วัดนาคปรก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดนาคปรก
วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (33).jpg
Map
ชื่อสามัญวัดนาคปรก
ที่ตั้งถนนเทอดไท แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระกิตติโสภณวิเทศ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดนาคปรก เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่บนถนนเทอดไท แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ด้านทิศตะวันออกติดกับวัดนางชีโชติการาม ทิศใต้ติดกับคลองบางหว้า และด้านทิศตะวันตกติดกับโรงเรียนวัดนาคปรก

วัดนาคปรกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2291 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา 19 ปี) เป็นช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นวัดที่ชุมชนร่วมกันสร้าง เดิมชื่อ วัดปก เนื่องจากตั้งอยู่กลางสวนเหมือนป่าปกคลุม หรือปกไว้ ต่อมาวัดเสื่อมโทรมลง จนในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าสัวพุก แซ่ตัน (พระบริบูรณ์ธนากร) และภรรยาซึ่งเป็นคนไทย ได้บูรณะอุโบสถ ให้ช่างฝีมือจากเมืองจีน เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปเครื่องมงคลจีน และเครื่องไหว้ต่าง ๆ เป็นศิลปะจีนแบบมหายาน ยังได้ขอพระราชทานพระพุทธรูปสุโขทัยที่รัชกาลที่ 1 ทรงให้รวบรวมจากหัวเมืองต่าง ๆ มาเป็นพระประธาน โดยพระประธานองค์ประดิษฐานที่วิหารนั้นมีพญานาค 7 เศียรแผ่พังพาน เป็นรูปปูนปั้น องค์พระเป็นพระปางมารวิชัยสัมฤทธิ์ ชาวบ้านจึงได้เรียกว่า วัดนาคปรก[1]

ต่อมา พ.ศ. 2506–2525 ในยุคพระครูศรีพัฒนคุณ เป็นเจ้าอาวาส มีการมุงหลังคาพระอุโบสถใหม่และปูพื้นหินอ่อน และต่อมาในสมัยพระครูวรกิตติโสภณ (เศรษฐกิจ) เป็นเจ้าอาวาส ราวปี พ.ศ. 2554 ได้ยกพื้นอุโบสถขึ้น 5 เมตร กลายเป็นโบสถ์ 2 ชั้น โดยได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากร[2]

การพระราชทานวิสุงคามสีมา เข้าใจว่าได้รับพระราชทานมาแต่เดิมประมาณ พ.ศ. 2291[3] กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนวัดนาคปรกเป็นโบราณสถาน เมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2520

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดนาคปรก". ธรรมะไทย.
  2. สมาน สุดโต. "การบูรณะปฏิสังขรณ์ ถาวรวัตถุทางศาสนา มีบางเรื่อง บางอย่าง". โพสต์ทูเดย์.
  3. "ข้อเท็จจริง วัดนาคปรก วัดประจำตระกูล "ตั้ว-ศรัณยู"?". ฐานเศรษฐกิจ. 12 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)