สถาปัตยกรรมบาหลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โบสถ์นักบุญยอแซฟเด็นปาซาร์ โบสถ์คาทอลิกเก่าแก่ของบาหลีที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบบาหลี

สถาปัตยกรรมบาหลี เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาวบาหลีซึ่งพบได้ทั่วไปบนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ที่มีความเก่าแก่หลายศตวรรษ ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมบาหลี โดยเฉพาะศาสนาฮินดูแบบบาหลี แนวคิดจากเกาะชวา และความเชื่อพื้นเมืองของชาวบาหลีดั้งเดิม[1] ตัวอย่างที่สำคัญ เช่น รูมะฮ์อาดัต (บ้านพื้นเมือง) ที่เรียกว่า บ้านพื้นเมืองบาหลี, ปูรา (โบสถ์พราหมณ์แบบบาหลี) เป็นต้น

ในปัจจุบัน สถาปัตยกรรมบาหลีแบบร่วมสมัย พบได้ทั่วไปในสถาปัตยกรรมแบบเมืองร้อนเอเชีย (Asian tropical architecture)[2] กล่าวคือลักษณะทั่วไปที่พบในการก่อสร้างสถานพักตากอากาศและโรงแรมริมชายหาดและทะเล เนื่องมาจากธุรกิจการท่องเที่ยวบนเกาะบาหลีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการบ้าน กระท่อม วิลลา และโรงแรมแบบสถาปัตยกรรมบาหลีสูงขึ้นมาก และทำให้สถาปัตยกรรมแบบบาหลียังคงได้รับความนิยมและมีการรักษาไว้อย่างดีพอควร

โบสถ์พราหมณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Architecture in Bali". Bali Paradise online. สืบค้นเมื่อ December 9, 2013.
  2. Davidson, Julian. Balinese Architecture. Tuttle Publishing. ISBN 9781462914227. สืบค้นเมื่อ 17 May 2015.