ข้ามไปเนื้อหา

มณฑลพายัพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มณฑลลาวเฉียง)
มณฑลพายัพ
มณฑลเทศาภิบาล
พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2476
Flag of มณฑลพายัพ
ธง

แผนที่แสดง 6 หัวเมืองมณฑลพายัพ
  มณฑลพายัพเดิม
  ส่วนที่แยกไปเป็นมณฑลมหาราษฎร์ ต่อกลับมาเข้ากับมณฑลพายัพเช่นเดิม
เมืองหลวงเชียงใหม่
การปกครอง
 • ประเภทสมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ
สมุหเทศาภิบาล 
• พ.ศ. 2437–2442
พระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) (คนแรก)
• พ.ศ. 2445–2458
เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)
• พ.ศ. 2458–2465
หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร
• พ.ศ. 2471–2475
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์
• พ.ศ. 2475–2476
พระยากัลยาณวัฒนวิศิษฎ์ (เชียร กัลยาณมิตร) (คนสุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
• จัดตั้งมณฑลลาวเฉียง
พ.ศ. 2437
• จัดตั้งมณฑลตวันตกเฉียงเหนือ
30 มิถุนายน พ.ศ. 2443[1]
• เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลพายัพ
21 มกราคม พ.ศ. 2444
• แยกพื้นที่จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์
1 เมษายน พ.ศ. 2459
• เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภาคพายัพ
1 เมษายน พ.ศ. 2459 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2469
• ยุบรวมมณฑลมหาราษฎร์ไว้ในการปกครองอีกครั้ง
31 มีนาคม พ.ศ. 2469
• ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล
9 ธันวาคม พ.ศ. 2476
ก่อนหน้า
ถัดไป
นครเชียงใหม่
นครน่าน
นครลำปาง
นครลำพูน
นครแพร่
มณฑลมหาราษฎร์
มณฑลมหาราษฎร์
จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดเชียงราย
จังหวัดน่าน
จังหวัดแพร่
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัดลำปาง
จังหวัดลำพูน
ภาคเหนือ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย

มณฑลพายัพ เป็นมณฑลหนึ่งในการปกครองส่วนภูมิภาคระบบมณฑลเทศาภิบาลของราชอาณาจักรสยาม ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

ประวัติศาสตร์[แก้]

การปฏิรูปการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ

 หลังจากที่อาณาจักรสยามได้ลงนามในสนธิสัญญาเบาวริ่งในปี พ.ศ. 2398 อังกฤษได้เข้ามาทำการค้ากับสยามมากขึ้น สินค้าที่อังกฤษมีความต้องการ คือ ไม้สัก ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร ได้มีคนในบังคับอังกฤษเข้ามาทำไม้ในเขตนครเชียงใหม่เป็นจำนวนมาก และเกิดการทะเลาะแก่งแย่งผลประโยชน์ระหว่างคนในบังคับอังกฤษกับบรรดาเจ้านายและเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ กรณีพิพาทได้ลุกลามมาถึงกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยืดเยื้อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 จากสภาพปัญหาดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยที่จะแก้ไขปัญหาก่อนที่อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจจะเข้ามาแทรกแซงจนเป็นปัญหาใหญ่ต่อไป ในปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ขึ้นไปจัดการศาลต่างประเทศและทำหน้าที่ชำระคดีความระหว่างคนในบังคับอังกฤษกับเจ้านายฝ่ายเหนือ พร้อมทั้งจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่
 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริในการปฏิรูปการปกครองโดยเฉพาะการปฏิรูปหัวเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกการจัดการปกครองหัวเมืองเป็นเมืองประเทศราช หัวเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี ชั้นจัตวา แล้วใช้การปกครองระบบเทศาภิบาลแทน โดยแบ่งการจัดการปกครองออกเป็น มณฑล เมือง อำเภอ ในแต่ละมณฑลจะมี “ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล” หรือ “ข้าหลวงใหญ่” (ต่อมาเรียกว่าผู้บัญชาการมณฑล) ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคัดเลือกจากผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ปฏิบัติงานต่างพระเนตรพระกรรณ แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวม นครเชียงใหม่, นครน่าน, นครลำปาง, นครลำพูน ,นครแพร่, เมืองเถิน เข้าเป็น มณฑลลาวเฉียง แล้วมีศูนย์กลางอยู่ที่นครเชียงใหม่ หัวเมืองฝ่ายเหนือจึงสิ้นสุดความเป็นประเทศราชหรือนครรัฐอิสระ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[2]

มณฑลลาวเฉียง

 ในปี พ.ศ. 2437 หัวเมืองประเทศราชล้านนา ประกอบด้วย เมืองนครเชียงใหม่ , เมืองนครลำปาง , เมืองนครน่าน , เมืองนครลำพูน และเมืองนครแพร่ ถูกจักรวรรดิอังกฤษและจักรวรรดิฝรั่งเศสขนาบโอบล้อมทั้งสองด้าน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวม 5 หัวเมืองประเทศราชล้านนา จัดตั้งเป็น "มณฑลลาวเฉียง"

มณฑลพายัพ

 ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อมณฑลเป็น "มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ" แล้วจึงเปลี่ยนมาเป็น "มณฑลพายัพ" ในปลายปีเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย 6 หัวเมือง ได้แก่

  1. เมืองนครเชียงใหม่ - ครอบคลุมพื้นที่ ดังนี้
    1. เมืองเชียงราย
    2. เมืองเชียงแสน
    3. เมืองป่าเป้า
    4. เมืองฝาง
    5. เมืองแม่ฮ่องสอน
    6. เมืองยวม
    7. เมืองขุนยวม
    8. เมืองปาย
  2. เมืองนครลำปาง - ครอบคลุมพื้นที่ ดังนี้
    1. เมืองพะเยา
    2. เมืองงาว
  3. เมืองนครลำพูน - ครอบคลุมพื้นที่ ดังนี้
    1. เมืองพาน
  4. เมืองนครน่าน - ครอบคลุมพื้นที่ ดังนี้
    1. เมืองเชียงของ
    2. เมืองเทิง
    3. เมืองเชียงคำ
    4. เมืองปง
    5. เมืองเชียงลม
    6. เมืองเชียงฮ่อน
    7. เมืองจอมเพชร แขวงหลวงพระบาง (สปป. ลาว)
    8. แขวงไชยบุรี (สปป. ลาว ทั้งหมด)
  5. เมืองนครแพร่
  6. เมืองเถิน (ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ถูกยุบรวมเข้ากับเมืองนครลำปาง)

 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยก เมืองนครลำปาง, เมืองนครน่าน และเมืองนครแพร่ ออกเป็นจากมณฑลพายัพและให้จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ โดยมีสำนักข้าหลวงใหญ่มณฑลตั้งอยู่ที่เมืองนครแพร่

 ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบมณฑลมหาราษฎร์ แล้วให้กับเข้ามารวมกันมณฑลพายัพตามเดิม

รายพระนามและรายนามผู้ปกครอง[แก้]

เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่[แก้]

ลำดับ พระนาม/นาม ตำแหน่ง ราชวงศ์ ช่วงเวลา
7
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้านครเชียงใหม่ ทิพย์จักร พ.ศ. 2416 - 2440[3]
8
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่ ทิพย์จักร พ.ศ. 2444[4] - 2452[5]
9
เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้านครเชียงใหม่ ทิพย์จักร พ.ศ. 2454[6] - 2482

เจ้าผู้ครองนครลำพูน[แก้]

ลำดับ พระนาม/นาม ตำแหน่ง ราชวงศ์ ช่วงเวลา
8
เจ้าเหมพินธุไพจิตร เจ้านครลำพูน ทิพย์จักร พ.ศ. 2431 - 2439[7]
9
เจ้าอินทยงยศโชติ เจ้านครลำพูน ทิพย์จักร พ.ศ. 2439 - 2454[8]
10
เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้านครลำพูน ทิพย์จักร พ.ศ. 2454 - 2486

เจ้าผู้ครองนครลำปาง[แก้]

ลำดับ พระนาม/นาม ตำแหน่ง ราชวงศ์ ช่วงเวลา
12
เจ้านรนันทไชยชวลิต เจ้านครลำปาง ทิพย์จักร พ.ศ. 2430 - 2440[9]
13
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้านครลำปาง ทิพย์จักร พ.ศ. 2440 - 2465
14
เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) รั้งตำแหน่งเจ้านครลำปาง ทิพย์จักร พ.ศ. 2465[10] - 2468

เจ้าผู้ครองนครน่าน[แก้]

ลำดับ พระนาม/นาม ตำแหน่ง ราชวงศ์ ช่วงเวลา
13
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครน่าน ติ๋นมหาวงศ์ พ.ศ. 2436 - 2461
14
เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้านครน่าน ติ๋นมหาวงศ์ พ.ศ. 2461 - 2474

เจ้าผู้ครองนครแพร่[แก้]

ลำดับ พระนาม/นาม ตำแหน่ง ราชวงศ์ ช่วงเวลา
4
เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้านครแพร่ แสนซ้าย พ.ศ. 2432 - 2445
- ยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ ผู้ว่าราชการฯ - พ.ศ. 2445

ข้าหลวง[แก้]

ลำดับ พระนาม/นาม ตำแหน่ง ราชวงศ์ ช่วงเวลา
1 พระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวเฉียง - พ.ศ. 2436 - 2442
1 พระยานริศรราชกิจ (สาย โชติกเสถียร) ข้าหลวงเทศาภิบาล - พ.ศ. 2442 - 2443
2 พระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงเทศาภิบาล - พ.ศ. 2445 - 2458

โรงเรียนประจำมณฑลพายัพ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ข้อบังคับสำหรับปกครองมณฑลตวันตกเฉียงเหนือ ร,ศ, ๑๑๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2443. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "หัวเมืองฝ่ายเหนือ เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญยเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-11. สืบค้นเมื่อ 2024-06-06.
  3. ข่าวพระเจ้านครเชียงใหม่ถึงแก่พิลาไลย
  4. การตั้งเจ้าอุปราชเมืองนครเชียงใหม่เป็นเจ้าผู้ครองนคร ราชกิจจานุเบกษา 1 ธันวาคม รศ. 120
  5. ข่าวพิราไลย
  6. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้เจ้าอุปราช (เจ้าแก้ว) ว่าที่เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
  7. ข่าวพิลาไลย (เจ้าเหมพินธุไพจิตร เจ้านครลำพูน)
  8. ข่าวพิราไลยราชกิจจานุเบกษา เล่ม 27 วันที่ 26 มีนาคม ร.ศ. 129 หน้า 3124
  9. ข่าวพิลาไลย
  10. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2466 เล่มที่ 40 หน้า82