เมดัน
เมดัน | |
---|---|
เมืองเมดัน Kota Medan | |
คำขวัญ: ทำงานร่วมกันเพื่อความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองของนครเมดัน | |
![]() ที่ตั้งภายในจังหวัดสุมาตราเหนือ | |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
ภูมิภาค | เกาะสุมาตรา |
จังหวัด | จังหวัดสุมาตราเหนือ |
ตั้งถิ่นฐาน | ค.ศ. 1590[1] |
วันครบรอบ | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1590 |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | Akhyar Nasution |
• รองนายกเทศมนตรี | ว่าง |
พื้นที่ | |
• เมือง | 265.1 ตร.กม. (102.4 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 478 ตร.กม. (185 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 3,146,6 ตร.กม. (12,149 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 2,5–37,5 เมตร (8–123 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ.2019) | |
• เมือง | 2,279,790 คน |
• ความหนาแน่น | 8,599 คน/ตร.กม. (22,270 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง[2] | 3,632,000 (อันดับ 4 ในอินโดนีเซีย) |
• ความหนาแน่นเขตเมือง | 7,598 คน/ตร.กม. (19,680 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล[3] | 4,601,565 (อันดับ 5 ในอินโดนีเซีย) |
• ความหนาแน่นรวมปริมณฑล | 1,462 คน/ตร.กม. (3,790 คน/ตร.ไมล์) |
Demographics [4] | |
• กลุ่มชาติพันธุ์ | มลายูอินโดนีเซีย 6,59% บาตัก 35,39% ชวา 33,03% มีนังกาเบา 8,60% จีนอินโดนีเซีย 10,65% อาเจะฮ์ 2,79% อินเดียอินโดนีเซีย อาหรับอินโดนีเซีย อื่น ๆ 2,93% |
• ศาสนา | อิสลาม 61.21% โปรเตสแตนต์ 18.46% คาทอลิก 11.53% พุทธ 8.02% ฮินดู 0.34% ขงจื๊อ 0.41% อื่น ๆ 0.03% |
เขตเวลา | UTC+07:00 (เวลามาตรฐานอินโดนีเซียตะวันตก) |
รหัสพื้นที่ | (+62) 61 |
ทะเบียนรถ | BK |
ท่าอากาศยาน | ท่าอากาศยานนานาชาติกูวาลานามู |
- Total | Rp 241.5 trillion (อันดับ 4 ในอินโดนีเซีย) $ 17.1 billion $ 56.1 billion (PPP) |
- Per capita | Rp 105,908 thousand (อันดับ 13 ในอินโดนีเซีย) $ 7,490 $ 24,620 (PPP) |
- Growth | ![]() |
HDI (2019) | 0.809 (อันดับ 21 ในอินโดนีเซีย) – Very High |
เว็บไซต์ | www |
เมดัน (อินโดนีเซีย: Medan, ออกเสียง: [meˈdan]) เป็นเมืองหลักของจังหวัดสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งด้านทิศเหนือของเกาะสุมาตรา เมดันเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศอินโดนีเซีย รองจากจาการ์ตา ซูราบายา และบันดุง และยังเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่อยู่นอกเกาะชวาด้วย
ประวัติศาสตร์[แก้]
เมดันเริ่มต้นเป็นหมู่บ้านที่เรียกว่า กัมปงเมดัน (หมู่บ้านเมดัน) ก่อตั้งโดย Guru Patimpus ประมาณปี ค.ศ. 1590 พื้นที่ดั้งเดิมของเมดันเป็นพื้นที่บริเวณที่แม่น้ำเดอลี (Deli River) และแม่น้ำบาบูรา (Babura River) มาบรรจบกัน พ่อค้าชาวอาหรับในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 มีการบันทึกว่า ชื่อเมืองเมดันมีที่มาจากมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นชื่อเมืองศักดิ์สิทธิ์ในภาคตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย อย่างไรก็ตามมีแหล่งข้อมูลอื่นที่ระบุว่าชื่อของเมดันที่จริงมาจากคำในภาษาฮินดีของอินเดียที่ว่า "Maidan" แปลว่า "พื้นดิน" หรือ "ที่ดิน"
ชนพื้นเมื่องดั้งเดิมของเมดันย้ายถิ่นฐานมาจากคาบสมุทรมลายู ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน เมดันอยู่ภายใต้การปกครองของสุลต่านแห่งอาเจะฮ์ มีการพัฒนาจนเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก และในรัชสมัยปีที่สองของสุลต่าน Deli (ระหว่าง 1669-1698) เมดันเกิดมีสงครามขึ้น และมีการสู้รบกับกองทหารม้าจากอาเจะฮ์ จนทำให้เมดันขาดการเหลียวแลจากอาเจะฮ์ ไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร จนถึงปี ค.ศ. 1860 มีการเข้ามาของชาวดัตช์ มีการริเริ่มเพาะปลูกยาสูบ จนทำให้เมดันเป็นเมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค ในปี 1918 เมดันได้กลายเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของจังหวัดสุมาตราเหนือ
ประชากร[แก้]
ประชากรส่วนใหญ่ของเมดันเป็นเชื้อสายมลายู ประมาณร้อยละ 95 ที่เหลือเป็นอินเดีย อาหรับ จีน และอื่น ๆ เนื่องด้วยเป็นเมืองใหญ่จึงมีความหนาแน่นของประชากรอย่างมาก
เขตพื้นที่ | พื้นที่ (km²) | ประชากร (สำรวจปี 2010) | ความหนาแน่นของประชากร (/km²) |
---|---|---|---|
เมดัน (โกตา) | 265.1 | 2,109,330 | 7,959 |
บินไจ (โกตา) | 90.2 | 246,010 | 2,726 |
เขตบริหารเดอลีเซอร์ดัง | 2,384.62 | 1,789,243 | 750.3 |
รวม | 2,739.92 | 4,144,583 | 1,512.8 |
เนื่องจากความเจริญของเมดันและแรงดึงดูดในการประกอบอาชีพ ทำให้มีการอพยพของคนอินโดนีเซียทั้งจากเกาะชวาและในเกาะสุมาตราเองมายังเมดัน รวมถึงชาวจีนและอินเดียด้วย จึงมีความหลากหลายของเชื้อชาติในเมดันอย่างมาก มีการพูดภาษาอย่างหลากหลาย แต่ภาษาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายคือภาษาอินโดนีเซียและภาษาอังกฤษ ภาษาจีนฮกเกี้ยนมีใช้ในกลุ่มคนจีน
เชื้อชาติ | ค.ศ. 1930 | ค.ศ. 1980 | ค.ศ. 2000 |
---|---|---|---|
ชาวชวา | 24,89% | 29,41% | 33,03% |
ชาวบาตัก | 2,93% | 14,11% | -- (see Note) |
ชาวจีน | 35,63% | 12,8% | 10,65% |
ชาวเมดัน | 6,12% | 11,91% | 9,36% |
ชาวมีนังกาเบา | 7,29% | 10,93% | 8,6% |
ชาวมลายู | 7,06% | 8,57% | 6,59% |
ชาวกาโร | 0,19% | 3,99% | 4,10% |
ชาวอาเจะฮ์ | -- | 2,19% | 2,78% |
ชาวซุนดา | 1,58% | 1,90% | -- |
อื่นๆ | 14,31% | 4,13% | 3,95% |
Source: 1930 and 1980: Usman Pelly, 1983; 2000: BPS Sumut[5] |
นิรุกติศาสตร์[แก้]
ตามบันทึกของพ่อค้าชาวโปรตุเกสในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ชื่อเมดันเพี้ยนมาจากคำว่า Maidhan ในภาษาทมิฬ หรือที่เรียกว่า Maidhāṉam (ทมิฬ: மைதானம்) แปลว่าพื้นดิน ซึ่งรับมาจากภาษามลายู หนึ่งในพจนานุกรมกาโร-อินโดนีเซียที่เขียนโดย Darwin Prinst SH ที่ตีพิมพ์ในปี 2545 ระบุว่าเมดันสามารถนิยามได้ว่า "ฟื้นตัว" หรือ "ดีกว่า"
ประวัติศาสตร์[แก้]
ภูมิอากาศ[แก้]
เมดันมีคุณลักษณะของสภาพภูมิอากาศป่าฝนเขตร้อนที่มีฤดูแล้ง อุณหภูมิเฉลี่ยในเมืองประมาณ 27 องศาเซลเซียส
สถานที่สำคัญ[แก้]
มีอาคารเก่าแก่จำนวนมากในเมดันที่ยังคงรักษาสถาปัตยกรรมของชาวดัตช์เอาไว้ อาคารเหล่านี้รวมถึงศาลากลางจังหวัดเก่า ไปรษณีย์กลาง และอาคาร The Tirtanadi Water Tower ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ของเมืองเมดันด้วย
การขนส่งและเดินทาง[แก้]
ในเมืองเมดันยังคงนิยมการโดยสาร รถสามล้อที่เรียกว่า motorized becaks' อยู่เนื่องด้วยสามารถพบเห็นอยู่ทั่วไป ราคาถูก และสามารถต่อรองราคาได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการขนส่งประเภทอื่น เช่นรถแท็กซี่และมินิบัสที่เรียกว่า sudako
มีทางรถไฟจากเมดันเชื่อมต่อไปยังเมืองต่าง ๆ ทั่วเกาะสุมาตรา และท่าเรือที่มีความสำคัญเพื่อการขนส่งสินค้า สนามบินนานาชาติกูวาลานามู ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเมดัน มีสายการบินทั้งในและต่างประเทศ สามารถเลือกโดยสารได้อย่างมากมาย สายการบินที่เดินทางไปเมดันมีสายการบิน Lion Air, Garuda Indonesia, Air Asia, Malaysia Airlines, Singapore Airlines, SilkAir, Firefly, Merpati, Batavia Air และ Valuair
ระเบียงภาพ[แก้]
The tricycle rickshaw (becak)
เมืองพี่เมืองน้อง[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Munoz, Paul Michel (2006). Early Kingdoms of the Indonesian Archipelago and the Malay Peninsula (ภาษาอังกฤษ). Continental Sales, Incorporated. p. 246. ISBN 9789814155670.
- ↑ "Demographia World Urban Areas, 16th Annual Edition" (PDF). February 2020. สืบค้นเมื่อ 24 June 2020.
- ↑ "PU-net". perkotaan.bpiw.pu.go.id.
- ↑ 4.0 4.1 แม่แบบ:Cite publication
- ↑ Indikator Statistik Esensial Provinsi Sumatera Utara 2009, Badan Pusat Statistik Sumatera Utara, January 2009
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เมดัน |
เมดัน ข้อมูลการท่องเที่ยวจาก วิกิท่องเที่ยว
- Official Government website (อินโดนีเซีย)
- Medan Tourism (อังกฤษ)
- หนังสือพิมพ์ ท้องถิ่น
- Harian Analisa – Medan & North Sumatera Newspaper (อินโดนีเซีย)
- Harian Global – Medan & North Sumatera Newspaper (อินโดนีเซีย) ---> change name to JURNAL MEDAN
- Harian Medan Bisnis – Medan Business Newspaper (อินโดนีเซีย)
- Harian Waspada – Medan & North Sumatera Newspaper (อินโดนีเซีย)
- Posmetro Medan – Medan, Pematang Siantar & North Sumatera Newspaper (อินโดนีเซีย)