จังหวัดซูลาเวซีใต้
จังหวัดซูลาเวซีใต้ Provinsi Sulawesi Selatan (อินโดนีเซีย) | |
---|---|
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย : ค่ำคืนในมากัสซาร์, อ่างเก็บน้ำบีลีบีลี, บ้านเรือนแบบตงโกนันในตานะฮ์โตราจา, ภูเขาหินปูนในมารซ, ทุ่งนาในจังหวัดซูลาเวซีใต้, บ้านลอยน้ำในทะเลสาบเตมเป, หาดตันจุงบีรา | |
คำขวัญ: Toddo' Puli / ᨈᨚᨉᨚᨄᨘᨒᨗ (Keep the faith) | |
ที่ตั้งจังหวัดซูลาเวซีใต้ในประเทศอินโดนีเซีย | |
พิกัด: 4°20′S 120°15′E / 4.333°S 120.250°E | |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
ก่อตั้ง | 19 ตุลาคม ค.ศ. 1669 |
ก่อตั้งเป็นจังหวัด | 13 ธันวาคม ค.ศ. 1960 |
เมืองหลัก | มากัซซาร์ |
การปกครอง | |
• องค์กร | South Sulawesi Regional Government |
• ผู้ว่าการ | ซูดาน อารีฟ ฟาครูลโลห์ (รักษาการ) |
• รองผู้ว่าการ | ตำแหน่งว่าง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 46,717.48 ตร.กม. (18,037.72 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | 16 |
ความสูงจุดสูงสุด | 3,478 เมตร (11,411 ฟุต) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 9,225,747 คน |
• ความหนาแน่น | 200 คน/ตร.กม. (510 คน/ตร.ไมล์) |
ด้านประชากร | |
• กลุ่มชาติพันธุ์ | ชาวบูกิซ (41.9%), ชาวมากัซซาร์ (25.43%), ชาวโตราจา (9.02%), ชาวมันดาร์ (6.1%) |
• ศาสนา | อิสลาม (89.62%), โปรเตสแตนต์ (7.62%), โรมันคาทอลิก (1.54%), ศาสนาพุทธ (0.24%), ศาสนาฮินดู (0.72%), ลัทธิขงจื๊อ (0.004)[3] |
• ภาษา | อินโดนีเซีย (ทางการ) บูกิซ (ท้องถิ่น) มากัซซาร์ (ท้องถิ่น) โตราจา (ท้องถิ่น) มันดาร์ (ท้องถิ่น) |
เขตเวลา | UTC+08 (Indonesia Central Time) |
รหัสไปรษณีย์ | 90xxx, 91xxx, 92xxx |
รหัสโทรศัพท์ | (+62) 4xx |
รหัส ISO 3166 | ID-SN |
Vehicle sign | DD, DP, DW |
HDI | 0.684 (Medium) |
อันดับ HDI | 14 (2014) |
เมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดตามสัดส่วนของขนาด | ปาโลโป - 247.52 ตารางกิโลเมตร (95.57 ตารางไมล์) |
เมืองที่ขนาดใหญ่ที่สุดตามสัดส่วนประชากร | มากัซซาร์ - (1,339,374 - 2010) |
Largest regency by area | อำเภอลูวูเหนือ - 7,502.58 ตารางกิโลเมตร (2,896.76 ตารางไมล์) |
Largest regency by population | อำเภอโบเน - (717,268 - 2010) |
เว็บไซต์ | sulselprov |
ซูลาเวซีใต้ หรือ ซูลาเวซีเซอลาตัน[4] (อินโดนีเซีย: Sulawesi Selatan; บูกิส: ᨔᨘᨒᨓᨙᨔᨗ ᨒᨕᨘᨈ) เป็นจังหวัดในคาบสมุทรใต้ของเกาะซูลาเวซี หมู่เกาะเซลายาร์ซึ่งอยู่ทางใต้ของซูลาเวซีก็เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดนี้ด้วย จังหวัดนี้ติดกับจังหวัดซูลาเวซีกลางและจังหวัดซูลาเวซีตะวันตกทางทิศเหนือ ติดกับอ่าวโบเนและจังหวัดซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้ทางทิศตะวันออก ติดกับช่องแคบมากัซซาร์ทางทิศตะวันตก และติดกับทะเลโฟลเร็ซทางทิศใต้
จากข้อมูลสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2010 มีประชากร 8,032,551 คน ทำให้จังหวัดนี้เป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดบนเกาะ (ร้อยละ 46 ของจำนวนประชากรของเกาะซูลาเวซี) และเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากสุดอันดับ 6 ของอินโดนีเซีย จากการคาดคะเนประชากรในปี 2015 คาดว่ามีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 8.52 ล้านคน กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ของจังหวัดซูลาเวซีใต้คือ ชาวบูกิซ ชาวมากัซซาร์ ชาวโตราจา และชาวมันดาร์ เศรษฐกิจของจังหวัดขึ้นอยู่กับเกษตรกรรม การจับปลา และเหมืองทอง แมกนีเซียม เหล็ก และแร่อื่น ๆ เป็นหลัก เรือปีนีซียังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวบูกิซและมากัซซาร์ โดยส่วนใหญ่ใช้สำหรับการคมนาคมสั้น ๆ บรรทุกของ และจับปลาในหมู่เกาะของอินโดนีเซีย
ในยุคทองของการค้าเครื่องเทศระหว่างศตวรรษที่ 15 ถึง 19 จังหวัดซูลาเวซีใต้ถือเป็นประตูทางเข้าสู่หมู่เกาะโมลุกกะ ยังมีอาณาจักรเล็ก ๆ รวมถึงสองอาณาจักรที่โดดเด่นอย่าง อาณาจักรโกวา ใกล้กับมากัซซาร์ และอาณาจักรบูกิซที่ตั้งอยู่ในโบเน เมื่อบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (เฟโอเซ) เริ่มดำเนินงานในภูมิภาคนี้ในศตวรรษที่ 15 ต่อมาบริษัทได้มีความสัมพันธ์กับเจ้าชายบูกิซ พระนาม อารุง ปาลักกา พวกเขามีชัยเหนืออาณาจักรโกวา กษัตริย์แห่งโกวา สุลต่านฮาซานุดดิน ให้เซ็นสนธิสัญญาเพื่อเป็นการลดอำนาจของบุนกายา โกวา
หน่วยการบริหาร
[แก้]พื้นที่จังหวัดซูลาเวซีใต้แบ่งออกเป็น 21 อำเภอหรือกาบูปาเต็น 3 นครหรือโกตา และ 311 ตำบลหรือเกอจามาตัน[5][6]
- อำเภอ
- อำเภอเกอปูเลาวันเซอลายาร์ (Kabupaten Kepulauan Selayar)
- อำเภอโกวา (Kabupaten Gowa)
- อำเภอเจเนปนโต (Kabupaten Jeneponto)
- อำเภอซปเป็ง (Kabupaten Soppeng)
- อำเภอซินไจ (Kabupaten Sinjai)
- อำเภอซีเด็นเร็งรัปปัง (Kabupaten Sidenreng Rappang)
- อำเภอตากาลาร์ (Kabupaten Takalar)
- อำเภอตานาโตราจา (Kabupaten Tana Toraja)
- อำเภอโตราจาเหนือ (Kabupaten Toraja Utara)
- อำเภอบันตาเอ็ง (Kabupaten Bantaeng)
- อำเภอบาร์รู (Kabupaten Barru)
- อำเภอบูลูกุมบา (Kabupaten Bulukumba)
- อำเภอโบเน (Kabupaten Bone)
- อำเภอปังกาเจเนเกอปูเลาวัน (Kabupaten Pangkajene Kepulauan)
- อำเภอปินรัง (Kabupaten Pinrang)
- อำเภอมารซ (Kabupaten Maros)
- อำเภอลูวู (Kabupaten Luwu)
- อำเภอลูวูตะวันออก (Kabupaten Luwu Timur)
- อำเภอลูวูเหนือ (Kabupaten Luwu Utara)
- อำเภอวาโจ (Kabupaten Wajo)
- อำเภอเอ็นเรกัง (Kabupaten Enrekang)
- นคร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Provinsi Sulawesi Selatan Dalam Angka 2022". www.sulsel.bps.go.id. p. 69. สืบค้นเมื่อ 21 March 2022.
- ↑ Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2023.
- ↑ Indonesia Official Census http://sp2010.bps.go.id/index.php/site/tabel?tid=321
- ↑ ราชบัณฑิตยสภา. ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 (หน้า 25)
- ↑ Statistik Indonesia 2021 (ภาษาอินโดนีเซีย). สำนักงานสถิติแห่งประเทศอินโดนีเซีย. 2021-02-26. pp. 45–47. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
- ↑ "Peraturan Kepala Badan Pusat Statistik Nomor 120 Tahun 2020 Tentang Klasifikasi Desa Perkotaan dan Perdesaan di Indonesia Tahun 2020" (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). สำนักงานสถิติแห่งประเทศอินโดนีเซีย. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
บรรณานุกรม
[แก้]- Ananta, Aris; Arifin, Evi Nurvidya; Hasbullah, M Sairi; Handayani, Nur Budi; Pramono, Agus (2015). Demography of Indonesia's Ethnicity. Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 978-981-4519-87-8.
- Andaya, Leonard Y. (1981). The Heritage of Arung Palakka: A History of South Sulawesi (Celebes) in the Seventeenth Century. Ann Arbor: University of Michigan. ISBN 978-9024724635.
- Bulbeck, Francis David (1993). "New Perspectives on early South Sulawesi History". Baruga: Sulawesi Research Bulletin. Leiden: KITLV Press. 9: 10–18. OCLC 72765814.
- Druce, Stephen C. (2009). The Lands West of the Lakes: A History of the Ajattappareng Kingdoms of South Sulawesi, 1200 to 1600 CE. Leiden: Brill. ISBN 9789004253827.
- Pelras, Christian (1996). The Bugis. Oxford: Blackwell Publishers. ISBN 9780631172314.
- Reid, Helen and Anthony (1988). South Sulawesi. Berkeley, California: Periplus Press.