ปรัมบานัน
ปรัมบานัน | |
---|---|
กลุ่มวัดปรัมบานัน | |
ที่ตั้ง | โบโกฮาร์โจ ปรัมบานัน อำเภอซเลมัน เขตพิเศษยกยาการ์ตากับปรัมบานัน อำเภอกลาเติน จังหวัดชวากลาง |
พิกัด | 7°45′8″S 110°29′30″E / 7.75222°S 110.49167°E |
สร้างเมื่อ | เดิมสร้างขึ้นใน ค.ศ. 850 ในสมัยราชวงศ์สันชัย |
ประเภท | วัฒนธรรม |
เกณฑ์ | i, iv |
ขึ้นเมื่อ | 2534 (สมัยที่ 15) |
เป็นส่วนหนึ่งของ | กลุ่มวัดปรัมบานัน |
เลขอ้างอิง | 642 |
รัฐสมาชิก | อินโดนีเซีย |
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
จันดีปรัมบานัน (อินโดนีเซีย: Candi Prambanan) หรือ จันดีราราจงกรัง (อินโดนีเซีย: Candi Rara Jonggrang; ชวา: ꦫꦫꦗꦺꦴꦁꦒꦿꦁ, อักษรโรมัน: Rara Jonggrang) คือเทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย อุทิศแด่พระตรีมูรติ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนครยกยาการ์ตา ตรงบริเวณเขตจังหวัดชวากลางกับจังหวัดยกยาการ์ตาประมาณ 17 กิโลเมตร (11 ไมล์)[1] ตัววัดนั้นสร้างขื้นเมื่อราว พ.ศ. 1390 แต่หลังจากสร้างเสร็จได้ไม่นาน ตัววัดก็ถูกทอดทิ้งและถูกปล่อยให้ทรุดโทรมตามกาลเวลา เมื่อถึง พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) จึงได้มีการเริ่มบูรณะวัดขึ้นมา การบูรณะการของสิ่งก่อสร้างหลักสิ้นสุดลงเมื่อ พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953)
กลุ่มวัดปรัมบานันเป็นเทวสถานฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย และใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรองเพียงนครวัด[1] ตัววัดโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมฮินดูและความใหญ่โตของปรางค์ซึ่งมีความสูงถึง 47 เมตร (154 ฟุต)[2] เดิมกลุ่มวัดปรัมบานันมีโครงสร้างวิหารถึง 240 อัน แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของศิลปะและสถาปัตยกรรมฮินดูในชวาโบราณ และยังเป็นผลงานชิ้นเอกของอินโดนีเซียสมัยคลาสสิกด้วย[1] ปรัมบานันดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก[3][4]
มรดกโลก
[แก้]จันดีปรัมบานันได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ภายใต้ชื่อ "กลุ่มวัดปรัมบานัน" เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
- (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
- (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ภาพ
[แก้]ภาพนูน
[แก้]ปรัมบานัน
[แก้]-
วิหารหลักที่อุทิศแด่พระศิวะ
-
วิหารพระวิษณุ
-
วิหารพระพรหม
-
วิหารนนทิ
-
รูปปั้นพระพรหม
-
รูปปั้นพระวิษณุ
-
รูปปั้นพระพิฆเณศ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Prambanan Temple Compounds". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-24.
- ↑ "Prambanan Temple Complex". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Prambanan Temple". indonesia-tourism.com.
- ↑ "Prambanan - World Heritage Site - Pictures, Info and Travel Reports". www.worldheritagesite.org. สืบค้นเมื่อ 2020-12-24.