ข้ามไปเนื้อหา

วีรบุรุษแห่งชาติอินโดนีเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วีรบุรุษแห่งชาติอินโดนีเซีย (อังกฤษ: National Hero of Indonesia; อินโดนีเซีย: Pahlawan Nasional Indonesia ปาฮ์ลาวัน เนซันนาล อินโดนีเซีย) เป็นตำแหน่งสูงสุดที่มีการมอบให้ในอินโดนีเซีย[1] โดยรัฐบาลอินโดนีเซียจะเป็นผู้มอบให้บุคคลนั้น ๆ หลังเสียชีวิตแล้วเพื่อเชิดชูเกียรติและวีรกรรมเยี่ยงวีรบรุษที่ได้ประกอบให้แก่ชาติของตน ตามที่นิยามไว้ว่าเป็นผู้ที่ “การกระทำแท้จริงสามารถถูกจดจำและเป็นตัวอย่างตลอดกาลให้แก่ประชาชนอื่น” ("actual deeds which can be remembered and exemplified for all time by other citizens"[a]) หรือมี “การรับใช้ที่ช่วยสานต่อหรือเพิ่มพูนผลประโยชน์ของรัฐและผู้คน” ("extraordinary service furthering the interests of the state and people".[b][2]) กระทรวงการสังคม (The Ministry of Social Affairs) ได้ระบุข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้[2]

  1. เป็นประชากรอินโดนีเซีย[c] ผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว และในขณะที่มีชีวิตอยู่นั้นได้กระเสือกกระสนและสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐ
  2. เสมอต้นเสมอปลายในการดิ้นรนตลอดชีวิตและประกอบกิจเหนือกว่าและเกินกว่าหน้าที่ที่ระบุไว้
  3. มีการกระทำที่ส่งผลต่อผู้คนหมู่มาก
  4. แสดงให้เห็นถึงชาตินิยมในระดับสูง
  5. เป็นผู้ที่ยึดมั่นในคุณธรรมและมีบุคลิกภาพเป็นที่เคารพ
  6. ไม่เคยยอมแพ้ต่อศัตรู
  7. ไม่เคยทำสิ่งที่เป็นอันสื่อมเสียต่อตนและผลงานของตน[d]

โครงร่างการได้รับตำแหน่งนี้ทางกฏหมาย มีชื่อแรกเริ่มว่า วีรุบรุษเอกราชแห่งชาติ (National Independence Hero; Pahlawan Kemerdekaan Nasional ปาฮ์ลาวัน เกอเมร์เกอกาน เนซันนาล) ซึ่งแต่งตั้งขึ้นพร้อมกับการออกใช้คำสั่ง Presidential Decree No. 241 ปี 1958 ผู้ได้รับตำแหน่งเป็นคนแรกคืออับดุล มูอิส (Abdul Muis) อดีตนักการเมืองที่ผันตัวมาเป็นนักเขียน โดยได้รับรางวัลเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 1959 ผู้ที่เสียชีวิตในเดือนก่อนหน้า[3][4][5] ชื่อตำแหน่ง วีรบุรุษเอกราชแห่งชาติ นั้นคงใช้ต่อเนื่องจนกระทั่งสิ้นสุดรัฐบาลซูการ์โน หลังซูฮาร์โตได้ขึ้นสู่อำนาจราวกลางปีทศวรรษ 1960s ยังคงมีการมอบตำแหน่งวีรบุรษเอกราชแห่งชาติอยู่ แต่เพิ่มเติมตำแน่งรางวัลพิเศษ คือ วีรบุรุษแห่งการปฏิวัติ (Hero of Revolution; Pahlawan Revolusi ปาฮ์ลาวัน เรอโวลูซี) ซึ่งได้มอบให้กับเหยื่อทั้ง 10 รายจากการเคลื่อนไหว 30 กันยายน ที่ส่งผลให้การปกครองของซูการ์โนต้องสิ้นสุดลง

ปัจจุบันมีบุรุษ 170 คนและสตรี 15 คนที่ได้รัตำแหน่งวีรบุรุษแห่งชาติ โดยมีผู้ได้รับรางวัลล่าสุดคือ อับโดเยล กาฮาร์ โมซากีร์ (Abdoel Kahar Moezakir), อะเล็กซานเดอร์ แอนดรีส มารามีส (Alexander Andries Maramis), สุลต่านหิมายาตุดดิน (Sultan Himayatuddin), มัสจกูร์ (Masjkur), โรฮานา กูดูส (Rohana Kudus) และ ซาร์ดจีโต (Sardjito) ซึ่งได้รับตำแหนงนี้เมื่อปี 2019[6] ผู้ได้รับรางวัลตลอดที่ผ่านมานั้นมาจากภูมิหลังและชาติพันธุ์ที่หลากหลายในอินโดนีเซีย มีผู้คนจากหลลากหลายอาชีพตั้งต่นายกรับมนตรี สมาชิกกองโจร รัฐมนตรี ทหาร เชื้อพระวงศ์ นักข่าว หรือแม้แต่บิชอป

อธิบายหมายเหตุ

[แก้]
  1. ต้นฉบับ: "'... perbuatan nyata yang dapat dikenang dan diteladani sepanjang masa bagi warga masyarakat lainnya."
  2. ต้นฉบับ: "... berjasa sangat luar biasa bagi kepentingan bangsa dan negara."
  3. Law of the Republic of Indonesia No. 20 of 2009 gives provisions for persons who died before Indonesia's independence in 1945, allowing those who "fought against colonialism in an area that is now part of Indonesia" (Original: "berjuang melawan penjajahan di wilayah yang sekarang menjadi wilayah Negara Kesatuan Republik Indonesia") to receive the title.
  4. จากต้นฉบับ:
    1. Warga Negara Indonesia yang telah meninggal dunia dan semasa hidupnya:
      1. Telah memimpin dan melakukan perjuangan bersenjata atau perjuangan politik/ perjuangan dalam bidang lain mencapai/ merebut /memper tahankan/mengisi kemerdekaan serta mewujudkan persatuan dan kesatuan bangsa.
      2. Telah melahirkan gagasan atau pemikiran besar yang dapat menunjang pembangunan bangsa dan negara.
      3. Telah menghasilkan karya besar yang mendatangkan manfaat bagi kesejahteraan masyarakat luas atau meningkatkan harkat dan martabat bangsa Indonesia.
    2. Pengabdian dan Perjuangan yang dilakukannya berlangsung hampir sepanjang hidupnya (tidak sesaat) dan melebihi tugas yang diembannya.
    3. Perjuangan yang dilakukan mempunyai jangkauan luas dan berdampak nasional.
    4. Memiliki konsistensi jiwa dan semangat kebangsaan/nasionalisme yang tinggi.
    5. Memiliki akhlak dan moral yang tinggi.
    6. Tidak menyerah pada lawan/musuh dalam perjuangannya.
    7. Datam riwayat hidupnya tidak pernah melakukan perbuatan tercela yang dapat merusak nilai perjuangannya.

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]