วัดยาง (บางจาก)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
วัดยาง | |
---|---|
อุโบสถในปี พ.ศ.2566 | |
ชื่อสามัญ | วัดยาง, วัดยางบางจาก |
ที่ตั้ง | 683 ซอยเพชรเกษม 28 แยก 21 ถนนเพชรเกษม แขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | เถรวาท มหานิกาย |
พระประธาน | พระพุทธรูปปางตรัสรู้ ภายในพระอุโบสถ |
พระพุทธรูปสำคัญ | หลวงพ่อนพเก้า |
เวลาทำการ | ทุกวัน เวลา 06.00–21.00 น. |
เว็บไซต์ | https://www.facebook.com/watyang.pasicharoen.bangkok/ |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดยาง (บางจาก) เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในฝั่งธนบุรี ติดคลองบางจาก ปัจจุบันตั้งอยู่ในแขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหานิกาย
ประวัติ
[แก้]วัดยาง (บางจาก) สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2383 โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2388 โดยที่มาของชื่อวัด เนื่องจากที่หลังคาพระอุโบสถมักจะมีนกกระเรียนมาเกาะอยู่เสมอ และในบริเวณวัดมีการปลูกต้นยาง รวมทั้งด้านทิศใต้ของวัดติดคลองบางจาก จึงได้ชื่อว่า"วัดยาง (บางจาก)" ปัจจุบันมีพระครูสังฆรักษ์สามารถ สุจิณฺโณ เป็นเจ้าอาวาส และมีพระภิกษุสามเณรจำพรรษารวมทั้งสิ้น 13 รูป
อาณาบริเวณวัด
[แก้]- ทิศเหนือ ติดกับซอยเพชรเกษม 28 แยก 21
- ทิศตะวันออก ติดกับซอยเพชรเกษม 28
- ทิศใต้ ติดกับคลองบางจาก
- ทิศตะวันตก ติดกับที่ดินของเอกชน
สิ่งก่อสร้างและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด
[แก้]อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุของวัด พระอุโบสถเป็นแบบก่ออิฐถือปูน ไม่มีช่อฟ้าใบระกาประดับ เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศไทยมีการค้าขายทางเรือสำเภากับสาธารณรัฐประชาชนจีน วัดในสมัยนั้นจึงได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมจากจีนมาด้วย ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปปางตรัสรู้ มีพุทธลักษณะงดงามมาก สร้างด้วยศิลาแลงก่ออิฐถือปูน นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สมัยอยุธยาคือ หลวงพ่อนพเก้า สร้างด้วยศิลาแลงก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทองปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 84 นิ้ว สูง 95 นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงามมาก โดยเฉพาะที่มาของชื่อองค์หลวงพ่อคือ มีนิ้วเท้าจำนวน 9 นิ้ว กล่าวขานกันว่าท่านมีเมตตามหานิยม และให้โชคลาภแก่ชาวบ้านและผู้ที่มากราบไหว้เป็นประจำ ซึ่งทางวัดได้กำหนดจัดงานสักการะบูชาและปิดทองหลวงพ่อนพเก้าเป็นประจำในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
[แก้]รถโดยสารประจำทาง
[แก้]สำหรับรถโดยสารประจำทางไม่สามารถเข้ามาถึงบริเวณวัดได้โดยตรง เนื่องจากซอยทางเข้าวัดค่อนข้างคับแคบ แต่สามารถลงจากรถโดยสารประจำทางที่ป้ายรถเมล์บริเวณถนนเพชรเกษมและถนนราชพฤกษ์เพื่อเดินทางเข้ามาที่วัดได้
- สายรถประจำทางจากถนนเพชรเกษม
- 7 วัดราษฎร์รังสรรค์ - สถานีรถไฟหัวลำโพง
- 7ก พุทธมณฑลสาย 2 (อู่บรมราชชนนี) - พาหุรัด
- 80 วัดศรีนวลธรรมวิมล - สนามหลวง
- 80ก หมู่บ้านวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 11 - สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
- 84 วัดไร่ขิง - สถานี BTS วงเวียนใหญ่
- 84ก หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา 3 - วงเวียนใหญ่
- 91 หมู่บ้านเศรษฐกิจ - สนามหลวง
- 91ก สนามหลวง 2 - สนามหลวง
- 101 พุทธมณฑลสาย 2 (อู่บรมราชชนนี) - ตลาดโพธิ์ทอง
- 147 วงกลมการเคหะธนบุรี - เดอะมอลล์บางแค - เดอะมอลล์ท่าพระ
- 165 พุทธมณฑลสาย 2 (อู่บรมราชชนนี) - สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
- 189 วัดบางยาง (กระทุ่มแบน) - สนามหลวง
- 509 บางแค - หมอชิต 2
- 547 หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา 3 - สวนลุมพินี
- สำหรับฝั่งมุ่งหน้าแยกท่าพระ สามารถลงได้ที่ป้ายรถเมล์ตลาดเสนีย์ บริเวณปากซอยเพชรเกษม 28 และเดินเข้าซอยเพื่อเดินทางเข้าวัดยาง (บางจาก) สำหรับฝั่งมุ่งหน้าแยกต่างระดับเพชรเกษม สามารถลงได้ที่ป้ายรถเมล์โรงพยาบาลพญาไท 3 บริเวณปากซอยเพชรเกษม 21 และข้ามสะพานลอยไปซอยเพชรเกษม 28 และเดินเข้าซอยเพื่อเดินทางเข้าวัดยาง (บางจาก)
- สายรถประจำทางจากถนนราชพฤกษ์
- 89 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ - ถนนสวนผัก
- 710 วงกลมราชพฤกษ์ - จรัญสนิทวงศ์ - อรุณอมรินทร์
- 751 สะพานพระราม 4 - สถานี BTS บางหว้า
- สามารถลงได้เพียงฝั่งเดียว คือฝั่งมุ่งหน้าแยกต่างระดับเพชรเกษม สามารถลงได้ที่ป้ายรถเมล์คลองบางเพลี้ย และเดินเข้าซอยราชพฤกษ์ 6 เพื่อเดินทางเข้าวัดยาง (บางจาก)
ระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ
[แก้]- รถไฟฟ้าบีทีเอส (สายสีลม)