จังหวัดมาลูกูเหนือ
จังหวัดมาลูกูเหนือ Maluku Utara | |
---|---|
ตามเข็มนาฬิกา จากซ้ายบน: มุมมองบนเกาะตีโดเร, ชายหาดในฮัลมาเฮรา, อ่าวเวดา, ท่าเรือกาลามาตา | |
คำขวัญ: Marimoi Ngone Futuru (Ternate language: United we are strong) | |
![]() จังหวัดมาลูกูเหนือที่เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะโมลุกกะ | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 0°47′N 127°22′E / 0.783°N 127.367°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 0°47′N 127°22′E / 0.783°N 127.367°E | |
ประเทศ | ![]() |
เมืองหลวง | โซฟีฟี |
Largest city | ![]() |
การปกครอง | |
• Governor | Abdul Ghani Kasuba (PKS) |
• Vice Governor | Muhammad Natsir Thaib |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 31,982.50 ตร.กม. (12,348.51 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2014)[1] | |
• ทั้งหมด | 1,141,561 คน |
• ความหนาแน่น | 36 คน/ตร.กม. (92 คน/ตร.ไมล์) |
Demographics | |
• ศาสนา | อิสลาม (74.28%), โปรเตสแตนต์ (24.9%), โรมันคาทอลิก (0.52%) |
• ภาษา | อินโดนีเซีย, เตอร์นาเต |
เขตเวลา | WIT (UTC+9) |
ทะเบียนพาหนะ | DG |
HDI | ![]() |
HDI rank | 27th (2015) |
เว็บไซต์ | www.malutprov.go.id |
จังหวัดมาลูกูเหนือ (อินโดนีเซีย: Maluku Utara, อังกฤษ: North Maluku) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย ครอบคลุมพื้นที่ส่วนเหนือของหมู่เกาะโมลุกกะ เมืองหลวงของจังหวัดคือเมืองโซฟีฟีบนเกาะฮัลมาเฮรา และเป็นศูนย์กลางประชากรที่ใหญ่ที่สุดของเกาะเตอร์นาเต หมู่เกาะโมลุกกะเดิมทีเป็นจังหวัด อย่างไรก็ดีในปี ค.ศ. 1999 ได้แยกออกมาเป็น 2 จังหวัด โดยจังหวัดมาลูกูเหนือได้แยกออกมาจากจังหวัดมาลูกู
ศตวรรษที่ 16 และ 17 หมู่เกาะของจังหวัดมาลูกูเหนือเป็นที่รู้จักในชื่อ หมู่เกาะเครื่องเทศ (Spice Islands) ณ เวลานั้นภูมิภาคนี้เป็นแหล่งของกานพลู ชาวดัตช์ โปรตุเกส สเปน และสุลต่านท้องถิ่นรวมถึงชาวเตอร์นาเตและตีโดเร ได้ต่อสู้กับเพื่อเป็นผู้ควบคุมผลประโยชน์ทางการค้าจากเครื่องเทศเหล่านี้ ต่อมาต้นกานพลูได้ถูกขนส่งและนำไปปลูกในส่วนต่าง ๆ ของโลก และความต้องการในกานพลูก็ได้ลดลง ได้ลดความสำคัญของมาลูกูเหนือไป
ประชากรในจังหวัดมาลูกูเหนือมี 1,038,087 คน จากข้อมูลสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2010[1] เป็นจังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุดของอินโดนีเซีย จากข้อมูลทางการล่าสุดในเดือนมกราคม ค.ศ. 2014 มีประชากรเพิ่มเป็น 1,141,561 คน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 Central Bureau of Statistics: Census 2010 Archived 2010-11-13 at the Wayback Machine., retrieved 17 January 2011 (อินโดนีเซีย)
|