จันทน์กะพ้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จันทน์กะพ้อ
จันทน์กะพ้อ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Malvales
วงศ์: Dipterocarpaceae
สกุล: Vatica
สปีชีส์: V.  diospyroides
ชื่อทวินาม
Vatica diospyroides
Sym.

จันทน์กะพ้อ เป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์ Dipterocarpaceae พวกเดียวกับยางนาและพะยอม บางพื้นที่ทางภาคใต้เรียก จันทน์พ้อ หรือ จันพอและที่จังหวัดพังงาเรียก เขี้ยวงูเขา[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

จันทน์กะพ้อเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (สูงประมาณ 5-15 เมตร) ต้นค่อนข้างตรง เปลือกเกลี้ยง เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือกว้างใบเป็นใบเดี่ยว รูปรียาว ขนาดยาว 7-9 เซนติเมตร กว้าง 2-3 เซนติเมตร สีเขียวเข้ม เรียงตัวแบบเวียนไปตามกิ่งห่าง ๆ กัน ดอกออกตามกิ่งเป็นช่อเล็ก ๆ ทยอยบานครั้งละ 1-2 ดอก แต่มักจะมีช่อหลายช่อเป็นกระจุกและเรียงเป็นระยะ ๆ ตามกิ่งดอกขนาด 1.2-1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมีขนสีน้ำตาลกลีบดอกเรียงเวียนซ้อนเกยกันเล็กน้อย ด้านในสีขาวนวลหรืออมชมพู ด้านนอกมีแถบแคบ ๆ มีขนละเอียดสีน้ำตาลอมแดง กลิ่นหอมแรง ออกดอกในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน[1][2][3][4]

การดูแล และ ขยายพันธ์[แก้]

จันทน์กะพ้อชอบขึ้นอยู่ตามริมน้ำ บริเวณที่มีน้ำท่วมหรือน้ำหลาก ชอบอยู่กลางแจ้งที่มีความชื้นในอากาศค่อนข้างสูง โตช้า[3] ปลูกเลี้ยงค่อนข้างยาก ถ้าแดดจัดหรือลมแรงใบจะไหม้ ปัจจุบันจึงพบเห็นจันทน์กะพ้อน้อยลง

สำหรับการขยายพันธุ์จันทน์กะพ้อนั้นทำโดยเพาะเมล็ด ใช้เวลาเพียง 1 เดือนรากก็เริ่มงอกแทงออกมา เมื่อต้นกล้าอายุ 1 ปี จะมีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และมีใบ 4-7 ในปีที่ 2 ต้นกล้าจะเจริญอย่างรวดเร็วและสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงนี้ถ้าปลูกในกระถาง ควรเปลี่ยนกระถางให้มีขนาดไม่ต่ำกว่า 10 นิ้ว หรือถ้าปลูกลงดินจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีทรงพุ่มแผ่กว้าง เมื่ออายุ 5-7 ปี จะมีความสูง 2.5-5 เมตร และเริ่มออกดอก

ประโยชน์[แก้]

ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกมีกลิ่นหอมค่อนข้างแรงมากและสามารถนำดอกมาปรุงเป็นยาหอม แก้ลม และบำรุงหัวใจ

เกร็ด[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จันทน์กะพ้อ
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Vatica diospyroides ที่วิกิสปีชีส์
  1. 1.0 1.1 "จันทน์กะพ้อ". www.rspg.or.th.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "จันทน์กะพ้อ". clgc.agri.kps.ku.ac.th (ภาษาอังกฤษ).
  3. 3.0 3.1 "chitralada". www.rspg.or.th.
  4. Life, Is (2022-07-06). "จันทน์กะพ้อ พันธุ์ไม้ไทยเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์". มูลนิธิสืบนาคะเสถียร.
  5. "คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร :: Faculty of Law Naresuan University". www.law.nu.ac.th.
  6. "มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา : เกี่ยวกับเรา มรย". yru.ac.th.