ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภัคพงศ์​ พงษ์​เภตรา
ผู้บัญชาการ​ตำรวจนครบาล
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน​ 2564
ก่อนหน้าพลตำรวจโท สุทธิพงศ์ วงปิ่น
ถัดไปพลตำรวจโท​ สำราญ นวลมา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 (62 ปี)
จังหวัดสุราษฏร์ธานี ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสพิมพ์กมล อุดมศิลป์
บุตร1
ที่อยู่อาศัยกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 22
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 38
วิชาชีพตำรวจ
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประจำการ2528 - 2564
ยศ พลตำรวจโท

พลตำรวจโท ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา (ชื่อเล่น: อู๊ต, เกิด 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2504) เป็นนายตำรวจชาวไทย อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และอดีตกรรมการในศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด – 19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนคนที่  2 ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 9 และรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ก่อนที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาลคนที่ 50 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562[1]

ประวัติ[แก้ไขต้นฉบับ]

ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ที่อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฏร์ธานี เกิดในครอบครัวพ่อแม่ทำธุรกิจสวนปาล์ม โรงโม่ และเหมืองแร่ เป็นลูกชายคนที่ 4 ของตระกูล ศึกษาชั้นประถมอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาก่อนที่จะเข้าสู่รั้วเตรียมทหารรุ่น 22 และก้าวเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่น 38[2]

การรับราชการตำรวจ[แก้ไขต้นฉบับ]

เริ่มต้นรับราชการที่บ้านเกิดในตำแหน่งรองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองสุราษฎร์ธานี ก่อนย้ายเป็นผู้ช่วยนายเวร พล.ต.อ.ชุมพล อรรถศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 คุมพื้นที่ภาคเหนือ ระหว่างดำรงตำแหน่งได้มีโอกาสเรียนรู้งานกิจการพิเศษในแผนกรกฏ จึงทำให้มีความเชี่ยวชาญและความรู้เรื่องยุทธวิธีการคุมชุมนุมประท้วงและแนวทางการปฏิบัติกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ ตั้งแต่ไฟไหม้ น้ำท่วม ไปจนถึงการจี้ตัวประกัน หรือเหตุวินาศกรรม

จากนั้นคืนถิ่นเกิดเป็นรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2551 ร่วมไขคดีสังหารโหดคนงานชาวพม่า 4 ศพ ในพื้นที่หมู่ 7 ตำบลปากหมาก อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้เวลาตามรอยอยู่ไม่นานสามารถจับกุมแก๊งคนร้ายเป็นชาวอำเภอไชยาได้ทั้งหมด 6 คน ซึ่งมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมโดยการจับคนงานพม่าทั้งชายและหญิงมามัดมือไพล่หลังด้วยสายไฟก่อนที่จะลากขึ้นรถไปยิงทิ้งอย่างเลือดเย็น

ต่อมาเขาก็ได้ดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการหัวหน้าศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 8 คลายปมคดีสำคัญในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะคดีมือปืนยิงนายปรีชา เพชรประเสริฐ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำพูน บริเวณบนถนนพูลศิริ ในเขตเทศบาลเมืองนาสาร ตำบลนาสาร อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 จับกุมประสาท หรือสุรชัย หรือไข่ วิชัยดิษฐ์[3]

วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เขาตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์หลังใช้อำนาจตามตำแหน่งหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครออกข้อบังคับบริเวณรอบพื้นที่เขตพระราชฐาน 901 แลนด์ (เดิมคือสนามม้านางเลิ้ง และปัจจุบันคืออุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร)[4]

ผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน[แก้ไขต้นฉบับ]

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปี 2552 ได้รับคำสั่งจาก พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในขณะนั้น ให้มาร่วมทำงานสังกัดทัพเมืองหลวงครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนคนที่ 2 ของหน่วยต่อจาก พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์จากรัฐบาลเข้าควบคุมสถานการณ์การชุมนุมที่มีการปิดถนนยาวนานต่อเนื่องหลายเดือน ก่อนจะมีประกาศพระราชบัญญัติความมั่นคง และพระราชบัญญัติฉุกเฉิน มีการตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หลังสถานการณ์บานปลายและรุนแรงขึ้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้ไขต้นฉบับ]

อ้างอิง[แก้ไขต้นฉบับ]

  1. "ส่องเกียรติประวัติ "ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา" น.1 ชาวใต้ตรงๆ ไม่อ้อมค้อม-ใจนักเลง". mgronline.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "บุคคลสำคัญ". thonburi-home.com.
  3. กองบรรณาธิการ (2020-11-10). ""ผมมีวันนี้ได้ ก็เพราะผู้ใต้บังคับบัญชา"". COP'S Magazine.
  4. ราชกิจจา ประกาศข้อบังคับจราจร รอบพระราชฐาน 901 แลนด์
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๗๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๕๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๒, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
ก่อนหน้า ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ถัดไป
พลตำรวจโท สุทธิพงศ์ วงปิ่น
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2562​ -​ 30 กันยายน​ พ.ศ. 2564​)
พลตำรวจโท​ สำราญ นวลมา