จังหวัดเบิงกูลู
จังหวัดเบิงกูลู Provinsi Bengkulu (อินโดนีเซีย) | |
---|---|
ที่ตั้งจังหวัดเบิงกูลูในประเทศอินโดนีเซีย | |
พิกัด: 3°48′S 102°15′E / 3.800°S 102.250°E | |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
เมืองหลัก | เบิงกูลู |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าการ | โรฮีดิน เมอร์ชะฮ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 19,919.33 ตร.กม. (7,690.90 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2010) | |
• ทั้งหมด | 1,813,393 คน |
• ความหนาแน่น | 91 คน/ตร.กม. (240 คน/ตร.ไมล์) |
ชาติพันธุ์ | |
• ชาติพันธุ์ | ชาวเรอจัง (60.4%), ชาวชวา (22.3%), ชาวเซอราไว (17.9%), ชาวเลิมบัก (4.9%), ชาวปาเซอมะฮ์ (4.4%), ชาวมีนังกาเบา (4.3%), ชาวมลายู (3.6%), ชาวซุนดา (3%), ชาวบาตัก (2%) [1] |
• ศาสนา | อิสลาม, โรมันคาทอลิก, โปรเตสแตนต์, ฮินดู, พุทธ |
• ภาษา | ภาษาเรอจัง, ภาษาเบิงกูลู, ภาษาอินโดนีเซีย |
เขตเวลา | WIB (UTC+7) |
เว็บไซต์ | www |
เบิงกูลู (อินโดนีเซีย: Bengkulu) หรือที่ในอดีตเรียกว่า เบงคูเลน (อังกฤษ: Bencoolen) เป็นชื่อจังหวัดและเมืองท่าทางตอนใต้ของสุมาตราฝั่งตะวันตก เป็นที่ตั้งสถานีการค้าและป้อมปราการของบริษัทอินเดียตะวันออกแห่งอังกฤษ
ประวัติศาสตร์
[แก้]ก่อนที่อังกฤษจะเข้ามานั้น เบิงกูลูเป็นเมืองเล็ก ๆ อยู่บนเส้นทางเดินเรือผ่านช่องแคบซุนดา ชนส่วนใหญ่เป็นชาวมีนังกาเบา ชาวมลายู และชาวชวา เบิงกูลูเคบเป็นส่วนหนึ่งของศรีวิชัย เมื่อศรีวิชัยเสื่อมลงก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมีนังกาเบาในสุมาตราตะวันตกต่อมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรมัชปาหิต และเมื่อศาสนาอิสลามแพร่มาถึงบริเวณนี้ ชาวเบิงกูลูส่วนใหญ่ก็หันมานับถือศาสนาอิสลาม
จนถึง พ.ศ. 2225 เมื่อเนเธอร์แลนด์ได้ครองอำนาจในบันเติน และขับไล่ชาวอังกฤษออกมา บริษัทอินเดียตะวันออกแห่งอังกฤษได้เสาะหาทำเลใหม่ ก่อนจะเลือกเบิงกูลูเป็นที่ตั้งสถานีการค้าแห่งใหม่ และได้แผ่ขยายอิทธิพลออกไปยังบริเวณใกล้เคียง เช่น นาตัล ตับปานูลี ปาดัง เนเธอร์แลนด์พยายามคัดค้านแต่ไม่มาสามารถต่อต้านอังกฤษได้ เบิงกูลูได้กลายเป็นคู่แข่งของเมืองจาการ์ตาที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเนเธอร์แลนด์ในที่สุด หลังจากสงครามในยุโรปสิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2358 อังกฤษได้ประนีประนอมกับเนเธอร์แลนด์ และนำไปสู่การทำสนธิสัญญาใน พ.ศ. 2367 อังกฤษยกเบิงกูลูให้เนเธอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์จะยกดินแดนของเนเธอร์แลนด์ในคาบสมุทรมลายูให้อังกฤษ
หลังจากเบิงกูลูมาอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์แล้ว กลับหมดความสำคัญทางการค้า กลายเป็นสถานที่ใช้กักขังนักโทษ เมื่ออินโดนีเซียได้รับเอกราช เบิงกูลูได้เป็นจังหวัดหนึ่งของอินโดนีเซีย
หน่วยการบริหาร
[แก้]พื้นที่จังหวัดเบิงกูลูแบ่งออกเป็น 9 อำเภอหรือกาบูปาเต็น 1 นครหรือโกตา และ 129 ตำบลหรือเกอจามาตัน[2][3]
- อำเภอ
- อำเภอเกอปาฮียัง (Kabupaten Kepahiang)
- อำเภอเการ์ (Kabupaten Kaur)
- อำเภอเซอลูมา (Kabupaten Seluma)
- อำเภอเบิงกูลูกลาง (Kabupaten Bengkulu Tengah)
- อำเภอเบิงกูลูใต้ (Kabupaten Bengkulu Selatan)
- อำเภอเบิงกูลูเหนือ (Kabupaten Bengkulu Utara)
- อำเภอมูโกมูโก (Kabupaten Muko Muko)
- อำเภอเรอจังเลอบง (Kabupaten Rejang Lebong)
- อำเภอเลอบง (Kabupaten Lebong)
- นคร
- เบิงกูลู (Bengkulu; เมืองหลัก)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bengkulu Lumbung Nasionalis yang Cair. epaper.kompas.com. February 11, 2009.
- ↑ Statistik Indonesia 2021 (ภาษาอินโดนีเซีย). สำนักงานสถิติแห่งประเทศอินโดนีเซีย. 2021-02-26. pp. 45–47. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
- ↑ "Peraturan Kepala Badan Pusat Statistik Nomor 120 Tahun 2020 Tentang Klasifikasi Desa Perkotaan dan Perdesaan di Indonesia Tahun 2020" (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). สำนักงานสถิติแห่งประเทศอินโดนีเซีย. สืบค้นเมื่อ 2021-12-05.
- สุพรรณี กาญจนัษฐิติ. เบงกูลู ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 427 – 430