ข้ามไปเนื้อหา

ปาลังการายา

พิกัด: 2°12′36″S 113°55′12″E / 2.21000°S 113.92000°E / -2.21000; 113.92000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปาลังการายา
นครปาลังการายา
Kota Palangka Raya
ทิศทัศน์ตัวนครในเวลากลางคืน และวงเวียนใหญ่ (Bundaran Besar)
ทิศทัศน์ตัวนครในเวลากลางคืน และวงเวียนใหญ่ (Bundaran Besar)
ตราราชการของปาลังการายา
ตราอาร์ม
สถานที่ตั้งในจังหวัดกาลีมันตันกลาง
ปาลังการายาตั้งอยู่ในกาลีมันตัน
ปาลังการายา
ปาลังการายา
ปาลังการายาตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
ปาลังการายา
ปาลังการายา
ปาลังการายา (ประเทศอินโดนีเซีย)
พิกัด: 2°12′36″S 113°55′12″E / 2.21000°S 113.92000°E / -2.21000; 113.92000
ประเทศ อินโดนีเซีย
ภูมิภาคกาลีมันตัน
จังหวัด จังหวัดกาลีมันตันกลาง
ก่อตั้ง17 กรกฎาคม ค.ศ. 1957
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีเฮอรา นูกราฮายู (รักษาการ)
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,853.12 ตร.กม. (1,101.60 ตร.ไมล์)
ความสูง5 เมตร (16 ฟุต)
ประชากร
 (ประมาณกลาง ค.ศ. 2023[1])
 • ทั้งหมด305,797 คน
 • ความหนาแน่น110 คน/ตร.กม. (280 คน/ตร.ไมล์)
ประชากรศาสตร์
 • ศาสนา[2]อิสลาม 69.31%
โปรเตสแตนต์ 26.51%
คาทอลิก 1.88%
ฮินดู 1.59%
กาฮารีงัน 0.53%
พุทธ 0.17%
ลัทธิขงจื๊อ 0.004%
เขตเวลาUTC+7 (เวลาอินโดนีเซียตะวันตก)
รหัสพื้นที่(+62) 536
เอชดีไอ (2022)เพิ่มขึ้น 0.816 (สูงมาก)[3]
เว็บไซต์palangkaraya.go.id

ปาลังการายา (อินโดนีเซีย: Palangka Raya) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของจังหวัดกาลีมันตันกลาง ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่บริเวณระหว่างแม่น้ำกาฮายันกับแม่น้ำซาบาเงาบนเกาะบอร์เนียว จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2020 นครนี้มีประชากร 293,500 คน[4] จำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการในช่วงกลาย ค.ศ. 2023 อยู่ที่ 305,797 คน (แบ่งเป็นชาย 154,205 คนและหญิง 151,592 คน)[1] ปาลังการายาเป็นเมืองใหญ่สุดตามขนาดพื้นที่ในประเทศอินโดนีเซีย (ใหญ่กว่าจาการ์ตาประมาณ 4 เท่า) อย่างไรก็ตาม พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นผืนป่า (โดยเฉพาะในเขตรากุมปิตและบูกิตบารูทางเหนือ) รวมถึงป่าสงวน บริเวณอนุรักษ์ทางธรรมชาติ และป่าตังกีลิง[5][6]

นครนี้เป็นจุดศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ การปกครอง และการศึกษาของจังหวัดกาลีมันตันกลาง นครนี้ก่อตั้งขึ้นจากหมู่บ้านเล็ก ๆ ของชาวดายักในปาฮันดุตเมื่อ ค.ศ. 1957 โดยได้รับการวางแผนตั้งแต่ต้น และในการก่อสร้างได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพโซเวียตเนื่องด้วยความสัมพันธ์ของซูการ์โนต่อกลุ่มตะวันออกในขณะนั้น แม้จะมีโครงสร้างพื้นฐานที่ค่อนข้างดี และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง แต่นครนี้กลับประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น หมอกควัน ไฟป่า และน้ำท่วม[7]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]
แม่น้ำกาฮายันไหลผ่านนครปาลังการายา

ชื่อปาลังการายามาจากการประสมคำศัพท์สองคำจากสองภาษา คือ: ปาลังกา (ดายักงาจู) หมายถึง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และ รายา (มลายู) หมายถึง กว้างขวาง ดังนั้น ปาลังการายาจึงหมายถึง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันกว้างขวาง นครนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่หมู่บ้านดายักขนาดเล็กที่มีชื่อว่า ปาฮันดุต ซึ่งล้อมรอบด้วยป่าฝน[8][9]

ประวัติ

[แก้]

เมืองก่อตั้งในปี 1957 (กฎหมายพลังงาน 10/1957 เรื่องการก่อตั้งแคว้นการปกครองตนเองกาลีมันตันกลางระดับ 1)[10] ในบริเวณรกร้างว่างเปล่าที่เปิดผ่านหมู่บ้านปาฮันดุตริมฝั่งแม่น้ำกาฮายัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Badan Pusat Statistik, Jakarta, 28 February 2024, Kota Palangkaraya Dalam Angka 2024 (Katalog-BPS 1102001.6271)
  2. "BPS Palangka Raya". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2021. สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.
  3. "P[Metode Baru] Indeks Pembangunan Manusia 2021-2022". bps.go.id. สืบค้นเมื่อ 1 April 2023.
  4. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2021.
  5. "Kabupaten - Kementerian Dalam Negeri - Republik Indonesia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 20 September 2013.
  6. Simorangkir, Eduardo. "5 Hal Ini Hanya Anda Temukan di Palangka Raya". detikfinance (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2021. สืบค้นเมื่อ 7 May 2021.
  7. "Palangka Raya: Jejak Rusia dan Kandidat Ibu Kota dari Masa ke Masa". apahabar.com (ภาษาอินโดนีเซีย). 2019-06-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-26. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  8. "Profil Palangka Raya" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2021. สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.
  9. Febriyana, Wahyu. "Website Kalimantan Tengah". kalteng (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-06-30.
  10. "Emergency Law 10/1957 or Undang-Undang Darurat Nomor 10 Tahun 1957" (ภาษาอินโดนีเซีย).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]