พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531
ตราสัญลักษณ์
วันที่2–3 และ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2531
ประเทศประเทศไทย
เหตุการณ์ก่อนหน้าพระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ. 2514
เหตุการณ์ถัดไปพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539
จัดโดยรัฐบาลไทย
ไฟล์:รัชมังคลาภิเษก 1.jpg
การทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ในรัชกาลที่ 9 (อังกฤษ: Rajamangala Celebrations in Rama 9, 2th July 1988) เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่เคยครองราชย์ยาวนานที่สุด นับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 เป็นเวลา 42 ปี 23 วัน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีหมายกำหนดการจัดงานในระหว่างวันที่ 2, 3 และ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 รวมทั้งสิ้น 3 วัน

พระราชพิธีนี้ จัดในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และ ประชาชนชาวไทย ร่วมกันจัดขึ้น ดังปรากฏเป็นเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้

พระราชพิธี[แก้]

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พุทธศักราช 2531[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อทรงบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูปปางประจำรัชกาล สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี ที่หอพระราชกรมานุสร และ พระพุทธรูปปางประจำรัชกาล สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ที่หอพระราชพงศานุสร ซึ่งในวันนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองราชย์เทียบเท่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวม 42 ปี 23 วัน

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พุทธศักราช 2531[แก้]

ไฟล์:รัชมังคลาภิเษก 3.jpg
พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในการพระราชพิธีสมโภชสิริราชสมบัติรัชมังคลาภิเษก ซึ่งในวันนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองราชย์นานกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ 42 ปี 24 วัน

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พุทธศักราช 2531[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟพระที่นั่ง ไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา

การประชาสัมพันธ์[แก้]

โดยสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ และสื่อมวลชนทุกสำนัก จะถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ โดยให้ทุกสถานีเชื่อมโยงสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

ตราสัญลักษณ์[แก้]

รูปแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2531 ออกแบบโดย นายสุนทร วิไล


ไฟล์:พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก 2531.jpg
ธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2531

ตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ออกแบบโดย นายสุนทร วิไล นายช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้น) ประกอบด้วย พระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประดิษฐานอยู่กึ่งกลาง และมีเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ คือ พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกรชัยพฤกษ์ พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี และฉลองพระบาทเชิงงอน ประกอบอยู่โดยรอบ พร้อมฉัตร 7 ชั้น ประดับอยู่ซ้ายและขวา มีแพรแถบจารึกอักษรข้อความว่า “พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑”

ของที่ระลึก[แก้]

ราชมังคลากีฬาสถาน[แก้]

เหรียญ[แก้]

โรงเรียนรัชมังคลาภิเษก[แก้]

รัฐบาลจัดตั้งโรงเรียนระดับสามัญศึกษาเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสมหามงคลนี้ มีดังนี้

ดูเพิ่ม[แก้]