จังหวัดโก-รนตาโล
โก-รนตาโล | |
---|---|
การถอดเสียงRegional | |
• Gorontaloan | Hulontalo |
จากบน ซ้ายไปขวา: ทะเลสาบเปอรินติส, ศิลปะการต่อสู้พื้นเมืองของโก-รนตาโล, เทศกาลตุมบีโลโต, ทะเลสาบลิมโบโต, หาดบนเกาะซารนเด, ป้อมโอตานาฮา | |
สมญา: Bumi Serambi Madinah (Medina's Porch) | |
คำขวัญ: | |
![]() สถานที่ตั้งของจังหวัดโก-รนตาโลในอินโดนีเซีย | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 0°40′N 123°00′E / 0.667°N 123.000°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 0°40′N 123°00′E / 0.667°N 123.000°E | |
ประเทศ | ![]() |
ก่อตั้ง | 5 ธันวาคม 2000 |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่ที่สุด) | โก-รนตาโล |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการจังหวัด | Rusli Habibie (Golkar) |
• รองผู้ว่าราชการจังหวัด | Idris Rahim |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.435 ตร.กม. (4.801 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | 29 |
ประชากร (2016)[2] | |
• ทั้งหมด | 1.133.237[1] คน |
ประชากรศาสตร์ | |
• กลุ่มชาติพันธุ์ | Gorontaloan, Atinggolan, Bolangoan, Suwawan, Mongondowi |
• ศาสนา (2017) | อิสลาม (96.66%) โปรเตสแตนต์ (2.19%) โรมันคาทอลิก (0.69%) ฮินดู (0.38%) พุทธ (0.08%)[3] |
• ภาษา | อินโดนีเซีย (ทางการ) โก-รนตาโล (ท้องถิ่น) |
เขตเวลา | UTC+08 (Indonesia Central Time) |
รหัสไปรษณีย์ | 90xxx, 91xxx, 92xxx |
รหัสพื้นที่ | (+62) 4xx |
รหัสไอเอสโอ 3166 | ID-GO |
ทะเบียนพาหนะ | DM |
HDI | ![]() |
HDI rank | 28th (2017) |
เว็บไซต์ | www.gorontaloprov.go.id |
จังหวัดโก-รนตาโล (อินโดนีเซีย: Gorontalo, โก-รนตาโล: Hulontalo) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่บนเกาะซูลาเวซีบนคาบสมุทรมีนาฮาซา แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดซูลาเวซีเหนือจนตั้งเป็นจังหวัดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2000[4] มีเมืองโก-รนตาโล (มักเรียก ฮูลนตาโล) เป็นเมืองหลวงของจังหวัด เมืองมีชื่อเล่นที่เป็นที่รู้จักว่าเป็น "ชานบ้านแห่งเมดีนา" (Porch of Medina) จังหวัดมีพื้นที่ 12,435 ตร.กม. (4,801 ตร.ไมล์) มีประชากร 1,133,237 คน (ข้อมูลปี 2016) มีความหนาแน่นประชากร 88 คน/ตร.กม.
ทางด้านประวัติศาสตร์ จังหวัดโก-รนตาโลเคยเป็นศูนย์กลางการแพร่ขยายของศาสนาอิสลามในอินโดนีเซียตะวันออกเมื่อครั้งก่อนยุคล่าอาณานิคม จังหวัดยังเป็นศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรอิสระหลายครั้ง เมื่อชาวดัตช์มาถึงเมื่อต้นศตวรรษที่ 17 และได้ชนะต่ออาณาจักรท้องถิ่นและได้ยึดครองบริเวณนั้นเป็นหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ในที่สุด จังหวัดโก-รนตาโลถูกยึดครองโดยญี่ปุ่นในช่วงสั้น ๆ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนจะได้รับอิสรภาพเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โก-รนตาโลเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดซูลาเวซีเหนือ แต่หลังจากการลาออกของซูฮาร์โต รัฐบาลตัดสินใจตั้งจังหวัดใหม่ที่มีวัฒนธรรมของตนเองและมีศาสตร์ที่แตกต่างกัน โดยต่างจากจังหวัดซูลาเวซีเหนือที่มีคนนับถือคริสต์จำนวนมากและยังคงเป็นส่วนหนึ่งของการกระจายอำนาจประเทศ จึงได้ก่อตั้งจังหวัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2000
เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นของอินโดนีเซีย จังหวัดโก-รนตาโลเป็นหนึ่งในจังหวัดที่พัฒนาน้อยที่สุด จากข้อมูลปี 2017 จังหวัดโก-รนตาโลได้คะแนน 0.670 จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ อยู่อันดับ 28 จาก 34 จังหวัด เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดข้างเคียบอย่าง จังหวัดซูลาเวซีเหนือ โครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดยังพัฒนาได้แย่มาก จังหวัดมักมีปัญหาจากวิกฤตการณ์ไฟฟ้า รวมถึงการขาดแคลนน้ำ[5][6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Gorontalo, BPS. "Jumlah Penduduk". BPSP Gorontalo. สืบค้นเมื่อ 3 February 2017.
- ↑ "Gorontalo Profile" (Press release). Statistics Indonesia. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 24 August 2007. สืบค้นเมื่อ 27 August 2007. Unknown parameter
|deadurl=
ignored (help) - ↑ "Persentase Penduduk Menurut Kabupaten/Kota dan Agama di Provinsi Gorontalo, 2016". Badan Pusat Statistik (BPS). สืบค้นเมื่อ December 8, 2017.
- ↑ Gorontalo, Pemprov. "HUT Provinsi Gorontalo". สืบค้นเมื่อ 8 February 2017.
- ↑ Duta, Diemas Kresna. "Provinsi Gorontalo Krisis Listrik". ekonomi (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-16.
- ↑ "68 Desa di Gorontalo Krisis Air Bersih dan Sanitasi". beritasatu.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2018-11-16.