ภาษาอังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส สเปนและจีน

สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (อังกฤษ: Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons หรือเรียกทั่วไปว่า Non-Proliferation Treaty หรือ NPT) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกระจายของอาวุธนิวเคลียร์และเทคโนโลยีอาวุธ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ และเพื่อผลักดันเป้าหมายการบรรลุการลดอาวุธนิวเคลียร์และการลดกำลังรบโดยทั่วไปและสมบูรณ์[1]

สนธิสัญญาฯ เปิดให้ลงนามในปี 2511 มีผลใช้บังคับในปี 2513 วันที่ 11 พฤษภาคม 2538 มีการขยายสนธิสัญญาฯ ขยายเวลาไปอย่างไม่มีกำหนด มีประเทศที่ปฏิบัติตาม NPT มากกว่าความตกลงจำกัดอาวุธและลดกำลังรบอื่นใด อันเป็นหลักฐานความสำคัญของสนธิสัญญาฯ[1] มี 191 รัฐเข้าร่วมสนธิสัญญาฯ แม้ว่าเกาหลีเหนือ ซึ่งเห็นชอบ NPT ในปี 2528 แต่ไม่เคยปฏิบัติตาม โดยประกาศถอนตัวในปี 2546[2] มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติสี่รัฐไม่เคยเข้าร่วม NPT ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล ปากีสถานและเซาท์ซูดาน

สนธิสัญญาดังกล่าวรับรองรัฐอาวุธนิวเคลียร์ห้ารัฐ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเป็นสมาชิกถาวรห้าประเทศแห่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย) สี่รัฐอื่นที่ทราบหรือเชื่อว่าครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถานและเกาหลีเหนือทดสอบอย่างเปิดเผยและประกาศว่าตนครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ฝ่ายอิสราเอลมีนโยบายปกปิดโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของตน

NPT ประกอบด้วยคำปรารภและ 11 ข้อ แม้ไม่มีการแสดงมโนทัศน์ "เสา" อยู่ที่ใดใน NPT กระนั้น บางครั้งมีการตีความสนธิสัญญาว่าเป็นระบบสามเสา ซึ่งส่อความความสมดุลระหว่างเสา ดังนี้

  1. การไม่แพร่ขยาย
  2. การลดอาวุธ
  3. สิทธิการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์อย่างสันติ[3]

NPT มักถูกมองโดยยึดการต่อรองศูนย์กลาง คือ "รัฐมิใช่อาวุธนิวเคลียร์ตาม NPT ตกลงว่าจะไม่ได้มาซึ่งอาวุธนิวเคลียร์และเพื่อเป็นการตอบแทน รัฐอาวุธนิวเคลียร์ NPT ตกลงแบ่งประโยชน์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติและแสวงการลดอาวุธนิวเคลียร์โดยมุ่งกำจัดคลังแสงนิวเคลียร์ของตนในบั้นปลาย"[4] มีการทบทวนสนธิสัญญาดังกล่าวทุกห้าปีในการประชุมเรียก การประชุมทบทวนของภาคีสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ แม้เดิมเข้าใจว่าสนธิสัญญามีระยะเวลาจำกัด 25 ปี แต่ภาคีผู้ลงนามตัดสินใจเป็นมติเห็นพ้องให้ขยายสนธิสัญญาอย่างไม่มีกำหนดและโดยปราศจากเงื่อนไขระหว่างการประชุมทบทวนในนครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2538 เป็นผลจากความพยายามของรัฐบาลสหรัฐที่สำเร็จ โดยมีเอกอัครราชทูต โทมัส เกรแฮม จูเนอร์ เป็นผู้นำ

เมื่อมีการเสนอ NPT นั้น มีการทำนายว่าจะมีรัฐอาวุธนิวเคลียร์ 25–30 รัฐใน 20 ปี ทว่า กว่าสี่สิบปีให้หลัง มีห้ารัฐที่ไม่เป็นภาคี NPT และรวมอีกสี่รัฐเท่านั้นที่เชื่อว่าครอบครองอาวุธนิวเคลียร์[4] มีการใช้มาตรการเพิ่มหลายอย่างเพื่อเสริมความเข้มแข็งของ NPT และระบอบการไม่แพร่ขยายนิวเคลียร์ที่กว้างกว่า และทำให้รัฐยากที่จะได้มาซึ่งสมรรถนะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งรวมการควบคุมการส่งออกของกลุ่มผู้จัดหานิวเคลียร์และมาตรการพิสูจน์ยืนยันที่มีการเสริมของพิธีสารเพิ่มเติมของ IAEA

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "UNODA - Non-Proliferation of Nuclear Weapons (NPT)". un.org. สืบค้นเมื่อ 2016-02-20.
  2. "Nuclear Non-Proliferation Treaty (NPT)" (PDF). Defense Treaty Inspection Readiness Program - United States Department of Defense. Defense Treaty Inspection Readiness Program. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-11. สืบค้นเมื่อ 19 June 2013.
  3. Ambassador Sudjadnan Parnohadiningrat, 26 April 2004, United Nations, New York, Third Session of the Preparatory Committee for the 2005 Review Conference of the Parties to the Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons, furnished by the Permanent Mission of the Republic of Indonesia to the United Nations (indonesiamission-ny.org) Archived พฤศจิกายน 20, 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  4. 4.0 4.1 Graham, Jr., Thomas (November 2004). "Avoiding the Tipping Point". Arms Control Association.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]