ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศอินโดนีเซีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
→‎อ้างอิง: พระสัมมาสัมพุทธตน
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 254: บรรทัด 254:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|}}
{{รายการอ้างอิง|}} อังกฤษ ยุโดึฝึฟิปิยะ
ผิว มวลฟันเล็กหรือเปล่า


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:15, 12 มกราคม 2563

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

Republik Indonesia (อินโดนีเซีย)
คำขวัญBhinneka Tunggal Ika
(ชวาเก่า/กาวี: "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย")
ที่ตั้งของอินโดนีเซีย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
จาการ์ตา
ภาษาราชการภาษาอินโดนีเซีย
การปกครองประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี
โจโก วีโดโด
• รองประธานาธิบดี
Ma'ruf Amin
เอกราช 
• ประกาศ
17 สิงหาคม พ.ศ. 2488
• เป็นที่ยอมรับ
27 ธันวาคม พ.ศ. 2492
พื้นที่
• รวม
1,904,569 ตารางกิโลเมตร (735,358 ตารางไมล์) (14)
4.85
ประชากร
• 1 กรกฎาคม 2561 ประมาณ
265,015,300 (4)
116 ต่อตารางกิโลเมตร (300.4 ต่อตารางไมล์) (84)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
3.257 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
12,432 ดอลลาร์สหรัฐ
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
1.020 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
3,895 ดอลลาร์สหรัฐ
จีนี (2556)39.5[1]
ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง
เอชดีไอ (2559)เพิ่มขึ้น 0.689
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · ที่ 113
สกุลเงินรูปียะฮ์ (IDR)
เขตเวลาUTC+7 to +9 (มีหลายเขต)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+7 to +9 (ไม่ใช้)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์62
โดเมนบนสุด.id

อินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย: Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีรียัน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor)

ประวัติ

เปอลิงกีฮ์เมรูของปูราตามันอายุน จังหวัดบาหลี เดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรบาดุง

อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่ประมาณ 301 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่นแต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลงคือ เมื่อผู้รักชาติอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่าง ๆ ขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย

เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าของอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซียได้ ระหว่างการเรียกร้องเอกราชทำให้เกิดผู้นำในการเรียกร้องหลายท่านที่ควรค่าแก่การยกย่องดังที่พบในรายนามวีรบุรุษแห่งชาติ (อินโดนีเซีย) เช่น กี ฮาจาร์ เดเวนตารา (Ki Hajar Dewantara) จากนั้นอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกาจาตี (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจรัฐของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลงโดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซียทำให้ประเทศอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย ได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาทโดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมและได้เรียกร้องให้หยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียสามารถช่วยเหลือนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่งและคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย

ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราชแต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอีรียันตะวันตกเข้ากับอินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุดเนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคุมดูแลอีรียันตะวันตกและให้ชาวอีรียันตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติปรากฏว่าชาวอีรียันตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอีรียันตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506

ภูมิศาสตร์

อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 1,826,440 ตารางกิโลเมตร มีประมาณ 17,000 เกาะ พื้นที่กว่า 70% ไม่มีผู้คนอาศัย มีภูเขาสูงตามเทือกเขาที่มีความสูงมากอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟและมีที่ราบรอบเทือกเขา ชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล ทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วยหนองบึงใช้ประโยชน์ไม่ได้

ประเทศอินโดนีเซียมีเกาะหลัก 5 เกาะคือ นิวกินี, ชวา, กาลีมันตัน, ซูลาเวซี และสุมาตรา เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะสุมาตรา ส่วนเกาะชวาเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในบรรดาเกาะหลักทั้ง 5 เกาะ แต่ประมาณร้อยละ 60 ของประชากรกว่า 200 ล้านคนอาศัยอยู่บนเกาะนี้และเป็นที่ตั้งกรุงจาการ์ตาซึ่งเป็นเมืองหลวง หมู่เกาะเหล่านี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก ชายฝั่งของประเทศอินโดนีเซียยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร และมีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ปาปัวนิวกีนี และติมอร์-เลสเต

ภูมิอากาศ

ลักษณะอากาศแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน) อินโดนีเซียมีฝนตกชุกตลอดปี แต่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก เพราะพื้นที่เป็นเกาะจึงได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่

การเมืองการปกครอง

ประเทศอินโดนีเซียมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ปกครองประเทศ

การแบ่งเขตการปกครอง

ปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 31 จังหวัด ([provinsi] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)), 2 เขตปกครองพิเศษ* ([daerah istimewa] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) และ 1 เขตนครหลวงพิเศษ** ([daerah khusus ibukota] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) โดยมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักของแต่ละจังหวัด ได้แก่

กองทัพ

เศรษฐกิจ

จาการ์ตาในปี พ.ศ. 2551 ในภาพเห็นอาคารวิซมา 46 ตึกระฟ้าที่สูงที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศ ตั้งอยู่ใจกลางย่านเศรษฐกิจของเมือง

เศรษฐกิจของอินโดนีเซียเป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นแหล่งสำคัญที่สุดในการทำรายได้ให้อินโดนีเซีย นับแต่ยุคหลังได้รับเอกราชตลอดมา ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียได้นำรายได้มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการขนส่งและการคมนาคมสร้างฐานอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูง มุ่งหวังสร้างความแข็งแกร่งให้กับการอุตสาหกรรมของประเทศ ดังนั้น เมื่อเกิดวิกฤตน้ำมันในตลาดโลกในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2523 – 2527 ซึ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของอินโดนีเซีย รัฐบาลจึงหันมาส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตเพื่อลดการพึ่งพา รายได้จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ แร่โลหะที่มีค่า สินค้าอุตสาหกรรม ต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนาภาคเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้อินโดนีเซียมีข้าวเพียงพอสำหรับเลี้ยงตนเองได้โดยไม่ต้องนำเข้าอีกต่อไป ยกเว้นบางปีที่ผลผลิตข้าวไม่ดี ขณะเดียวกันรายได้จากการ ส่งออกสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติก็เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะสินค้า อุตสาหกรรมได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญในปัจจุบัน โดยคิดเป็นร้อยละ 75 ของสินค้าออก ทั้งหมด

ในด้านอุตสาหกรรม อินโดนีเซียได้พัฒนาอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ อาทิ อุตสาหกรรมต่อเรือที่จาการ์ตา สุราบายา เซอมารัง และอัมบอยนา อุตสาหกรรมผลิตเครื่องบิน อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ชนิดต่าง ๆ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อุปกรณ์และส่วนประกอบ อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมกระจก

เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ รัฐบาลอินโดนีเซียได้พยายามปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบเรื่องเศรษฐกิจการค้า การเงิน การธนาคาร และการลงทุน เพื่อให้มีความเสรีและสะดวก ยิ่งขึ้น การผ่อนคลายรูปแบบของเศรษฐกิจที่มีรัฐควบคุมอยู่มาก เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนต่างชาติเข้ามาลงทุนในกิจการหลาย ๆ ภาคที่เคยจำกัดไว้ รวมทั้งด้านสาธารณูปโภค อาทิ การพัฒนาแหล่งพลังงานไฟฟ้า การคมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม เป็นต้น

ดังนั้น เศรษฐกิจของอินโดนีเซียจึงมีการขยายตัวและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ความมั่นคงทางการเมือง ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ และค่าจ้างแรงงานไม่สูงมาก ล้วนเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการลงทุนของต่างชาติ อย่างไรก็ตาม การประกอบการที่ดำเนินแต่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ การกู้ยืมเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากภายนอกเพื่อลงทุนในกิจการที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ การผลิตและประกอบการที่ไม่มีการแข่งขันเนื่องจากได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตประเทศอื่นได้

การไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการโยกย้ายเงินทุน การโจมตีค่าเงินในภูมิภาค หนี้สินต่างประเทศ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย รวมทั้งในอินโดนีเซียในช่วงปี พ.ศ. 2540 – 2541 ก่อให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ซึ่งอินโดนีเซียต้องพึ่งพากู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก

สินค้าออกที่สำคัญของอินโดนีเซีย นอกจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแล้ว ได้แก่ ไม้อัดพลายวูด เสื้อผ้า ผ้าผืน ยางแปรรูป รองเท้า อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ สินแร่โลหะและผลิตผลทางการเกษตร ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ส่วน สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ รถยนต์ แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และเกาหลีใต้

การคมนาคม

รถโดยสารสาธารณะทรานส์จาการ์ตา เข้าเทียบท่าที่ป้ายรถประจำทางบนช่องทางเดินรถพิเศษ

การคมนาคมในอินโดนีเซียได้รับอิทธิพลจากทรัพยากรและประชากรของชาติหมู่เกาะนี้ โดยเฉพาะการขนส่งประชากรกว่า 250 ล้านคน แค่เฉพาะบนเกาะชวาอย่างเดียว[2] การขนส่งในประเทศมีแนวโน้มจะเป็นแบบเกื้อกูลช่วยเหลือกันมากกว่าเป็นการแข่งขันในเชิงเศรษฐกิจ ในปี 2016 เม็ดเงินจากการคมนาคมขนส่งอย่างเดียวคิดเป็น 5.2% ของจีดีพี[3]

ระบบถนนทั้งประเทศมีความยาวรวม 537,838 กิโลเมตร (334,197 ไมล์) (2016)[4] โดยจาการ์ตามีระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษที่ขึ้นชื่อว่ามีเส้นทางเดินรถยาวที่สุดในโลก "ทรานส์จาการ์ตา" (TransJakarta) ด้วยระยะทาง 230.9 กิโลเมตร (143.5 ไมล์) ใน 13 สายที่วิ่งจนถึงชานเมืองจาการ์ตา[5] รถสามล้อ เช่น bajaj, becak และแท็กซี่แบบแบ่งกัน (share taxi) เช่น Angkot และ Metromini เป็นรูปแบบการขนส่งท้องถิ่นที่พบได้ทั่วไปในประเทศ ระบบการขนส่งทางรางส่วนมากกระจุกตัวอยู่ในชวา ทั้งขนส่งผู้โดยสารและสินค้า สำหรับรถไฟฟ้าและโมโนเรลกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในจาการ์ตาและปาเล็มบัง ภายใต้ชื่อ MRT และ LRT[6][7] นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงซึ่งประกาศในปี 2015 ถือเป็นชาติแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ริเริ่มแนวคิดนี้[8]

เครื่องบินของการูดาอินโดนีเซียที่ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา

ท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียคือ ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา ซึ่งเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารผ่านเข้าออกมากที่สุดในซีกโลกใต้ ราว 63 ล้านคน ในปี 2017[9] โดยมีท่าอากาศยานนานาชาติงูระฮ์ ไร และ ท่าอากาศยานนานาชาติจ็วนดา มีผู้โดยสารเข้าออกมากที่สุดรองลงมาตามลำดับ สายการบินประจำชาติ "การูดาอินโดนีเซีย" เปิดตัวในปี 1949 ในปัจจุบันสายการบินชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก และเป็นสมาชิกของสกายทีม ส่วนการคมนาคมทางน้ำมีท่าเรือตันจัง ปริอ็อก เป็นท่าสำคัญที่มีการใช้งานเยอะที่สุดและขึ้นชื่อว่าทันสมัยที่สุดในประเทศ[10] รองรับการขนส่งสินค้ามากกว่า 50% ของการขนส่งทางเรือทั้งหมดของประเทศ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดวงตราไปรษณียากรที่ระลึกการปล่อยดาวเทียมปาลาปา

งบประมาณแผ่นดินที่ใช้ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาติถือว่าต่ำ น้อยกว่า 0.1% ของจีดีพีในปี 2017[11] อินโดนีเซียจึงถือว่าไม่ใช่ประเทศที่เป็นผู้นำด้านนี้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียมีภูมิปัญญาพื้นบ้านอันช่วยให้การดำรงชีวอตขแงชาวพื้นเมืองสะดวกสบสยขึ้นและเป็นที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะภูมิปัญญาพื้นบ้านในการสร้างนาขั้นบันไดที่เรียกว่า เตอราเซอร์ และเรือไม้ของชาวบูกิสและชาวมากัสซาร์ ที่เรียกว่าเรือ "ปีนีซี"[12]

อินโดนีเซียเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่มีการพัฒนาและคิดค้นอากาศยานในการทหารเป็นของตนเองมาเป็นเวลานาน ในปัจจุบันประเทศอินโดนีเซียยังเป็นผู้นำในการผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ส่งออกให้กับโบอิ้ง และ แอร์บัส[13][14] อินโดนีเซียยังเคยเข้าร่วมโครงการของเกาหลีใต้ในการคิดค้นและสร้างเครื่องบินเจ็ตไล่ล่า รุ่นที่ 5 KAI KF-X.[15]

อินโดนีเซียยังมีโครงการและหน่วยงานด้านอวกาศของตนเอง สถาบันด้านการบินและอวกาศแห่งชาติ (Lembaga Penerbangan dan Antariksa Nasional, LAPAN) ซึ่งในราวทศวรรศปี 1970 อินโดนีเซียเป็นชาติกำลังพัฒนาชาติแรกที่ได้ส่งระบบดาวเทียมขึ้นไปโคจร ชื่อว่าปาลาปา[16] อันเป็นกลุ่มดาวเทียมสื่อสารที่อินโดแซต อูเรอดู เป็นเจ้าของ ดาวเทียมดวงแรกของโครงการ ปาลาปา เอ 1 ได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรในอวกาศเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 1976 จากศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา[17] จนถึงปัจจุบันมีดาวเทียมกลุ่มปาลาปา รวม 16 ดวงที่ถูกส่งไปโคจร[18] และ LAPAN ยังยืนยันไม่หยุดพัฒนาเท่านี้ และแสดงเจตจำนงที่จะส่งดาวเทียมจากฐานในประเทศภายในปี 2040[19]

การท่องเที่ยว

บุโรพุทโธ แหล่งมรดกโลกและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในยกยาการ์ตา

รายได้จากภาคการท่องเที่ยวคิดเป็น 28.2 พันล้าน ดอลล่าร์สหรัฐ[20] ในปี 2017 อินโดนีเซียมีนักท่องเที่ยวจำนวน 14.04 ล้านคน เพิมขึ้นราว 21.8% จากปี 2016[21] โดยเฉลี่ยแล้วนักท่องเที่ยวใช้จ่ายเงินราว 2,009 ดอลล่าร์สหรัฐต่อคน นักท่องเที่ยวกลุ่มหลักได้แก่ชาวจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลย และญี่ปุ่น ตามลำดับ ตั้งแต่ปี 2011 กระทรวงการท่องเที่ยว (อินโดนีเซีย) ได้ประกาศสโลแกนการท่องเที่ยวคือ อินโดนีเซียมหัศจรรย์ (Wonderful Indonesia) ซึ่งยังคงใช้มาจนปัจจุบัน[22] สถานที่ท่องเที่ยวในอินโดนีเซียมีทั้งเชิงสิ่งแวดล้อม เช่น ชายหาดและทะเลที่ขึ้นชื่อและป่าดงดิบจำนวนมากทั่วประเทศ และสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่นแหล่งมรดกโลกสำคัญ อย่าง บุโรพุทโธ และ ปรัมบานัน

ประชากร

จำนวนประชากรทั้งหมด 251,170,193 คน โดยการประมาณการของสหประชาชาติ[ต้องการอ้างอิง]

เชื้อชาติ

ชาวอินโดนีเซียส่วนมากสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าที่พูดตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ภาษาของกลุ่มชนดังกล่าวสามารถที่จะสืบค้นย้อนไปถึงภาษาออสโตรเนเชียนดั้งเดิม ซึ่งเป็นไปได้ว่ามีต้นกำเนิดในไต้หวัน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มชนเผ่าที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง คือ เผ่าเมลาเนเซียน ผู้ซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะปาปัว ภาคตะวันออก ของประเทศอินโดนีเซีย ชาวชวา คือ กลุ่มชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ซึ่งมีอยู่ราว 42% ของจำนวนประชากร เป็นกลุ่มชนชั้นนำทางการเมือง และวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนชาติหลักๆ ที่มีจำนวนพอ ๆ กับชาวชวา เช่น ชาวซุนดา ชาวมลายู และชาวมาดูรา จิตสำนึกของความเป็น ชาวอินโดนีเซีย จะขนานควบคู่ไปกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่นตนเองอย่างเหนียวแน่น ความตึงเครียดทางสังคม ศาสนา และเชื้อชาติ เป็นสิ่งที่เคยกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง อันน่าสะพรึงกลัวมาแล้ว ชาวอินโดนิเซียเชื้อสายจีน เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศ แต่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่ง มีจำนวนราว ๆ ร้อยละ 3-4 ของจำนวนประชากรอินโดนีเซีย

ศาสนา

ศาสนาในประเทศอินโดนีเซีย (2010)
ศาสนา ร้อยละ
อิสลาม
  
87.2%
คริสต์
  
7.0%
คาทอลิก
  
2.9%
พุทธ
  
0.7%
ฮินดู
  
1.7%
ขงจื๊อและอื่น ๆ
  
0.2%
ปัทมาสน์ (อาสนะที่ว่างเปล่า) สัญลักษณ์ของเทพอจินไตย เทพเจ้าสูงสุดของศาสนาฮินดูแบบบาหลี ศาสนาฮินดูมีผู้นับถือเป็นหลักบนเกาะบาหลี

ในปี ค.ศ. 2018[23] ประเทศอินโดนีเซียมีผู้นับถือศาสนา แบ่งได้ดังนี้ ศาสนาอิสลาม 87.2% ศาสนาคริสต์ 7% ศาสนาฮินดู 2.9% ศาสนาพุทธ 0.7% ลัทธิขงจื๊อและศาสนาอื่น ๆ 0.2%

โดยศาสนาฮินดูมีผู้นับถือเป็นหลักบนเกาะบาหลี คิดเป็นราว 84% ของประชากรทั้งหมด นับถือศาสนาฮินดูแบบบาหลี อันต่างจากศาสนาฮินดูในอนุทวีปอินเดียในบางส่วน เช่น มีศาสนสถานที่เรียกว่าปูรา นับถือเทพเจ้าสูงสุดคือ อจินไตย (เทพเจ้า) เป็นต้น

การศึกษา

สถาบันตามานซิสวา โรงเรียนแรกที่เปิดสอนแก่ชนพื้นเมืองในอินโดนีเซีย ซึ่งก่อตั้งโดยกี ฮาจาร์ เดเวนตารา

ระบบการศึกษาในโรงเรียนของอินโดนีเซีย ประกอบด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาชั้นมัธยมและการศึกษาระดับสูง และยังมีการศึกษาก่อนวัยเรียนเพื่อเตรียมควมพร้อมของเด็ก การศึกษาขั้นพื้นฐานของอินโดนีเซียกินเวลา 9 ปี ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นการสร้างเสริมทักษะพื้นฐานให้แก่ ผู้เรียนเตรียมความพร้อมในฐานะปัจเจกชน ประชาชน และมนุษยชาติ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนี้จัดแบ่งโรงเรียนเป็น 2 ลักษณะ คือ โรงเรียนประถมศึกษาทั่วไป (General primary school) และโรงเรียนประถมศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิการ (Special primary school for handicapped children)

ระบบการศึกษาของอินโดนีเซียตั้งวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาไว้ว่า

  1. พัฒนาความรู้ของนักเรียนสำหรับการศึกษาต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้นและเพื่อพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์แขนงต่างๆ
  2. พัฒนาความสามารถของนักเรียนในฐานะเป็นสมาชิกของสังคมให้มีปฏิสัมพันธ์ต่อสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

โรงเรียนมัธยมศึกษาของอินโดนีเซีย แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 6 แบบ เพื่อผลิตนักเรียนตามความต้องการของผู้เรียนในอนาคต ดังนี้

  1. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั่วไป เป็นการเตรียมความรู้ และพัฒนาทักษะสำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป
  2. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาทางวิชาชีพ สามารถแยกการศึกษานี้ออกเป็น 6 กลุ่ม ในสาขาวิชาชีพต่างๆ ได้แก่ เกษตรกรรมและการป่าไม้ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ธุรกิจและการจัดการ ความเป็นอยู่ของชุมชน การท่องเที่ยว และศิลปะหัตถกรรม
  3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาด้านศาสนา
  4. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาด้านการบริการ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความรู้ความสามารถสำหรับผู้ที่จะเข้าเป็นพนักงานหรือข้าราชการ
  5. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาพิเศษ เป็นการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่พิการทางร่างกายหรือจิตใจ
  6. การศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรีใช้เวลา 3-4 ปี ปริญญาโท 2 ปี ปริญญาเอก 3 ปี สถาบันที่ให้การศึกษาระดับสูงนี้มีลักษณะเป็นสถาบันวิชาการ โพลีเทคนิค สถาบันการศึกษา และมหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่สะท้อนปัญหาความไม่สมดุลในการจัดการศึกษาของอินโดนีเซีย เนื่องจากอินโดนีเซียมีประชากรจำนวนมากที่สุดในอาเซียนคือ 243 ล้านคน แต่มีผู้เข้าสูงการศึกษาขั้นสูงหรือระดับปริญญาตรีขึ้นไปประมาณ 4.8 ล้านคนเท่านั้น ทั้งกลุ่มคนเหล่านี้ก็สนใจที่จะศึกษาต่อในต่างประเทศเพื่อสร้างโอกาสในการทำงาน เคยมีผลสำรวจระบุว่า นายจ้างในอินโดนีเซียยินดีรับผู้จบการศึกษาจากต่างประเทศมากกว่าผู้ที่จบในประเทศค่านิยมแบบนี้จึงผลักดันให้เยาวชนอินโดนีเซียต้องออกไปศึกษาต่อขั้นสูงในต่างประเทศแทน

วัฒนธรรม

พระราชวังมีนังกาเบา ที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมบ้านพื้นเมือง (รูมะฮ์อาดัต) แบบรูมะฮ์กาดัง

วัฒนธรรมดั้งเดิมของอินโดนีเซียนั้นมีมาราว 2 สหัสวรรศ โดยได้รับอิทธิพลจากอนุทวีปอินเดีย จีนแผ่นดินใหญ่ ตะวันออกกลาง ยุโรป (ในช่วงล่าอาณานิคม)[24][25] และชาวเกาะพื้นเมืองออสโตรนีเซียน ล้วนส่งผลให้อินโดนีเซียในปัจจุบันมีวัฒนธรรมแบบพหุวัฒนธรรม พหุเชื้อชาติ และพหุภาษา[26][27] ซึ่งทำให้มีลักษณะที่แตกต่างไปจากชนพื้นเมืองชาวเกาะดั้งเดิม มีความซับซ้อนในวัฒนธรรมสูง ในปัจจุบันอินโดนีเซียเป็นเจ้าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 9 รายการ เช่น มหรสพวายัง (คล้ายหนังตะลุงของไทย), ผ้าบาติก, การเต้นพื้นเมืองบาหลี เป็นต้น[28]

สถาปัตยกรรม

ซุ้มประตูจันดีเบินตาร์ ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมบาหลีและบันไดทางเข้าปูราเบอซากิฮ์บนเกาะบาหลี

สถาปัตยกรรมอินโดนีเซียนั้นได้รับอิทธิพลจากหลากหลายวัฒนธรรม โดยได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมของอินเดียเป็นหลัก ผสมผสานกับอิทธิพลจีน อาหรับ มุสลิม และยุโรป บ้านแบบดั้งเดิมของอินโดนีเซียเรียกรวม ๆ ว่า รูมะฮ์อาดัต (rumah adat) ซึ่งรูมะฮ์อาดัตแต่ละแบบก็ใช้การก่อสร้างและวัสดุในท้องถิ่น ถือ้ป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชนเผ่าพื้นเมืองแต่ละเผ่า[29] เช่น รูมะฮ์กาดังที่พบในซูลาเวซีใต้, ตงโกนันหรือบ้านหลังคาทรงเรือ, ศาลาแบบเป็นโดโป, หลังคาแบบจ็อกโล ของวัฒนธรรมชวา, บ้านยาว และ รูมะฮ์เมลายูหรือบ้านมาเลย์ ของชาวดายัก, สถาปัตยกรรมบาหลีที่พบใน โบสถ์พราหมณ์แบบบาหลี (ปูรา) และ โรงนา (ลัมบัง)

วรรณกรรม

วรรณกรรม ในสมัยที่ศาสนาฮินดู และพุทธศาสนาได้เข้าไปเผยแพร่ในอินโดนีเซีย วรรณกรรมของอินโดนีเซียมีความเจริญอย่างรวดเร็ว หนังสือที่มีชื่อเสียงในระยะนั้นได้แก่เรื่องเนการาเกอร์ตากามา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความยิ่งใหญ่ และอำนาจของอาณาจักรมัชปาหิต นอกจากนี้ยังมีหนังสือที่ได้รับความนิยมกันมากอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องปาราราตัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกษัตริย์อินโดนีเซียในสมัยนั้น เขียนเป็นภาษาชวาโบราณ ต่อมาเมื่อศาสนาอิสลามได้แพร่เข้าไปในอินโดนีเซีย ก็ได้มีผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับคำสอนของศาสนาอิสลาม และตำราหมอดูไว้หลายเล่ม โดยเขียนเป็นภาษาชวา

ดนตรีและนาฏศิลป์

มหรสพที่มีชื่อเสียงหนึ่งคือ ระบำบารง (Barong Dance) เป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเกาะบาหลี อินโดนีเซีย บารองเป็นสัตว์ในตำนาน ซึ่งมีหลังอานยาวและหางงอนโง้ง และเป็นสัญลักษณ์แทนวิญญาณดีงาม ซึ่งเป็นผู้ปกปักษ์รักษามนุษย์ต่อสู้กับรังดา ตัวละครที่เป็นสัญลักษณ์แทนวิญญาณชั่วร้าย ระบำบารงเป็นนาฏกรรมศักดิ์สิทธิ์ การร่ายรำมีท่าทีอ่อนช้อยงดงาม เสียงเพลงไพเราะ[30]

อาหาร

นาซีปาดัง, เร็นดัง, กูไล และผักนานาชนิด

อาหารอินโดนีเซียมีความหลากหลายสูงมาก[31][32] อาหารพื้นเมืองได้รับอิทธิพลจากจีน อาหรับ และยุโรป รวมทั้งเครื่องเทศทั้งที่พบในท้องถิ่นและนำเข้ามาปลูกจากอินเดีย[33] ข้าวเป็นอาหารหลักในอาหารออนโดนีเซีย ทานคู่กับอาหารคาว ส่วนมากปรุงรสด้วยเครื่องเทศ พริก กะทิ ปลา เนื้อไก่ เป็นวัตถุดิบหลัก[34]

อาหารขึ้นชื่อเช่น นาซี โกเร็ง, กาโด-กาโด, สะเต๊ะ, โซโต อย่างไรก็ตามกระทรวงการก่องเที่ยวแห่งชาติได้เลือกให้ ตัมเป็ง เป็นอาหารประจำชาติในปี ค.ศ. 2014[32] นอกจากนี้ยังมีอาหารปาดัง เช่น เร็นดัง เด็นดัง กูไล ซึ่งเมื่อปี 2017 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ภาคการท่องเที่ยว ได้เลือกให้เร็นดัง เป็นอาหารที่อร่อยที่สุด "ในโลก"[35] อาหารหมักดองที่เป็นที่รู้จัก เช่น อ็อนค็อม, เท็มเปะฮ์ ซึ่งนิยมมากในชวาตะวันตก

หนึ่งในอาหารที่คนไทยรู้จักกันดีคือ กาโด-กาโด (Gado Gado) เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของอินโดนีเซียคล้ายกับสลัดแขก ซึ่งจะประกอบด้วยถั่วเขียว มันฝรั่ง ถั่วงอก เต้าหู้ ไข่ต้มสุก กะหล่ำปลี ข้าวเกรียบกุ้ง รับประทานกับซอสถั่วที่มีลักษณะเหมือนซอสสะเต๊ะ อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ทำให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลี่ยนกะทิมากจนเกินไป และยังเป็นเหมือนอาหารสำหรับคนรักสุขภาพได้อีกด้วย

กีฬา

อ้างอิง

  1. "Indonesia". World Bank.
  2. Legge, John D. (April 1990). "Review: Indonesia's Diversity Revisited". Indonesia. 49 (49): 127–131. doi:10.2307/3351057. hdl:1813/53928. JSTOR 3351057.
  3. del Olmo, Esmeralda (6 November 2017). "Indonesian Transportation Sector Report 2017/2018". EMIS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2018. สืบค้นเมื่อ 24 October 2018. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  4. "Length of Road by Surface, 1957–2015 (Km)" (ภาษาอินโดนีเซีย). BPS. สืบค้นเมื่อ 20 December 2017.
  5. "Koridor" (ภาษาอินโดนีเซีย). TransJakarta. สืบค้นเมื่อ 15 August 2017.
  6. "MRT and LRT, Jakarta's New Rapid Transportation: Coming Soon". Indo Indians. 25 September 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2018. สืบค้นเมื่อ 17 January 2018. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  7. Alexander, Hilda B. (22 October 2016). "Palembang LRT to begin operation in June 2018" (ภาษาอินโดนีเซีย). Kompas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2016. สืบค้นเมื่อ 29 October 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  8. "South-east Asia's first high-speed rail in Indonesia ready for construction: China Railway Corp". The Straits Times. 2 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2018. สืบค้นเมื่อ 26 September 2018. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  9. "Soekarno-Hatta world's 17th busiest airport". The Jakarta Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2018. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  10. "The 13,466-island problem". The Economist. 27 February 2016. สืบค้นเมื่อ 16 June 2017.
  11. "Indonesia seeking greater funding for R&D". Oxford Business Group. 29 August 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2017. สืบค้นเมื่อ 25 August 2018. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  12. Kasten, Michael. "History of the Indonesian Pinisi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2016. สืบค้นเมื่อ 9 December 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  13. Dwi Sutianto, Feby (5 February 2016). "PTDI Ekspor 40 Unit Pesawat, Terlaris CN235" (ภาษาอินโดนีเซีย). detikFinance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2017. สืบค้นเมื่อ 15 August 2017. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  14. "Habibie receives honorary doctorate". The Jakarta Post. 30 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 5 March 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  15. "KF-X Fighter: Korea's Future Homegrown Jet". Defense Industry Daily. 21 November 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2017. สืบค้นเมื่อ 23 November 2017. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  16. Mcelheny, Victor K. (8 July 1976). "Indonesian Satellite to Be Launched". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2018. สืบค้นเมื่อ 2 August 2018. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  17. "Planning and Development of Indonesia's Domestic Communications Satellite System PALAPA". Online Journal of Space Communication. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2015. สืบค้นเมื่อ 18 May 2015. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  18. "Satellites by countries and organizations: Indonesia". N2YO. สืบค้นเมื่อ 28 July 2018.
  19. Faris Sabilar Rusydi (17 June 2016). "Lapan Target Luncurkan Roket Pengorbit Satelit Pada 2040" (ภาษาอินโดนีเซีย). National Institute of Aeronautics and Space (LAPAN). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2017. สืบค้นเมื่อ 16 August 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ TTCR
  21. "BPS records 14.04 million tourist arrivals in 2017". The Jakarta Post. 1 February 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2018. สืบค้นเมื่อ 5 October 2018. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  22. Erwida, Maulia (6 January 2011). "Tourism Ministry set to launch 'Wonderful Indonesia' campaign". The Jakarta Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2014. สืบค้นเมื่อ 12 March 2014. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  23. [1] Religion in Indonesia
  24. Forshee, Jill (2006). "Culture and Customs of Indonesia" (PDF). Greenwood Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 10 October 2017. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  25. Henley, David (2015). "Indonesia". The Wiley Blackwell Encyclopedia of Race, Ethnicity, and Nationalism. The Wiley Blackwell Encyclopedia of Race, Ethnicity, and Nationalism. John Wiley & Sons, Inc. pp. 1–7. doi:10.1002/9781118663202.wberen460. ISBN 978-1-118-66320-2.
  26. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ethnologue
  27. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Expat
  28. "Indonesia – Intangible heritage, cultural sector". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 21 December 2017.
  29. Reimar Schefold; P. Nas; Gaudenz Domenig, บ.ก. (2004). Indonesian Houses: Tradition and Transformation in Vernacular Architecture. NUS Press. p. 5. ISBN 978-9971-69-292-6.
  30. http://department.utcc.ac.th/thaiculture/index.php/360/51-barong-dance
  31. "About Indonesian food". Special Broadcasting Service. 13 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2015. สืบค้นเมื่อ 21 May 2015. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  32. 32.0 32.1 Natahadibrata, Nadya (10 February 2014). "Celebratory rice cone dish to represent the archipelago". The Jakarta Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  33. Witton, Patrick (2002). World Food: Indonesia. Melbourne: Lonely Planet. ISBN 978-1-74059-009-9.
  34. Brissendon, Rosemary (2003). South East Asian Food. Melbourne: Hardie Grant Books. ISBN 978-1-74066-013-6.
  35. Cheung, Tim (12 July 2017). "Your pick: World's 50 best foods". CNN Travel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)

อังกฤษ ยุโดึฝึฟิปิยะ

ผิว มวลฟันเล็กหรือเปล่า

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
การท่องเที่ยว