พระเศวตสุรคชาธารฯ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเศวตสุรคชาธาร
พระเศวตสุรคชาธารฯ
ฉายาอื่น ๆคุณพระเศวตฯ เล็ก
สปีชีส์ช้าง
สายพันธุ์ช้างอินเดีย
เพศผู้
เกิดเบี้ยว
พ.ศ. 2511
ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ประเทศไทย
ตายพ.ศ. 2520 (9 ปี)​
ประเทศไทย
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2511–2520
เป็นที่รู้จักสำหรับช้างเผือกประจำรัชกาลที่ 9
ยศพระ
เจ้าของเจ๊ะเฮง หะระตี (พ.ศ. 2511)
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร​ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2511)

พระเศวตสุรคชาธารฯ หรือ คุณพระเศวตฯ เล็ก เป็นช้างพลาย เผือก เกิดในป่าตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดชเสด็จราชดำเนินทรงประกอบพิธีสมโภชขึ้นระวาง ที่จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2511 พระราชทานนามว่า [1]

พระเศวตสุรคชาธาร

บรมนฤบาลสวามิภักดิ์
ศุภลักษณเนตราธิคุณ ทศกุลวิศิษฏพรหมพงศ์
อดุลยวงศ์ตามพหัตถี ประชาชนะสวัสดีวิบุลยศักดิ์
อัครสยามนาถสุรพาหน

มงคลสารเลิศฟ้า ๚

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช บันทึกว่า คุณพระเศวตเล็ก ถูกพบโดยนายเจ๊ะเฮง หะระตี กำนันตำบลการอ โดยโขลงช้างเดินทางเข้ามาใกล้หมู่บ้านในเวลากลางคืน พอตอนเช้าก็พบเห็นลูกช้างพลัดฝูงอยู่ใต้ถุนบ้าน สันนิษฐานว่าแม่ช้างจะรู้ว่าลูกช้างตัวนี้เป็นช้างสำคัญ และนำมาส่งที่หมู่บ้าน เพื่อเข้ามาสู่พระบารมี ตั้งแต่ยังไม่หย่านม [2] เมื่อนายเจ๊ะเฮงได้เลี้ยงดูลูกช้างนั้นไว้ วันหนึ่งมีสุนัขตัวเมียป่วยหนักใกล้ตาย ได้กระเสือกกระสนมาบริเวณที่คุณพระเศวตเล็กกำลังอาบน้ำอยู่ ได้กินน้ำที่ใช้อาบตัวคุณพระอาการป่วยก็หายไป คงเหลือเพียงอาการปากเบี้ยว และกลายเป็นสุนัขที่คอยคลอเคลียติดตามคุณพระเศวตเล็กตลอดมา ได้ชื่อว่า "เบี้ยว"

ทางสำนักพระราชวัง โดยพระราชวังเมือง (ปุ้ย คชาชีวะ) เจ้ากรมช้างต้นได้ตรวจสอบ พบว่าลูกช้างนั้นมีมงคลลักษณะถูกต้องตามคชลักษณศาสตร์ อยู่ในพรหมพงศ์ ตระกูลช้าง 10 หมู่ ชื่อ “ดามพหัตถี” [3] พระเศวตสุรคชาธารนับเป็นช้างต้นช้างที่สามในรัชกาลปัจจุบัน พ.ต.อ.ศิริ คชหิรัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2511 [4] หลังจากพิธีสมโภชขึ้นระวาง และย้ายไปยืนโรงที่โรงช้างต้น พระราชวังดุสิต นางเบี้ยวก็ได้ติดตามมาด้วย และออกลูกหลานติดตามคุณพระเศวตเล็ก อยู่ภายในพระราชวังดุสิต อีกหลายสิบตัว [2]

พระเศวตสุรคชาธาร เคยเป็นพระสหายในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อยังทรงพระเยาว์ ได้ตามเสด็จราชดำเนินแปรพระราชฐานไปยังวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อยู่เสมอ

พระเศวตสุรคชาธาร ได้ล้มลง ณ โรงช้างต้นเมื่อ พ.ศ. 2520 [5]

อ้างอิง[แก้]

  1. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. ๘๐ พรรษา มหามงคล. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บันทึกสยาม, พ.ศ. 2550. 224 หน้า. ISBN 978-974-09-4848-3
  2. 2.0 2.1 คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์, คอลัมน์ "ข้าวนอกนา", 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
  3. ช้างเผือกคู่พระบารมี
  4. คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. ช้างในชีวิตของผม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000, พ.ศ. 2549. 112 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-690-514-7
  5. "สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม 17". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-09. สืบค้นเมื่อ 2008-01-19.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]