เสลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสลา
เสลาที่ริมถนน บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: อันดับชมพู่
วงศ์: วงศ์ตะแบก
สกุล: Lagerstroemia
Teijsm. & Bin
สปีชีส์: Lagerstroemia loudonii
ชื่อทวินาม
Lagerstroemia loudonii
Teijsm. & Bin

เสลา [สะ-เหฺลา] หรือ อินทรชิต (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn.) เป็นต้นไม้ขนาดกลางโตช้า ผลัดใบ สูง 1-2 เดคาเมตร เรือนยอดทรงกลมทึบ ใบดก กิ่งโน้มลงรอบทรงพุ่ม เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีรอยแตกเป็นทางยาวตลอดลำต้น ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 16-24 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนมน เนื้อใบหนาปานกลาง เส้นใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกสีม่วง ม่วงอมชมพู หรือม่วงกับขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5-8 แฉก กลีบดอกส่วนใหญ่เป็น 6 กลีบ รูปกลมบางยับย่น ขอบย้วย โคนคอดเป็นก้านสั้น ๆ เมื่อบาน เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลรูปเกือบกลม ผิวแข็ง ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผลแห้งแตกตามยาว 5-6 พู เมล็ดสีน้ำตาลเข้มจำนวนมาก มีปีก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ต้นเสลาขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าชายหาด พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง[1]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]