ขุนด่านเจ้าพ่อเสือ บางหว้า

พิกัด: 13°42′59″N 100°26′51″E / 13.716440°N 100.447452°E / 13.716440; 100.447452
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขุนด่านเจ้าพ่อเสือ
ขุนด่านเจ้าพ่อเสือ บางหว้า
ศาสนา
ศาสนาศาสนาชาวบ้านจีน
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
เทพเจ้าพ่อเสือ และเจ้าพ่อขุนด่าน
ปีที่อุทิศสมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ที่ตั้ง
ที่ตั้ง20 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ
ประเทศประเทศไทย
สถาปัตยกรรม
ประเภทสถาปัตยกรรมจีน
เสร็จสมบูรณ์สมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ทิศทางด้านหน้าทิศตะวันออกเฉียงใต้

ขุนด่านเจ้าพ่อเสือ บางหว้า หรือที่นิยมเรียกว่า ศาลเจ้าพ่อเสือ บางหว้า หรือ ศาลเจ้าพ่อเสือ ภาษีเจริญ เป็นศาลเจ้าจีนตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ

ศาลเจ้าพ่อเสือ บางหว้า แห่งนี้ก่อสร้างขึ้นในยุคที่มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นยุคที่มีการตัดถนนและเส้นทางคมนาคมต่าง ๆ มากมาย เดิมที ศาลแห่งนี้เป็นเพียงศาลเพียงตาเล็ก ๆ ริมถนน ต่อมาได้มีการขยายถนนให้ใหญ่ขึ้น ศาลเพียงตาจึงถูกดินที่ขุดขึ้นมาฝังกลบจนมิด ต่อมาได้มีผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น คือนายประเสริฐ ธรรมมา อดีตผู้ก่อตั้งศาลฝันเห็นมีนักรบโบราณ บอกให้นำศาลที่ฝังดินนั้นขึ้นมา เมื่อตื่นขึ้นจึงได้ขุดศาลขึ้นมาและบูรณะจนกลายมาเป็นศาลเจ้าเช่นในปัจจุบัน

ในอดีตเป็นที่เล่าลือกันว่า มีผู้พบเห็นเสือโคร่งตัวใหญ่วนเวียนอยู่บริเวณนั้น จึงเป็นที่มาของศาล ส่วนองค์ประธานในศาล คือ "ตั่วเหล่าเอี๊ย" หรือ เจ้าพ่อเสือ และเทพเจ้าเสือ เช่นเดียวกับศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร ในเขตพระนคร และเจ้าพ่อขุนด่าน ที่เชื่อว่าคือ นักรบโบราณผู้นั้น เป็นเจ้าเมืองหน้าด่านกรุงธนบุรี หนึ่งในทหารเสือในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยุคธนบุรี

ศาลเจ้าพ่อเสือ บางหว้า ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่จากผู้มีจิตศรัทธา ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในปัจจุบันด้านข้างของศาล มีลานสำหรับฉายภาพยนตร์แก้บนอย่างถาวร สำหรับผู้ที่มาบนบานต่าง ๆ แล้วได้ตามที่บนบานไว้ มีการฉายทุกวัน วันละ 3 เรื่อง เริ่มตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดิน และผู้ที่ขับขี่พาหนะผ่านไปมา มักจะแสดงความเคารพด้วยการยกมือไหว้หรือกดแตรเสียงดัง และในงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น ตรุษจีน, สารทจีน ทางกรรมการศาลเจ้าจะมีการอัญเชิญเทวรูปองค์เจ้าพ่อมาให้สักการะบริเวณด้านหน้าศาลอีกด้วย ส่วนงานประจำปีของศาลจะอยู่ในช่วงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°42′59″N 100°26′51″E / 13.716440°N 100.447452°E / 13.716440; 100.447452