ข่าวช่อง 7HD
ฝ่ายข่าว ช่อง 7HD (อังกฤษ: CH7HD News) เป็นหน่วยงานย่อยของบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด หรือช่อง 7HD ที่ทำหน้าที่ผลิตข้อมูลข่าวสารทุกประเภท ในรูปของเนื้อหาข่าวสำหรับออกอากาศทางโทรทัศน์ ภาพบรรยากาศพิธีกรรม, การแข่งขันกีฬา และบรรยากาศอื่น ๆ และภาพวิดีโอข่าวสำหรับโทรทัศน์ หรือภาพนิ่งในบางกรณี เพื่อสนับสนุนกับรายการข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบันที่สถานีฯ ผลิตขึ้นเอง รวมถึงสื่อประเภทอื่น ๆ ของช่อง 7 เอชดี เช่น เว็บไซต์ หรือสื่อสังคมออนไลน์ของสถานีฯ ก่อตั้งขึ้นในช่วงระยะแรกของการก่อตั้งสถานีฯ
การบรรยายภาษามือ
[แก้]สืบเนื่องจากที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
สำหรับผู้พิการทางการได้ยินบริเวณส่วนล่างของหน้าจอเป็นครั้งแรกในราวปี พ.ศ. 2556 เพื่อให้ผู้พิการทางการได้ยินสามารถรับชมสารประโยชน์จากโทรทัศน์ได้เช่นเดียวกับคนปกติ ในช่วงข่าวภาคเที่ยงวันจันทร์ถึงวันศุกร์, ข่าวภาคค่ำช่วงที่ 1 ทุกวัน และข่าวภาคค่ำช่วงที่ 2 เฉพาะช่วงสะเก็ดข่าวและช่วงฝนฟ้าอากาศ ต่อมาจึงดำเนินการเพิ่มเติมในรายการเช้านี้ที่หมอชิตและสนามข่าว 7 สี รวมถึงรายการ 7 สีช่วยชาวบ้าน ตามลำดับ ถือเป็นสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีช่องที่ 3 ของไทยที่ดำเนินการต่อจากเอ็นบีที 2 เอชดีและไทยพีบีเอส โดยในระยะแรกใช้กรอบสี่เหลี่ยมด้านขนานเบ้ขวาสีขาว มีแถบสีแดงสองแถบคาดทางขวา ต่อมาตั้งแต่ราวกลางปี พ.ศ. 2556 ใช้กรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้งสีฟ้าอ่อน จนถึงปัจจุบัน โดยถ่ายทอดการบรรยาย ผ่านล่ามภาษามือจำนวน 6 คน ซึ่งประกอบด้วย กรรชา ธนะพันธ์, เพลงรบ ฐิติกุลดิลก, วรรณรัตน์ พวงมาลัย, ศศิธร ทรัพย์วัฒนไพศาล, ศักดา โกมลสิงห์ และสุจิตรา พิณประพัฒน์
ทั้งนี้ ก่อนหน้านั้น ในปี พ.ศ. 2529 ทางช่อง 7 เคยนำเสนอกรอบล่ามผู้บรรยายภาษามือในรายการ พุทธประทีป ซึ่งออกอากาศร่วมกับ ททบ.5
ศูนย์ข่าวภูมิภาค
[แก้]ฝ่ายข่าว ช่อง 7HD ก่อตั้งศูนย์ข่าวภูมิภาคขึ้น เป็นแห่งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2516 เพื่อรายงานข่าวเหตุการณ์ปัจจุบันในแต่ละท้องถิ่น ให้ผู้ชมทั่วประเทศรับทราบพร้อมกัน ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 9 ศูนย์ แบ่งเป็นศูนย์ข่าวหลัก ซึ่งมีห้องออกอากาศข่าว พร้อมระบบส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม กลับมายังฝ่ายข่าวส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ศูนย์คือ ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดนครราชสีมา, ภาคตะวันออกที่จังหวัดระยอง และภาคใต้ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กับศูนย์ข่าวย่อย ซึ่งมีเพียงสำนักงานกองบรรณาธิการเท่านั้นอีก 5 ศูนย์คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดอุบลราชธานี, ภาคกลางที่จังหวัดนครสวรรค์ และภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดภูเก็ต
อัตลักษณ์
[แก้]กราฟิกเปิดรายการข่าว
[แก้]เอกลักษณ์สำคัญของรายการข่าวทางช่อง 7 สี คือ รูปแบบเฉพาะของตัวอักษรคำว่า ข่าว ซึ่งออกแบบขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2533[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งมีแรงบันดาลใจมาจากไตเติ้ลละครเรื่อง ละอองดาว เมื่อปี พ.ศ. 2534 โดยมีการดัดแปลงเล็กน้อยในปี พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2551 และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
- พ.ศ. 2510 - 2523 : ยังไม่ทราบกราฟิกเปิดรายการข่าว
- พ.ศ. 2523 - 2528 : กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- พ.ศ. 2529 - กลางปี พ.ศ. 2531 : ภาพตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ อยู่ทางซ้ายมือ ต่อด้วยตัวอักษรคำว่า "ข่าว" สีเหลือง พื้นหลังภาพนิ่งเป็นสีฟ้ามีวงกลมประกายบนพื้น 5 ดวง ใช้จนถึงปี พ.ศ. 2533 (ชมดูตัวอย่าง) ส่วนใช้ในช่วงข่าวภาคค่ำ เพิ่มตัวอักษรคำว่า "19.30 น." หรือ "20.00 น." (ชมดูตัวอย่าง)
- กลางปี พ.ศ. 2531 - เมษายน พ.ศ. 2533 : มีอักษรคำว่า "ข่าว" สีเหลืองและน้ำตาล ด้านขวาเป็นตราสัญลักษณ์ของสถานี ด้านล่างเป็นตัวอักษรคำว่า "19.30 น." สีเหลืองและน้ำตาล พื้นหลังเป็นตากล้องของสถานีเอง อีกแบบคือ ด้านล่างเป็นตัวอักษรคำว่า "20.00 น." (ชมดูตัวอย่าง)
- เมษายน พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535 กราฟิกมี 2 แบบคือ (ใช้ของ Telezign)
- ข่าวเด็ด - ภาพตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ อยู่ทางซ้ายมือ ต่อด้วยตัวอักษรคำว่า "ข่าว" สีเหลือง พร้อมเงาสองชั้น ทั้งสองสิ่งอยู่ในมุมมองเงยขึ้น พื้นหลังเป็นเงาเมฆสีดำเทา ใช้จนถึงปี พ.ศ. 2538 (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคค่ำ - ภาพตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ อยู่ทางซ้ายมือ ต่อด้วยตัวอักษรคำว่า "ข่าว" สีเหลือง ด้านล่างเป็นตัวอักษรคำว่า "19.30 น." สีเหลือง ซ้อนทับอยู่บนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นหลังเป็นสีดำ (ชมดูตัวอย่าง)
- พ.ศ. 2538 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 : ภาพตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ อยู่ทางซ้ายมือ ต่อด้วยตัวอักษรคำว่า "ข่าว" สีเทาเงิน ซ้อนทับอยู่บนรูปแผนที่โลกซึ่งเป็นรูปวงกลม 4 สี ได้แก่ สีเขียว แดง น้ำเงิน และขาว และมีเสาส่งสัญญาณโทรทัศน์ซ้อนทับอยู่กึ่งกลางพื้นหลัง (ชมดูตัวอย่าง)
- พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2540 : ภาพตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ (ใช้ของ Telezign) อยู่ทางซ้ายมือ ต่อด้วยตัวอักษรคำว่า "ข่าว" สีเทาเงิน ซ้อนทับอยู่บนรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานเบ้ขวา พื้นหลังเป็นรูปร่างแผนที่โลกสีดำ เดินเส้นแบบ ไฟนีออนสีฟ้า (ชมดูตัวอย่าง)
- พ.ศ. 2541 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 : ภาพตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ (ใช้ของ Telezign) อยู่ทางซ้ายมือ ต่อด้วยตัวอักษรคำว่า "ข่าว" สีเงิน ด้านล่างเป็นตัวอักษรคำว่า "ภาคค่ำ" สีเงิน พื้นหลังเป็นสีดำ วัตถุทั้งหมดมีแสงทั้ง 7 สีเปล่งออกมาเป็นรัศมีล้อมรอบ (ชมดูตัวอย่าง)
- 1 มกราคม พ.ศ. 2543 - 20 เมษายน พ.ศ. 2551 : กราฟิกมีสี่แบบคือ (ใช้ของ Novocom)
- ข่าวเด็ด - พื้นหลังเป็นสีเหลืองอ่อน มีอักษรคำว่า "ข่าว" สีเทาดำ ด้านขวาเป็นตราสัญลักษณ์ของสถานี ซ้อนทับอยู่บนเลข 2000 แต่ไตเติ้ลรูปแบบนี้เลิกใช้ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2544 โดยเปลี่ยนไปใช้แบบเดียวกันกับข่าวภาคค่ำ (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคค่ำ - ตัวอักษรคำว่า "ข่าว" สีเทาเงิน อยู่ทางซ้ายมือ ต่อด้วยภาพตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ พื้นหลังเป็นลายเมฆสีเทา พร้อมทั้งเสาส่งโทรทัศน์ และจานรับสัญญาณดาวเทียม กราฟิกนี้เริ่มใช้ภายหลังจากที่สถานีได้มีการปฏิรูปการนำเสนอข่าวครั้งใหญ่ เพื่อให้ทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงของโลก (ชมดูตัวอย่าง 1) (ชมดูตัวอย่าง 2) ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 ได้มีการแก้ไขเล็กน้อย โดยเปลี่ยนพื้นหลังเป็นลายเมฆสีส้ม และเพิ่มสี่เหลี่ยมด้านขนานเบ้ขวา 3 สี ซ้อนทับอยู่หลังอักษรคำว่าข่าว ปรับขนาดตราสัญลักษณ์ของสถานีให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อย และเพิ่มความเรืองแสงให้ตราสัญลักษณ์ และได้ยกเลิกไตเติ้ลข่าวเด็ดแบบเดิม และใช้แบบเดียวกันกับข่าวภาคค่ำตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคเที่ยง - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคเช้า - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- 21 เมษายน พ.ศ. 2551 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 : กราฟิกมีสี่แบบคือ
- ข่าวเด็ด - เป็นภาพจานดาวเทียม และมีแท่งสี่เหลี่ยมคล้ายตึก เคลื่อนไหวผ่านหน้าจอไป จากนั้น ภาพตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ อยู่ทางซ้ายมือ ต่อด้วยตัวอักษรคำว่า "ข่าว" สีขาวโปร่งแสง ปรากฏขึ้นพร้อมกัน พื้นหลังเป็นสีขาว มีแสงสีรุ้งส่องออกมาจากกลางจอ (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคค่ำ - มีภาพจานดาวเทียมหลังเป็นภาพข่าว 2 ภาพ: ภาพที่ 1 อยู่ข้างบนซ้ายๆ ส่วนภาพที่ 2 อยู่ข้างล่างขวาๆ พื้นหลังเคลื่อนที่ไปมามีเส้นวิ่งรอบลูกโลก 3 เส้นและเริ่มมีโลโก้ช่อง 7 และเขียนชื่อว่า "ข่าว" โผล่ขึ้นมาทีละอักษร (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคเที่ยง - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง
- เช้าข่าว 7 สี - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง
- 1 มกราคม พ.ศ. 2553 - 3 เมษายน พ.ศ. 2554 : กราฟิกมีสี่แบบคือ
- ข่าวเด็ด (ใช้จนถึงกลางปี พ.ศ. 2554) - เส้นวงกลมสามเส้นวิ่งมาจากมุมบนซ้ายขวาและส่วนล่างของจอภาพ เข้าซ้อนเหลื่อมรวมกันที่กลางจอภาพ แม่สีแสงในเส้นวงกลม ปรากฏขึ้นพร้อมตัวเลข 7 ตามรูปแบบตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ แล้วเบี่ยงออกไปทางขวาของจอภาพ พร้อมกับตัวอักษรคำว่า "ข่าว" สีเทาเงิน เบี่ยงออกจากเบื้องหลังตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ ไปทางซ้ายของจอภาพ ทั้งหมดอยู่บนพื้นหลัง ส่วนบนเป็นสีเทาดำ มีเส้นวงกลมตัดโค้งจากซ้ายล่างขึ้นไปทางขวาบนของจอภาพ ทางขวาสุดมีแสงสีฟ้าเข้ม ส่องขึ้นมาจากหลังขอบสีดำสะท้อนแสง มีข้อความ "BBTV Channel 7" เรียงขนานตลอดแนว ซึ่งเป็นส่วนล่างของจอภาพ มีขอบล่างสุดของภาพตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ เป็นแนวระหว่างส่วนบนและส่วนล่างของพื้นหลัง (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคค่ำ - ในรูปแบบที่ใช้จนถึงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553 ใช้รูปสี่เหลี่ยม สีเทาโปร่งแสง ซึ่งตัดออกเป็นลายเส้นโค้ง แบบตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ อยู่บริเวณข้างจอทางขวา พร้อมตัวเลข 7 แบบที่ปรากฏในตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ สีฟ้าเข้มโปร่งแสง วางอยู่บนส่วนกลางของรูปสี่เหลี่ยม ตามตำแหน่งในตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ โดยมีอักษรคำว่า "ข่าว" สีฟ้าเข้มโปร่งแสง วางซ้อนเหลื่อมออกไปทางซ้าย ส่วนล่างมีรูปสีเหลี่ยมสามชิ้น สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ทั้งหมดอยู่ในมุมมองจากล่างขวาเงยขึ้นสู่บนซ้าย (คล้ายกับมุมมองของตราสัญลักษณ์ของบริษัทผลิตภาพยนตร์ฮอลลีวูด ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ของประเทศสหรัฐอเมริกา) บนพื้นหลังสีดำ พร้อมส่องแสงสีรุ้งในแนวขนานกับพื้นสีเทา (ชมดูตัวอย่าง) ต่อมาตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553 จึงเปลี่ยนเป็นการแสดงภาพข่าว และภาพผู้ประกาศข่าวประจำวันนั้น ในรูปแบบนิทรรศการ (เลียนแบบ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ของประเทศอังกฤษ ใช้ในปี พ.ศ. 2552 - 2556) ต่อจากนั้น แสดงรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานเบ้ขวา สีเทาฟ้าโปร่งแสง ซึ่งตัดออกเป็นลายเส้นโค้ง แบบตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ อยู่บริเวณเบื้องขวาของจอภาพ มีแสงสีฟ้าส่องจากหลังไปหน้า พร้อมตัวเลข 7 แบบที่ปรากฏในตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ สีฟ้าเข้มทึบแสง วางอยู่บนส่วนกลางของรูปสี่เหลี่ยม ตามตำแหน่งในตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ โดยตัวอักษรคำว่า "ข่าว" สีเทาฟ้าทึบแสง อยู่หน้าลูกโลกสีฟ้าเข้มซ้อนหลังรูปสี่เหลี่ยมไปทางซ้าย ทั้งรูปสี่เหลี่ยมและลูกโลก วางอยู่บนพื้นสีฟ้าม่วง ทั้งหมดอยู่ในมุมมองหันไปทางขวาเล็กน้อย พื้นหลังเป็นภาพจอโทรทัศน์สีน้ำเงินเข้มจำนวนมาก (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคเที่ยง - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- เช้าข่าว 7 สี - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวดึก - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- 4 เมษายน พ.ศ. 2554 - 15 มกราคม พ.ศ. 2555 : กราฟิกมีสี่แบบคือ
- ข่าวเด็ด (กลางปี พ.ศ. 2554 - 2556) - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคค่ำ - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคเที่ยง - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- เช้าข่าว 7 สี - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- 16 มกราคม พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2556 : กราฟิกมีสี่แบบคือ
- ข่าวภาคค่ำ - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคเที่ยง - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- เช้าข่าว 7 สี - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- เคาะข่าวสุดสัปดาห์ - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- พ.ศ. 2556 - 24 เมษายน พ.ศ. 2557 : กราฟิกมีสามแบบคือ
- ข่าวเด็ด (ใช้จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558) - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคค่ำ - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคเที่ยง - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- 25 เมษายน พ.ศ. 2557 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 : กราฟิกมีสามแบบคือ
- ข่าวภาคค่ำ - เป็นภาพลูกโลกที่มีชื่อประเทศต่างๆ ติดอยู่ที่บริเวณลูกโลก และมีคำว่าข่าวสีขาว มีพื้นหลังสีแดง และมีสี่เหลี่ยมด้านขนานเบ้ขวา พร้อมตัวเลข 7 แบบที่ปรากฏในตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ ในลักษณะโปร่งแสง วางอยู่บนส่วนกลางของรูปสี่เหลี่ยม (ชมดูตัวอย่าง)
- เช้าข่าว 7 สี - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่ใช้ลักษณะเดียวกับข่าวภาคค่ำ (ชมดูตัวอย่าง)
- สนามข่าว 7 สี - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- 23 กุมภาพันธ์ 2558 - 29 กุมภาพันธ์ 2559 : กราฟิกมีห้าแบบคือ
- ข่าวเด็ด (1 กันยายน 2558 - 31 มกราคม 2559 ) - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคค่ำ - เป็นกราฟิกเสมือนแผ่นแก้วค่อยๆเคลื่อนไหวลักษณะคล้ายป้ายพลิก ต่อด้วยภาพสีฟ้า และมีคำว่าข่าวสีฟ้าโปร่งแสง มีพื้นหลังสีฟ้า พร้อมตัวเลข 7 แบบที่ปรากฏในตราสัญลักษณ์ของสถานีฯในสามเหลี่ยมด้านขนานสีฟ้าอ่อน (ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้ม) (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคเที่ยง - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- เจาะประเด็นข่าวค่ำ (18 พฤษภาคม 2558 - 29 กุมภาพันธ์ 2559 ) - เป็นกราฟิก ตัวเลข 7 ในรูปสี่เหลี่ยมสีแดง (ซึ่งมาจากสัญลักษณ์เดิมของรายการ เจาะประเด็น) แล้วค่อยๆ เคลื่อนไหวลักษณะคล้ายตัวเลข 7 พลิกหงาย หลังจากนั้นคำว่า ประเด็น ค่อยเคลื่อนตัวจากขวาไปซ้าย และมีคำว่า "เจาะประเด็นข่าวค่ำ" มาอยู่ที่หน้าจอโดยพร้อมเพรียงกัน โดยเลข 7 และ ประเด็น อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง และคำว่า "ข่าวค่ำ" มีการดัดแปลงเล็กน้อยเช่นกัน (ชมดูตัวอย่าง)[1]
- 7 สีช่วยชาวบ้าน - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- 1 มีนาคม 2559 - 26 พฤศจิกายน 2560 : กราฟิกมีสามแบบคือ
- ข่าวเด็ด (1 กุมภาพันธ์ 2559 - 2 พฤษภาคม 2564 ) - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคค่ำ (1 มีนาคม 2559 - 2 พฤษภาคม 2564 ) - เป็นกราฟิกที่มีลักษณะเข้าชุดกับกราฟิกของเจาะประเด็นข่าวค่ำ ในช่วงท้ายปรากฏเค้าโครงคำว่า "ข่าวค่ำ" ซึ่งมาจากเจาะประเด็นข่าวค่ำ ในลักษณะใส และคำว่ามีข่าวสีฟ้าโปร่งแสง มีพื้นหลังสีฟ้า พร้อมตัวเลข 7 แบบที่ปรากฏในตราสัญลักษณ์ของสถานีฯในสามเหลี่ยมด้านขนานน้ำเงินเข้ม ปรากฏพร้อมกัน (ชมดูตัวอย่าง)
- เจาะประเด็นข่าวค่ำ - เป็นกราฟิกแรกของรายการ ผสมกับกราฟิกแท่งเสมือนคล้ายอาคารค่อยๆเคลื่อนไหว (นำมาจากกราฟิกเปิดช่วงข่าวเด็ด 7 สี) (ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นเสาส่งโทรทัศน์ และสถานที่สำคัญ) และมีคำว่า "เจาะประเด็นข่าวค่ำ" มาอยู่ที่หน้าจอโดยพร้อมเพรียงกัน โดยเลข 7 และประเด็น อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง และคำว่า "ข่าวค่ำ" มีการดัดแปลงเล็กน้อยเช่นกัน (ชมดูตัวอย่าง)
- ห้องข่าวภาคเที่ยง (1 กันยายน 2558 - 24 พฤศจิกายน 2560) - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง1) (ชมดูตัวอย่าง2)
- 27 พฤศจิกายน 2560 - 3 มิถุนายน 2561 : กราฟิกมี 2 แบบคือ
- ห้องข่าวภาคเที่ยง - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- เจาะประเด็นข่าวค่ำ - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- สนามข่าว 7 สี - กราฟิกเปิดรายการที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- 4 มิถุนายน 2561 - 30 เมษายน 2564
- ห้องข่าวภาคเที่ยง - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวดึก 7HD - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- สนามข่าว 7 สี - (ชมดูตัวอย่าง)
- 4 มิถุนายน 2561 - 28 กุมภาพันธ์ 2564 : กราฟิกมี 1 แบบคือ
- เจาะประเด็นข่าวค่ำ - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- 5 เมษายน 2563 - 30 พฤษภาคม 2564
- สนามข่าว 7 สี - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- สนามข่าว เสาร์-อาทิตย์ (10 เมษายน 2563 - 28 มกราคม 2567) - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- อาทิตย์ติดข่าว - กราฟิดเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- 1 มีนาคม 2564 - 28 มกราคม 2567 : กราฟิกมี 1 แบบคือ
- เจาะประเด็นข่าว 7 เอชดี - กราฟิกเปิดรายการข่าวรูปแบบเดิมที่มีคำว่า “7hd” แทนคำว่า “ค่ำ” (ชมดูตัวอย่าง)
- 3 พฤษภาคม 2564 - 29 กรกฎาคม 2565 : โดยการปรับเปลี่ยนนี้ จะเป็นการเปลี่ยนเป็นกราฟิกใหม่ทั้งหมด โทนสีหลักคือ สีฟ้า น้ำเงิน และเหลือง โดยข้อสังเกตก็คือ กราฟิกทุกรายการ จะมีลูกโลกประกอบอยู่กับทุกอัน
- เช้าข่าว 7 สี - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ห้องข่าวภาคเที่ยง - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวภาคค่ำ (3 พฤษภาคม 2564 - 31 มกราคม 2567) - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ข่าวเด็ด (3 พฤษภาคม 2564 - 31 มกราคม 2567) - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- สนามข่าว 7 สี - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- เคลียร์ข่าวชัด 7HD - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- 7 สีช่วยชาวบ้าน - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- 1 สิงหาคม 2565 - 31 มกราคม 2567
- เช้าข่าว 7 สี - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- เช้านี้ที่หมอชิต (1 สิงหาคม - 30 ธันวาคม 2565) - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- สนามข่าว 7 สี - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- ห้องข่าวภาคเที่ยง - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง (ชมดูตัวอย่าง)
- 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2567: กราฟิกมี 1 แบบคือ
- เช้าข่าว 7 สี - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง
- สนามข่าว 7 สี และ สนามข่าว เสาร์-อาทิตย์ - กราฟิกเปิดรายการข่าวที่จัดทำเอง
- ห้องข่าวภาคเที่ยง - กราฟิกเปิดรายการที่จัดทำเอง
- ข่าวเด็ด 7 สี (1 กุมภาพันธ์ 2567 - ปัจจุบัน) - กราฟิกเปิดรายการที่จัดทำเอง
- ข่าวภาคค่ำ (1 กุมภาพันธ์ 2567 - ปัจจุบัน) - กราฟิกเปิดรายการที่จัดทำเอง
- ประเด็นเด็ด 7 สี (1 กุมภาพันธ์ 2567 - ปัจจุบัน) - กราฟิกเปิดรายการที่จัดทำเอง
- 3 มิถุนายน 2567 - ปัจจุบัน
- เช้านี้ที่หมอชิด - กราฟิกเปิดรายการที่จัดทำเอง
- สนามข่าว 7 สี และ สนามข่าว เสาร์-อาทิตย์ - กราฟิกเปิดรายการที่จัดทำเอง
นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำฉากหลังระหว่างนำเสนอข่าวภาคค่ำช่วงที่ 1 เปลี่ยนไปตามเทศกาลสำคัญต่าง ๆ อีกด้วย โดยใช้ในช่วงแรกเริ่มที่มีการนำระบบโรงถ่ายเสมือนจริง (Virtual Studio) ของวิซอาร์ที มาใช้
เพลงประกอบรายการข่าว
[แก้]- พ.ศ. 2510 - 2528 : เพลงประกอบมีสองแบบคือ
- ช่วงเพลงเปิด - เพลงมาร์ชประกอบรายการข่าวที่จัดทำเอง
- ช่วงพักโฆษณาและเข้ารายการ (เลิกใช้แล้ว) - Jingle เพลงประกอบชุด Determination ผู้จัดแต่งเพลงโดย L. Owens อัลบั้ม NM022 Corporate Achievement สังกัด Network Music ปี พ.ศ. 2525 (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ก่อนหน้านั้นใช้ใน เจาะประเด็นข่าวค่ำ (ข่าวภาคค่ำช่วงที่ 1 (พ.ศ. 2541 - 2543) (พ.ศ. 2547 - 2558)) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ในก่อนหน้านั้น ใช้ในช่วงข่าวเด็ด (พ.ศ. 252X - 2544) ข่าวภาคเช้า (พ.ศ. 253X - 2544) ข่าวภาคเที่ยง (พ.ศ. 2536 - 2544) และข่าวภาคค่ำ (พ.ศ. 2529 - 2561 (ยกเว้นช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2541 - 2543) (พ.ศ. 2547 - 2559)))
- พ.ศ. 2529 - เมษายน พ.ศ. 2533 : เพลงประกอบชุด Alte Kameraden ผู้จัดแต่งเพลงโดย Carl Teike เป็นเพลงมาร์ชทหารของประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2432 (ใช้ในเพลงประกอบเปิดและปิดรายการข่าวภาคค่ำ และใช้ในข่าวในพระราชสำนักจนถึงปี พ.ศ. 2544)
- เมษายน พ.ศ. 2533 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2544 : เพลงประกอบมีสี่แบบคือ
- ข่าวภาคเช้า (พ.ศ. 2533 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2544) - เพลงประกอบชุด "WXIA 1978 News Theme" โดย Peters Communications (เพลงประกอบรายการข่าวของช่อง 11 Alive (WXIA-TV) เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งในเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2523 - 2525)
- ข่าวภาคเที่ยง (พ.ศ. 25xx - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558) - เพลงประกอบชุด Emergency Power อัลบั้ม PG111 Power Tracks II สังกัด Production Garden Music
- ข่าวภาคค่ำ (เพลงเปิด) (เมษายน พ.ศ. 2533 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2544) - เพลงประกอบชุด The Screamer ศิลปิน Curt Cress อัลบั้ม Avanti สังกัด Warner Music ประเทศเยอรมนี ปี พ.ศ. 2526
- ข่าวภาคค่ำ (เพลงปิด) (เมษายน พ.ศ. 2533 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2544) - เพลงประกอบชุด Spacewars B (without effects) ผู้จัดแต่งเพลงโดย Clark Gault อัลบั้ม NM001 Space Wars สังกัด Network Music ปี พ.ศ. 2522
- 1 เมษายน พ.ศ. 2544 - 31 มกราคม พ.ศ. 2559 : เพลงประกอบมีห้าแบบคือ
- ข่าวเด็ด - Jingle ประกอบรายการข่าวรูปแบบใหม่ที่ดัดแปลงมาจากเพลงประกอบชุด Determination ผู้จัดแต่งเพลงโดย L. Owens อัลบั้ม NM022 Corporate Achievement สังกัด Network Music ปี พ.ศ. 2525
- ข่าวเช้า (ใช้จนถึงปี พ.ศ. 2549) / เช้าด่วนเด็ด 7 สี (พ.ศ. 2549 - 2552) / เช้าข่าว 7 สี (พ.ศ. 2552 - 2559) - เพลงประกอบรายการข่าวที่จัดทำเอง
- ข่าวภาคเที่ยง (ใช้จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558) - เพลงประกอบรายการข่าวรูปแบบเดิมที่ใช้เดียวกับรุ่นปี พ.ศ. 25xx - 2558
- ข่าวภาคค่ำ - เพลงประกอบรายการข่าวที่จัดทำเอง (ก่อนหน้านั้นใช้ใน เจาะประเด็นข่าวค่ำ (ข่าวภาคค่ำช่วงที่ 1 (พ.ศ. 2547 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558) (4 สิงหาคม พ.ศ. 2558 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561) ปัจจุบันใช้ในข่าวภาคค่ำ (ช่วงที่ 2) (พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน) เฉพาะเพลงปิดรายการข่าว (ยกเว้นเพลงเปิดรายการข่าว (พ.ศ. 2547 - 31 มกราคม พ.ศ. 2559)))
- ข่าวในพระราชสำนัก ( 1 เมษายน พ.ศ. 2544 - 31 มกราคม พ.ศ. 2559) เพลงประกอบรายการข่าวที่จัดทำเองดัดแปลงจากเพลงเขมรทรงพระดำเนินซึ่งเป็นเพลงที่บรรเลงโดยดนตรีไทย
- 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน : เพลงประกอบมีห้าแบบคือ
- ข่าวเด็ด - Jingle ประกอบรายการข่าวรูปแบบใหม่ที่ดัดแปลงมาจากเพลงประกอบชุด Determination ผู้จัดแต่งเพลงโดย L. Owens อัลบั้ม NM022 Corporate Achievement สังกัด Network Music ปี พ.ศ. 2525
- เช้าข่าว 7 สี - เพลงประกอบรายการข่าวรูปแบบใหม่ที่ใช้เดียวกับรุ่นปี พ.ศ. 2544 - 2559 มาจัดทำเอง
- ห้องข่าวภาคเที่ยง (1 กันยายน พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน) - ใช้จนถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นเพลงประกอบชุด Endzone ผู้จัดแต่งเพลงโดย Darko Saric อัลบั้ม MusicBOX Collection 1 สังกัด Digital Juice, Inc. ต่อมาตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน เป็นเพลงประกอบรายการข่าวรูปแบบใหม่ที่ดัดแปลงเพลงมาจากรุ่นปี พ.ศ. 25xx - 2558
- ข่าวภาคค่ำ (ช่วงที่ 2) - เพลงประกอบรายการข่าวรูปแบบใหม่ที่ดัดแปลงมาจากฉบับรุ่นปี พ.ศ. 2544 - 2559
- ข่าวในพระราชสำนัก - เพลงประกอบรายการข่าวรูปแบบใหม่ที่ดัดแปลงมาจากเพลงเขมรทรงพระดำเนินฉบับรุ่นปี พ.ศ. 2544 - 2559 ให้ทันสมัยและสมพระเกียรติ
ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว
[แก้]ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในปัจจุบันที่มีชื่อเสียง
[แก้]- สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา (กาย)
- เปรมสุดา สันติวัฒนา (ปุ้ม)
- กมลาสน์ เอียดศรีชาย (บี)
- ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร (อาย)
- ทิน โชคกมลกิจ (ทิน)
- เจษฎา อุปนิ (เจษ)
- ภานุรัตน์ ศนีบุตร (ปอย)
- เหมือนฝัน ประสานพานิช (ฝัน)
- ณิชารีย์ พัดทอง (จินนี่)
- นภัสกรณ์ เสรีโรจน์สิริ (ปุ๊ก)
- ศจี วงศ์อำไพ (จีจี้)
- สุคนธ์เพชร ผลประดิษฐานนท์ (เพชรหอม)
- นิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรือง (นิ)
- เกณฑ์สิทธิ์ กันธจันทร์ (เกณฑ์)
- กฤษดา นวลมี (กฤษ)
- ช่อฟ้า เหล่าอารยะ (ปูน)
- ปิ่นปินัทธ์ ฐากุลวีรนันท์ (บิว)
- บัวบูชา ปุณณนันท์ (บัว)
- จีรนันท์ เขตพงศ์ กิตติกุลภัทร (จอย)
- ภัทราวรรณ พานิชชา (ชมพู่)
- ธนพัต กิตติบดีสกุล (บอย)
- อดิสรณ์ พึ่งยา (แจ็คกี้)
- วาทิต ตรีครุธพันธ์ (ต๊อบ)
- ธนิศ แก้วนาค (นิวหนวด)
- บัญชา แข็งขัน (น้อย)
รายการข่าววในปัจจุบันที่มีชื่อเสียง
[แก้]รายการข่าว | ผู้ประกาศข่าว |
---|---|
จ้อข่าวเช้า วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 04:30 – 05:30 น. |
เกณฑ์สิทธิ์ กันธจันทร์ ปิ่นปินัทธ์ ฐากุลวีรนันท์ เจษฎา อุปนิ นภัสกรณ์ เสรีโรจน์สิริ สุคนธ์เพชร ผลประดิษฐานนท์ เพลงรบ ฐิติกุลดิลก |
เช้านี้...ที่หมอชิต วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 05:30 – 07:30 น. |
กมลาสน์ เอียดศรีชาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา ภานุรัตน์ ศนีบุตร |
สนามข่าว 7 สี วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 07:30 – 09:05 น. |
กฤษดา นวลมี เหมือนฝัน ประสานพานิช เปรมสุดา สันติวัฒนา เจษฎา อุปนิ (เจษฎาโอ้โฮ, วันจันทร์ – วันอังคาร) เตชะวัฒน์ สุขรักษ์ (ปักหมุดของดีทั่วไทย, วันพุธ – วันพฤหัสบดี) เกรียงไกร รัตนา (ปักหมุดของดีทั่วไทย, วันพุธ – วันพฤหัสบดี) อรรถพล ดวงจินดา (ปักหมุดของดีทั่วไทย, วันพุธ – วันพฤหัสบดี) ธนพัต กิตติบดีสกุล (ตะลุย ต่อยอด, วันศุกร์) อดิสรณ์ พึ่งยา (สนามข่าวกีฬา, วันจันทร์, วันศุกร์) วาทิต ตรีครุธพันธุ์ (สนามข่าวกีฬา, วันอังคาร, วันพฤหัสบดี) ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร (สนามข่าวกีฬา, วันพุธ) |
ห้องข่าวภาคเที่ยง วันจันทร์ – วันพฤหัสบดี เวลา 11:15 – 12:35 น. วันศุกร์ เวลา 11:15 – 12:15 น. |
ศจี วงศ์อำไพ บัญชา แข็งขัน |
ข่าวเย็นประเด็นร้อน วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 16:00 – 17:30 น. (ผลิตร่วมกับ เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์) |
ทิน โชคกมลกิจ เปรมสุดา สันติวัฒนา จีรนันท์ เขตพงศ์ สงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์ (บุญชงสงตอบ) (วันจันทร์ – วันพุธ) กัญณภัทร ชินวงศ์ (บุญชงสงตอบ) (วันจันทร์ – วันพุธ) สันติวิธี พรหมบุตร (คนคุ้ยข่าว) (วันพฤหัสบดี) |
ถกไม่เถียง วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 17:30 – 18:00 น. (ผลิตร่วมกับ เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์) |
ทิน โชคกมลกิจ |
ข่าวภาคคํ่า วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 19:50 – 20:20 น. |
กฤษดา นวลมี จีรนันท์ เขตพงศ์ ช่อฟ้า เหล่าอารยะ เหมือนฝัน ประสานพานิช นิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรือง เกณฑ์สิทธิ์ กันธจันทร์ ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร (สะเก็ดข่าว, วันจันทร์ – วันศุกร์) สุคนธ์เพชร ผลประดิษฐานนท์ (สะเก็ดข่าว, วันเสาร์ – วันอาทิตย์) กมลาสน์ เอียดศรีชาย (ฝนฟ้าอากาศ, วันจันทร์ – วันศุกร์) นภัสกรณ์ เสรีโรจน์สิริ (ฝนฟัาอากาศ, วันเสาร์ – วันอาทิตย์) |
ข่าวในพระราชสำนัก วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 20:00 – 20:15 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 19:50 – 20:05 น. | |
ประเด็นเด็ด 7 สี วันจันทร์ – วันอังคาร, วันพฤหัสบดี เวลา 22:25 – 22:55 น. วันพุธ เวลา 22:20 – 22:45 น. |
สุคนธ์เพชร ผลประดิษฐานนท์ |
สนามข่าว เสาร์–อาทิตย์ วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 05:30 – 06:45 น. |
ณิชารีย์ พัดทอง (ข่าวหลัก, สนามข่าวชวนกิน, วันอาทิตย์) บัวบูชา ปุณณนันท์ นภัสกรณ์ เสรีโรจนสิริ (สนามข่าวชวนกิน, วันเสาร์) |
เปิดจอจ้อข่าว วันเสาร์ เวลา 09:10 – 09:55 น. วันอาทิตย์ เวลา 09:15 – 09:55 น. |
เอกชัย ศรีวิชัย กมลาสน์ เอียดศรีชาย จีรนันท์ เขตพงศ์ ภานุรัจน์ ศนีบุตร |
สะเก็ดข่าว (สเปเชียล) วันเสาร์ เวลา 14:00 – 14:30 น. วันอาทิตย์ เวลา 13:55 – 14:23 น |
พรเทพ สิงหกุล สุคนธ์เพชร ผลประดิษฐานนท์ (วันเสาร์, เพชรหอมพร้อมลุย) ปิ่นปินัทธ์ ฐากุลวีรนันท์ (วันอาทิตย์, แบบนี้บิวทำได้) |
เจาะประเด็นข่าว 7 HD วันเสาร์ เวลา 16:35 – 17:00 น. วันอาทิตย์ เวลา 16:35 – 18:00 น. |
ปิ่นปินัทธ์ ฐากุลวีรนันท์ เกณฑ์สิทธิ์ กันธจันทร์ |
ข่าวเด็ด 7 สี วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 13:55 – 14:00 น. วันศุกร์ เวลา 23:30 – 23:40 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09:00 – 09:10 น. เวลา 09:55 – 10:00 น. เวลา 12:00 – 12:05 น. เวลา 22:17 – 22:25 น. เวลา 23:25 – 23:30 น. วันเสาร์ เวลา 15:25 – 15:30 น. วันอาทิตย์ เวลา 14:23 – 14:28 น. |
ทีมผู้ประกาศข่าว 7 HD |
ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีต
[แก้]- เจก รัตนตั้งตระกูล (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
- จรณชัย ศัลยพงษ์ (ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์ บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด และ เป็นกรรมการสมาคมอุตสหากรรมเครื่องดื่มไทย)
- จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- จิรยุทธ ปรีชัย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- จักรพันธุ์ ยมจินดา (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567)
- จินตนา แสงสว่าง แดงเดช (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- จิรโรจน์ จิตราพัฒนานันท์
- จุฬารัตน์ ม่วงแก้ว (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- จุฑารัตน์ มีช้าง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- จุติวดี ทองนาค (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- เจสสิก้า เอสพินเนอร์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ขนิษฐา สาระจูฑะ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์คารินา โชติรวี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- คำรณ หว่างหวังศรี (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- ดวงกมล เอ่งฉ้วน (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ดวงนภา สมตน (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ดรุณี สุทธิพิทักษ์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ดารินทิพย์ วิมลพัฒน์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ดารินทร์ หอวัฒนกุล (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
- ถิรพุทธิ์ เปรมาประยูรวงศา (ปัจจุบันเป็นรองบรรณาธิการข่าวโมโน 29)
- ธรรมมิก โชติช่วง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ธราวุธ นพจินดา (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555)
- ธนินวัฒน์ พัฒนวีรคุณ (ปัจจุบันอยู่ททบ.5 เอชดี)
- ธัญญารัตน์ ถาม่อย (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
- ธัญลักษณ์ ฉัตรยาลักษณ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ธีรเดช งามเหลือ (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
- ธนวรรษ โฆษิตสุข (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ธันยาภรณ์ ครองยุติ (ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี)
- ธัญนันท์ เหล่าบุรินทร์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ธนาคาร ธนาเกียรติภิญโญ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- หนึ่งฤดี อินทรโมฬี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- นีรนุช ไพรอนันต์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- เนติ์ ตันเจริญ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- นนทิกานต์ เฟื่องสุเมธีพงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- นลัท จิรวีรกูล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- นวนันท์ บำรุงพฤกษ์ (ปัจจุบันอยู่ช่องวัน 31และจีเอ็มเอ็ม 25 ในนามสำนักข่าววันนิวส์)
- นันทิพัฒน์ โปธาปัน (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- นารากร ติยายน (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชน และพิธีกรอิสระ)
- ปริญญา เกษราธิกุล (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564)
- ปณิตา ธรรมวัฒนะ (ปัจจุบันเป็นนักแสดง และพิธีกรอิสระ)
- ปานระพี รพิพันธุ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชน และพิธีกรอิสระ)
- ปิติพร เพรามธุรส (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ปรัชญ์อร ประหยัดทรัพย์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ปทิดา รื่นสุคนธ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ผกามาศ สหดิฎฐกุล (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.0 ZaabNews)
- พงศ์ปณต สุรเชษฐพงษ์ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
- พงศ์อมร คุ้มแก้ว (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พงษ์พิสุทธิ์ ผิวอ่อน (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ (ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี)
- พิศณุ นิลกลัด (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชน และพิธีกรอิสระ)
- พลากร สมสุวรรณ (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่พีพีทีวี)
- พัชรินทร์ สุวรรณวงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พรรณสิริ จิตรรัตน์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พูนศักดิ์ วรรณพงษ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ไพจิตร ภานนท์ (ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี)
- พลอยระวี แป้นเจริญ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พิชญาภา สูตะบุตร (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
- พิพัฒน์ วิทยาปัญญานนท์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ไพศาล ศรีจรัสจรรยา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พัชรี สมภาค (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พจนาถ เลี่ยมทอง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พัทธ์ธีร รัตนประสิทธิ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พิกุล กสิกรรม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พรรษนพ เศาณานนท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- พีรวัศ กุลนันท์วัฒน์ (ปัจจุบันเป็นนักแสดง และพิธีกรอิสระ)
- พิสิทธิ์ กีรติการกุล (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ไพศาล รัตนบันเทิง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ภัทร จึงกานต์กุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ภาณุพงศ์ สุรภาพ (ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี)
- ภัชระ จันทวณิชย์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ภัทรชัย ปราชญ์อุดม (ปัจจุบันอยู่ไทยพีบีเอส)
- ภาษิต อภิญญาวาท (ปัจจุบันอยู่ช่อง 3 เอชดี)
- ภิญญาพัชญ์ ด่านอุตรา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ณรงค์เดช สรุโฆษิต (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ณรัช ภัทรปุณณโชติ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ณฤชา วรรณบวร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ณฤดี จันทรเกษมชัย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ณัฐกานต์ สวรรยาธิปัติ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ณัชฐพงศ์ มูฮำหมัด (ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี)
- ณัฐภัสสร สิมะเสถียร (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ณัฐชนน อาภาศศรีรัตน์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ณัฐชยา สงวนสุข (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ณยา คัตตพันธ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ญาณิชสา ศิริมูลกุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ฌาฆฤณ ชุมนิ่ง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- บุญญิตา งามศัพพศิลป์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
- โบ เหลืองทอง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- บุญยอด สุขถิ่นไทย (ปัจจุบันอยู่แนวหน้าออนไลน์)
- บุศรินทร์ วงศ์ลีลนนท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ทิชา สุทธิธรรม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ทิพย์วัลย์ ว่องวรการวิทย์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ทัศนัย โคตรทอง (ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี)
- ทอดด์ ทองดี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ทิพาธี อินทรวงศ์พันธ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ทัศนีย์ ลาสันเทียะ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- เกียรติศักดิ์ อุดมนาค (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- กิ้ม พิบูลย์ธรรมศักดิ์ (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2565)
- กนกวรรณ ทองเกตุ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- กานต์กมล วงศ์วิลัย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- กมลวรรณ โกวิทวงศา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- กนก รัตน์วงศ์สกุล (ปัจจุบันอยู่เจเคเอ็น 18)
- กัมพล บุรานฤทธิ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- กาลเวลา เสาเรือน (ปัจจุบันเป็นบรรณาธิการข่าวบันเทิงช่องเวิร์คพอยท์)
- กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- กุลธิดา พงษ์แจ่ม (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี)
- กิตตน์ก้อง ขำกฤษ (ปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระ)
- กรองทอง จันทะบุรม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- กฤษฎา จิระธรรม์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- กิ่งทอง พันธ์ไพบูลย์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- กันตพงศ์ บำรุงรักษ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชมพูนุช ตัณฑเศรษฐี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชวัลน์ จันทร์ทรัพย์ (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น 16)
- ชนะชัย แก้วผาง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชัยอนันต์ ปันชู (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
- ชนกันต์ กลิ่นสะอาด (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชลธิชา รอดกันภัย (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
- ชาญวิทย์ ลัภโต (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชัชชญา วิภูษณวิทย์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชาดา สมบูรณ์ผล (ปัจจุบันอยู่เอ็นบีที 2 เอชดี)
- ชิบ จิตนิยม (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- โชติพงษ์ วงศ์พนารักษ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- เชิงชาย หว่างอุ่น (ปัจจุบันทำเฟซบุ๊ก บ้านอาสา และพิธีกรอิสระ)
- ชุติพร สว่างวิทย์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชนะวัฒน์ บุนนาค (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- มยุรี ไพบูลย์กุลกร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- มะลิ แซ่ฉิ่น (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- มณเฑียร อินทะเกตุ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- มานิจ ควรขจร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- มารีออน อัฟโฟลเทอร์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- มัธยัสถ์ อินมา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- มินดา นิตยวรรธนะ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ยอดมนู ภมรมนตรี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- รวีโรจน์ เลิศพิภพเมธา (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- รัญดภา มันตะลัมพะ (ปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระ)
- ระพีพรรณ ตันติโต (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- รัตนกรณ์ โต๊ะหมัด (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- รัชนก ธนาคุณ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- รัชพล จันทรทิม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- รสริน ประกอบธัญ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- รัตตภูมิ นิลศิริ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- รัชฎา ภูละคร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ฉัตปณิดาศ์ จันทร์ศิริ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วรลักษณ์ ศรีทอง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วรวีร์ วูวนิช (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วรวิตา จันทร์หุ่น (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วันดี วรรณเมธางกูร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วิทวัส ปาลอินทร์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วิสุทธิ์ เพ็ญวิเชียร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วาเนสสา สมัคศรุติ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี)
- วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชน และพิธีกรอิสระ)
- วริศรา กาญจน์วีระโยธิน (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วราภรณ์ ทิพาเสถียร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วัชราภรณ์ ญาณโกมุท (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วิเชียร ก่อกิจกุศล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วันปีย์ สัจจมาร์ค (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วรัญญู นวกาลัญญู (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วรรณพร จารุพัฒน์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วรรษมน วัฒโรดม (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วีรศักดิ์ นิลกลัด (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชน และพิธีกรอิสระ)
- วศิน อัศวนฤนาท (ปัจจุบันเป็นนักแสดง และพิธีกรอิสระ)
- ฐิตาภัสร์ ศิริธัญญะวงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศตกมล วรกุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศรศิลป์ มณีวรรณ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศรัณยู ประชากริช (ปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระ)
- ศศินา วิมุตตานนท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศุภกิจ กลางการ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศศิวรรณ์ เลิศวิริยะประภา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศักดินา รักษ์อุดมการณ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- ศุภวรรณ เหมือนแก้ว (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ศรีฟ้า จันทร์ทองวัฒนา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศิริกุล อัตถปัญญาพล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศรุต เตียตระกูล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศรีสุภางค์ ธรรมาวุธ (ปัจจุบันอยู่ช่องวัน 31 ในนามสำนักข่าววันนิวส์)
- ศิริ สาระผล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศุภรัตน์ นาคบุญนำ (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 95 ลูกทุ่งมหานคร)
- ศิริพร นิยมทรัพย์ศิริ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ศันสนีย์ นาคพงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สายสวรรค์ ขยันยิ่ง (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- สมเกียรติ หงษ์ทอง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สมชัย ศรีสุนาครัว (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สมโภชน์ โตรักษา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สรายุทธ ทองเจริญ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สุรเกียรติ บุนนาค (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สุภาพร ศรีหาวงศ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สมฤทัย กล่อมน้อย (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สันติภาพ มังกรพิศฆ์ (เสียชีวิตแล้ว)
- สัมฤทธิ์ สิมใต้ยิ้น (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สินีวรรณ ศรียา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สิริลภัส กองตระการ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สุดารัตน์ บูรพชัยศรี (สกุลเดิม : อรุณวงษ์ ณ อยุธยา) (ปัจจุบันเป็นภรรยาของอนุชา บูรพชัยศรี)
- สมจิตต์ นวเครือสุนทร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สิริรัตน์ รัตนสิมานนท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สุวรรณี กรรณสูต (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สุภาพร ทองไพฑูรย์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สิกิตตรี เกิดมงคล (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
- สุพรรษา คงเหล็ก (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สุชาดา แก้วนาง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สุฐิตา ปัญญายงค์ (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
- สุภาพชาย บุตรจันทร์ (ปัจจุบันอยู่ช่องเวิร์คพอยท์)
- อัครพงษ์ นครแก้ว (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- เอกชัย นพจินดา (ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2540)
- นายแพทย์อภิชาติ นิราพาธพงศ์พร (เสียชีวิตแล้ว)
- อาจารย์อมร วาณิชวิวัฒน์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ (ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ)
- อัญชะลี ไพรีรัก (ปัจจุบันอยู่แนวหน้าออนไลน์)
- อรวรรณ กริ่มวิรัตน์กุล (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.5 คลื่นความคิด)
- อัญชลีพร กุสุมภ์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- อารยา เอ ฮาร์เก็ต (ปัจจุบันเป็นนักแสดง และพิธีกรอิสระ)
- อนุวัต เฟื่องทองแดง (ปัจจุบันอยู่ช่องวัน 31และจีเอ็มเอ็ม 25 ในนามสำนักข่าววันนิวส์)
- อรวรรณ รัตนเดชา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อัจฉรา คำธิตา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อัจฉราวรรณ์ สุวรรณสมบัติ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อายุทัย นนท์นิติรัตน์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อัญชลี อริยกิจเจริญ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อุษา หงษ์ขาว (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อรชพร ชลาดล (ปัจจุบันอยู่ไทยรัฐทีวี)
- อุทุมพร เจริญลาภ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อภิเอก บัลลังก์โพธิ์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อาคม มกรานนท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อวัสดา ปกมนตรี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- อนันตชัย วัชรเสถียร (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บเพจ ข่าวช่อง 7HD ในเว็บไซต์ช่อง 7HD
- ข่าวช่อง 7HD ที่เฟซบุ๊ก
- ↑ Guidey_Krub (2015-05-18), เจาะประเด็นข่าวค่ำ CH7 HD, สืบค้นเมื่อ 2024-10-04