สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่แบบ:กล่องข้อมูล สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา

สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา (อังกฤษ: Thai Parliament Radio and Television - TPRadio, TPTV) หรือสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภาได้มีการจัดตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2532 ตามคำสั่งรัฐสภา ที่ 8/2532 ซึ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อเตรียมการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงของรัฐสภา โดยได้รับจัดสรรงบประมาณตั้งต้น จำนวน 10,485,200 ล้านบาท เปิดดำเนินการทดลองออกอากาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 เมษายน - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2537 เป็นเวลา 6 เดือน โดยระยะแรกออกอากาศตั้งแต่เวลา 06:00-09:00 น. ซึ่งมีเพียงการเปิดเพลง สลับกับรายงานข่าว บทความ สรุปการประชุมคณะกรรมาธิการ และการถ่ายทอดข่าวจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ก่อนจะเริ่มออกอากาศอย่างถาวร เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน โดยส่งกระจายเสียงตั้งแต่เวลา 06:00-20:00 น. โดยเริ่มมีการถ่ายทอดเสียงการประชุมรัฐสภา ทั้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และการประชุมร่วมกันทั้งสองสภา นำเสนอร่วมกับข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงรัฐสภา

สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา เป็นช่องโทรทัศน์ของไทย ซึ่งออกอากาศโดยไม่ใช้คลื่นความถี่ ผ่านโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อการกระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐสภากับประชาชน ทางช่องหมายเลข 10 ดำเนินการโดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีภารกิจหลักในการถ่ายทอดสด การประชุมร่วมกันของรัฐสภา การประชุมสภาผู้แทนราษฎร และการประชุมวุฒิสภา รวมถึงรายงานข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานของรัฐสภา เผยแพร่สู่ประชาชนทั่วไป รวมถึงรายการสาระประโยชน์ต่างๆ ออกอากาศในช่วงนอกเหนือจากการประชุมสภาฯ ได้ประกอบพิธีเปิดและเริ่มออกอากาศ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งมีสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภาขณะนั้น เป็นประธานในพิธี โดยขณะนั้นออกอากาศในช่องความถี่ของโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็นบีทีของกรมประชาสัมพันธ์ที่ช่อง NBT 15

สัญลักษณ์[แก้]

นับแต่เริ่มออกอากาศ สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาใช้สัญลักษณ์แบบแรก ซึ่งประกอบด้วยภาพร่างเงา ของพานแว่นฟ้าเทินฉบับรัฐธรรมนูญ สีเหลืองทองวางเหลื่อมอยู่ตอนหน้าทางซ้าย มีอักษรอังกฤษตัว P สีแดงวางเหลื่อมอยู่ตอนหลังทางขวา ถัดไปทางขวาตอนล่าง มีรูปทรงกลมสีฟ้าเข้ม และมีอักษรอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก tv สีน้ำตาลอยู่ตอนกลาง ต่อมาระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2556 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดประกวดออกแบบสัญลักษณ์ขึ้นใหม่ โดยแบบที่ชนะการประกวด เป็นของเอกชัย จริงใจ เป็นกลุ่มรูปสี่เหลี่ยม 4 ชิ้นสลับขนาดเล็กใหญ่ เรียงตัวกันตามแนวดิ่ง แต่ละชิ้นมีสองมุมซ้ายขวา เป็นมุมฉากสลับกับมุมมน พลิกสลับตามแนวดิ่งเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดเป็นสีฟ้า และทำกรุเงาโปร่งใสเป็นแฉกคล้ายดาว บนรูปสี่เหลี่ยมสองชิ้นบน

หลังจากนั้น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นำแบบดังกล่าวไปดัดแปลงขั้นสุดท้าย ก่อนจะทำพิธีเปิดตัวเมื่อวันที่ 12 กันยายน ปีดังกล่าว โดยไม่กรุเงาโปร่งใสเป็นแฉกคล้ายดาว พร้อมทั้งปรับอัตราส่วน ระหว่างสี่เหลี่ยมแต่ละรูปให้แคบลง และเปลี่ยนไปใช้สีแดงเข้ม ที่เรียกว่าสีแดงมารูน ซึ่งเป็นสีประจำรัฐสภา ตามข้อเสนอของบุญยอด สุขถิ่นไทย กรรมการบริหารสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาขณะนั้น[1] แต่กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล และผู้สนับสนุนกลับนำไปวิพากษ์วิจารณ์ว่า มีความพยายามเปลี่ยนไปใช้สีสัน ที่แสดงฝักฝ่ายทางการเมือง แทงบอล เก็บถาวร 2023-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่คณะรัฐประหารซึ่งก่อการเมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จึงเปลี่ยนไปใช้สีเหลืองทองแทน รวมถึงทำการโปร่งใสเป็นแนวเส้น ที่ส่วนล่างของรูปสี่เหลี่ยมชิ้นบนสุด นัยว่าเพื่อให้มองเป็นรูปฉบับรัฐธรรมนูญบนเชิงพานชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ยังปรับรูปสี่เหลี่ยม ชิ้นที่สองจากบนให้มีขนาดแคบลงด้วย นัยว่าเพื่อให้มองเป็นเช่นเดียวกับ พานแว่นฟ้าสองชั้น ซึ่งพานชั้นบนจะมีขนาดเล็กกว่าพานชั้นล่าง

การออกอากาศภาคพื้นดินระบบดิจิทัล[แก้]

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น จเร พันธุ์เปรื่อง ในนามสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามในสัญญาเช่าโครงข่าย โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในขณะนั้น [2]

ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม[ต้องการอ้างอิง] ที่ประชุมคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลงมติให้พิจารณาออกใบอนุญาต แก่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ใช้คลื่นความถี่โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อการกระจายข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างรัฐสภากับประชาชน ทางช่องหมายเลข 10[3]

โดยในราวเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาดำเนินการ ปรับอัตราส่วนภาพที่ออกอากาศ จากเดิม 4:3 ไปเป็น 16:9 ก่อนจะทดลองออกอากาศ ระหว่างวันที่ 21-22 กรกฎาคม และเริ่มแพร่ภาพอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ตั้งแต่เวลา 08:00 น.เป็นต้นไป[ต้องการอ้างอิง] ส่วนในระบบดาวเทียมทางระบบจานดาวเทียมพีเอสไอ ทางช่องหมายเลข 220 ยังคงออกอากาศคู่ขนานกันไประยะหนึ่งก่อนเหลือช่องทางออกอากาศทางช่อง 10 ดังเช่นในปัจจุบัน

ระยะเวลาการออกอากาศ[แก้]

  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2557 เปิดสถานีเวลา 08:00 น. ปิดสถานี เวลา 22:00 น.
  • พ.ศ. 2557 - 2563 เปิดสถานีเวลา 08:00 น. ปิดสถานี เวลา 00:00 น.
  • พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน เปิดสถานีเวลา 07:00 น. ปิดสถานี เวลา 00:00 น.

ทั้งนี้ ในช่วงสมัยประชุมสภาฯ การปิดสถานีอาจปิดสถานีหลังจากเวลาปกติ หากการประชุมสภาฯยังคงดำเนินหลังจากเวลาปิดสถานีปกติ สถานีฯจึงออกอากาศอย่างต่อเนื่องจนกว่าประธานฯจะปิดการประชุม

นักจัดรายการวิทยุ[แก้]

  • สุพัตรา พรหมศร
  • อานันท์ จันทร์ศรี
  • ปฐมพงษ์ ท่าข้าม
  • ยูลัด ดำริห์เลิศ
  • ณรงค์ฤทธิ์ คิดเห็น
  • พัชราวลัย เด่นนิติรัตน์
  • อัญชลี วงศ์สัมปัน
  • สาริศา สุปัญโญ
  • พัลลภา เขียวแก้ว
  • นิสลา ไทยกล้า
  • นันท์ปภัทร เฉลิมสินหิรัญ
  • ธนัชพร สุขดี
  • ทนงศักดิ์ ทองงอก
  • นิศรา เพ็งขำ

พิธีกรรายการโทรทัศน์[แก้]

  • อานันท์ จันทร์ศรี
  • ณรงค์ฤทธิ์ คิดเห็น
  • นันทคม ประสาทพร
  • พัชราวลัย เด่นนิติรัตน์

ผู้ประกาศข่าว[แก้]

  • วัฒนะ คล้ายแก้ว
  • ณัฐภัทรพล จุติการพาณิชย์
  • กิตติ เสรีประยูร
  • กันต์พจน์ ฐิติวณิชกุล
  • ธีรพงศ์ ทะนัน
  • วิภา รักไทย
  • จารุวัฒน์ บุญประเสิร์ฐ
  • รวีภัทร์ จิรศักดิ์วัฒนา
  • อัญชิษฐา บุญพรวงศ์

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]