ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัศวิน ขวัญเมือง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
เพิ่มเนื้อหา ในส่วนของผลงานตอนดำรงค์ตำแหน่งผู้ว่า กทม.
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ ลิงก์แก้ความกำกวม
บรรทัด 57: บรรทัด 57:


วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ได้รับการแต่งตั้งจาก[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] (คสช.) ให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 16 จนถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 นับได้ว่าเขาเป็นนายตำรวจไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้<ref>[https://www.sanook.com/men/15597/ ส่องประวัติ "อัศวิน ขวัญเมือง" เจ้าของฉายา "บิ๊กวินปิดจ๊อบ"]</ref> และมีผลงานเปลี่ยนกรุงเทพ ฯ ด้วยนโยบาย "ผลักดันทันใจ แก้ไขทันที" และ "NOW ทำจริง เห็นผลจริง"<ref>[https://www.aroundonline.com/bangkok-news-17/ กทม. สร้างมหานครแห่งความสุข ผู้ว่าฯ ‘อัศวิน’ คลายทุกข์ชาวกรุงผ่านนโยบาย ผลักดันทันใจแก้ไขทันที!]</ref> ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อาทิ สร้างอุโมงค์ระบายน้ำหนองบอน<ref>{{Cite web|date=2021-09-17|title=เช็คแผนก่อสร้าง "อุโมงค์ระบายน้ำ" บึงหนองบอน แก้น้ำท่วม "อ่อนนุช-สุขุมวิท"|url=https://www.bangkokbiznews.com/social/960735|website=bangkokbiznews}}</ref>, สร้างโครงข่ายถนนสายหลักแนวตะวันตก-ตะวันออก, เปิดโรงพยาบาลคลองสามวา เร่งสร้างโรงพยาบาล กทม. ทุกมุมเมือง, สร้างแก้มลิงใต้ดิน Water Bank แก้ปัญหาน้ำท่วมปากซอยสุทธิพร2 / วงเวียนบางเขน และเพิ่ม[[โทรทัศน์วงจรปิด|กล้อง CCTV]] ทั่วกรุง ฯ ติดตั้งใหม่ 20,217 ตัว เป็นต้น<ref>[https://www.innnews.co.th/news/news-general/news_264665/ ผู้ว่าฯอัศวิน โชว์ผลงาน 64 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วในกทม.]</ref>
วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ได้รับการแต่งตั้งจาก[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] (คสช.) ให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 16 จนถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 นับได้ว่าเขาเป็นนายตำรวจไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้<ref>[https://www.sanook.com/men/15597/ ส่องประวัติ "อัศวิน ขวัญเมือง" เจ้าของฉายา "บิ๊กวินปิดจ๊อบ"]</ref> และมีผลงานเปลี่ยนกรุงเทพ ฯ ด้วยนโยบาย "ผลักดันทันใจ แก้ไขทันที" และ "NOW ทำจริง เห็นผลจริง"<ref>[https://www.aroundonline.com/bangkok-news-17/ กทม. สร้างมหานครแห่งความสุข ผู้ว่าฯ ‘อัศวิน’ คลายทุกข์ชาวกรุงผ่านนโยบาย ผลักดันทันใจแก้ไขทันที!]</ref> ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อาทิ สร้างอุโมงค์ระบายน้ำหนองบอน<ref>{{Cite web|date=2021-09-17|title=เช็คแผนก่อสร้าง "อุโมงค์ระบายน้ำ" บึงหนองบอน แก้น้ำท่วม "อ่อนนุช-สุขุมวิท"|url=https://www.bangkokbiznews.com/social/960735|website=bangkokbiznews}}</ref>, สร้างโครงข่ายถนนสายหลักแนวตะวันตก-ตะวันออก, เปิดโรงพยาบาลคลองสามวา เร่งสร้างโรงพยาบาล กทม. ทุกมุมเมือง, สร้างแก้มลิงใต้ดิน Water Bank แก้ปัญหาน้ำท่วมปากซอยสุทธิพร2 / วงเวียนบางเขน และเพิ่ม[[โทรทัศน์วงจรปิด|กล้อง CCTV]] ทั่วกรุง ฯ ติดตั้งใหม่ 20,217 ตัว เป็นต้น<ref>[https://www.innnews.co.th/news/news-general/news_264665/ ผู้ว่าฯอัศวิน โชว์ผลงาน 64 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วในกทม.]</ref>

== โครงการที่ทำในฐานะผู้ว่า ฯ กทม. ==
• '''“การคมนาคม เปลี่ยนไปแล้ว”''' สำหรับโครงการนี้จะเป็นการเชื่อมโครงข่ายคมนาคม ล้อ ราง เรือ<ref>{{Citation|title=อัศวิน ขวัญเมือง|date=2021-12-31|url=https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99_%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87&oldid=9833337|work=วิกิพีเดีย|language=th|access-date=2022-04-02}}</ref> โดยเชื่อมต่อการเดินทางจาก[[ปริมณฑล]]เข้ามายังกรุงเทพ ฯ และเชื่อมต่อการเดินทางในกรุงเทพ ฯ เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทาง ทั้งการ[[ขนส่งสาธารณะ]]และ[[เส้นทางคมนาคม]]ที่สะดวกมากขึ้น ด้วยการพัฒนาเส้นทางเดินรถไฟฟ้า 2 สาย (สายสีเขียวและสีทอง) 30 สถานี, เส้นทางเดินเรือโดยสารสาธารณะ 2 เส้นทาง ที่คลองผดุงกรุงเกษม และคลองภาษีเจริญ, โครงข่ายถนนสายหลักตามแนวฝั่งตะวันตก-ตะวันออก (ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า) และศาลาที่พักผู้โดยสารรถเมล์และป้ายรถเมล์อัจฉริยะ (Smart Bus Shelter) โครงการดังกล่าวทำให้ประชาชนชาวกรุงเทพ ฯ มีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาความแออัดในการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะอยู่เช่นเดิม เนื่องจากกรุงเทพ ฯ เป็นเมืองหลวงที่มีจำนวนประชากรเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหานี้ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง

• '''“ระบบการระบายน้ำ เปลี่ยนไปแล้ว”''' โครงการที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาน้ำท่วมใน กทม. โดยใช้วิศวกรรมเชิงโครงสร้าง<ref>{{Citation|title=อัศวิน ขวัญเมือง|date=2021-12-31|url=https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99_%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87&oldid=9833337|work=วิกิพีเดีย|language=th|access-date=2022-04-02}}</ref> มาเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้ดีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่<ref>{{Citation|title=อัศวิน ขวัญเมือง|date=2021-12-31|url=https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99_%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87&oldid=9833337|work=วิกิพีเดีย|language=th|access-date=2022-04-02}}</ref> เพิ่มเส้นทาง การระบายน้ำที่เสมือนมีแม่น้ำอยู่ใต้ดินและช่วยเพิ่มความเร็วในการระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้มากขึ้น, การก่อสร้างท่อเร่งระบายน้ำ (Pipe Jacking)<ref>{{Citation|title=อัศวิน ขวัญเมือง|date=2021-12-31|url=https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99_%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87&oldid=9833337|work=วิกิพีเดีย|language=th|access-date=2022-04-02}}</ref> เพื่อช่วยเพิ่มท่อการระบายน้ำขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการเร่งระบายน้ำได้มากขึ้น และก่อสร้างพื้นที่รองรับน้ำเพิ่มในพื้นที่ กทม. เพื่อช่วยให้น้ำไม่ท่วมขังในพื้นที่เป็นเวลานาน โดยจัดทำ “แก้มลิง” ทั้งบนดิน และใต้ดินที่เรียกว่า '''“ธนาคารน้ำใต้ดิน” (Water Bank)''' ซึ่งเป็นที่กักเก็บน้ำขนาดใหญ่ใต้ดินที่ช่วยเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังได้เร็วขึ้น และมีการสร้างและปรับปรุงสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ บ่อสูบน้ำ และเพิ่มเครื่องสูบน้ำในจุดต่าง ๆ <ref>{{Citation|title=อัศวิน ขวัญเมือง|date=2021-12-31|url=https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99_%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87&oldid=9833337|work=วิกิพีเดีย|language=th|access-date=2022-04-02}}</ref>เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ให้ดีมากขึ้น โดยได้ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่แล้ว 1 แห่งที่คลองบางซื่อ และกำลังก่อสร้างอีก 4 แห่ง, Pipe Jacking มีแล้ว 9 แห่ง เช่น สุขุมวิท 63 (เอกมัย), แยกเกษตรศาสตร์, ถนนสุวินทวงศ์, ถนนศรีอยุธยา, ถนนพระราม 6 กำลังก่อสร้างอีก 3 แห่ง และแก้มลิง 34 แห่ง เช่น ธนาคารใต้ดินบริเวณวงเวียนบางเขน ธนาคารน้ำใต้ดินปากซอยสุทธิพร และแก้มลิงหมู่บ้านสัมมากร  บึงร.1 พัน 2 รอ. บึงน้ำประชานิเวศน์ บึงรางเข้ บึงเสือดำ และมีแผนเดินหน้าพัฒนาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบแบบยั่งยืน<ref>{{Citation|title=อัศวิน ขวัญเมือง|date=2021-12-31|url=https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99_%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87&oldid=9833337|work=วิกิพีเดีย|language=th|access-date=2022-04-02}}</ref> อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีการแก้ไขและพัฒนาจัดการปัญหาการระบายน้ำให้ดีขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาน้ำท่วมนั้นยังคงเป็นปัญหาที่ประชาชนในกรุงเทพ ฯ ยังต้องเผชิญแทบทุกปี ประชาชนยังคงได้รับความเดือดร้อนและความเสียหายจากปัญหานี้กันอย่างต่อเนื่อง และยังคงไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ให้หายไปได


== กระแสวิพากษ์วิจารณ์ ==
== กระแสวิพากษ์วิจารณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:53, 2 เมษายน 2565

อัศวิน ขวัญเมือง
อัศวิน ในปี 2562
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ถัดไปขจิต ชัชวานิชย์ (รักษาการ)
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551
ก่อนหน้าพลตำรวจโท อดิศร นนทรีย์
ถัดไปพลตำรวจโท สุชาติ เหมือนแก้ว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 (73 ปี)
อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
คู่สมรสนางวาสนา ขวัญเมือง
บุตรพงศกร ขวัญเมือง
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ลายมือชื่อ

พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง เป็นนักการเมืองและอดีตข้าราชการตำรวจชาวไทย อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีตประธานคณะกรรมการอำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรุงเทพมหานคร อดีตหัวหน้าศูนย์​ปฏิบัติการ​ควบคุม​โรคกรุงเทพมหานคร​ อดีตผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร อดีตประธานคณะกรรมการโรคติดต่อ กรุงเทพมหานคร อดีตรองผู้อำนวยการ ศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด – 19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลและอดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

ประวัติ

อัศวินเกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จบการศึกษาจากระดับชั้น มศ.3 จากโรงเรียนด่านช้างวิทยา, โรงเรียนตำรวจภูธรภาค 7, โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 30 (นรต.30) จบหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 16 และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 45 อัศวิน ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบฝีมือดีคนหนึ่ง เคยผ่านคดีสำคัญ ๆ ระดับชาติมาแล้วหลายคดี อาทิ คดีสังหารนายศุภฤกษ์ เรือนใจมั่น (โจ ด่านช้าง), คดีคาร์บอมบ์รถอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, คดีจับกุมนายประชา โพธิพิพิธ (กำนันเซี๊ยะ), คดีจับกุมนายนพพล ประสงค์ศิล (จิ๊บ ไผ่เขียว) และคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชาญชัย ประสงค์ศิล (โจ๊ก ไผ่เขียว) เป็นต้น

ในกลางปี พ.ศ. 2551 เมื่ออัศวินดำรงยศ พลตำรวจโท (พล.ต.ท.) ได้ถูกปรับย้ายจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาลไปเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และให้ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว รับตำแหน่งนี้แทน ทั้งนี้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นเพราะไม่อาจจัดการกับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้

ต่อมาในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในกลางปี พ.ศ. 2552 มีข่าวว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง พยายามจะพลักดันอัศวินให้เป็นที่ปรึกษา สบ.10 ในยศพลตำรวจเอก (พล.ต.อ.) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เปิดขึ้นใหม่ แต่ทางคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ไม่อนุมัติ ท้ายที่สุดในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน เขาก็ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นพลตำรวจเอก และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[1][2]และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาราชการการแทนผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ก่อนย้ายจากตำแหน่งนั้นมาดำรงตำแหน่งรักษาราชการการผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 [3] ซึ่งในปลายปีเดียวกันได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "อัศวินปิดจ๊อบ" เนื่องจากมีผลการทำงานที่ดุดัน รวดเร็ว และ "มือปราบไผ่เขียว"[4]และยังได้รับผลโหวตจากการสำรวจความคิดเห็นจากเอแบคโพลด้วยว่า เป็นนายตำรวจที่เป็นตำรวจมือปราบที่ประชาชนรู้สึกชื่นชอบและบรรเทาเหตุอาชญากรรมได้มากที่สุด [5]

ภายหลังอัศวินเกษียณอายุราชการ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ดูแลงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเทศกิจ[6]จนมาถึงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากการได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นับว่าเป็นตำรวจคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้ ในปี พ.ศ. 2553 ได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณ พ่อตัวอย่างแห่งชาติ[7][8]

ประวัติครอบครัว

อัศวิน มีชื่อเรียกเล่น ๆ จากสื่อมวลชนว่า "บิ๊กวิน" มีบ้านพักส่วนตัวอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางวาสนา ขวัญเมือง มีบุตรชาย 3 คน ประกอบด้วย พ.ต.ต.อัษฎาวุธ ขวัญเมือง สว.กก.สส.บก.น.6 , นายสุกฤษฎิ์ ขวัญเมือง ปัจจุบันศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง อดีตโฆษกกรุงเทพมหานคร อดีตประธานรุ่นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 53 อดีตประธานรุ่นนักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 69 (นรต.69) เยาวชนดีเด่น พ.ศ. 2554 และอดีตรองสารวัตร(สอบสวน) สน.ทุ่งมหาเมฆ

ประวัติด้านการศึกษา

จบการศึกษาจากระดับชั้น มศ.3 จากโรงเรียนด่านช้างวิทยา, โรงเรียนตำรวจภูธรภาค 7, โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 30 (นรต.30)

จบหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 16 และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 45[9]

การรับราชการตำรวจ

เริ่มแรกอัศวินรับราชการตำรวจที่กรุงเทพมหานครด้วยตำแหน่งรอง สว. สส. สน.สำเหร่ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2520 - 1 ตุลาคม 2521 และย้ายไปเป็นรอง สว.สส.สภ.อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี 2524 เป็นรอง สวป. สภ.อ.เมืองนครปฐม จากนั้นมาเป็นสารวัตรแผนก 5 กองกำกับการสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตำรวจภูธร 3 จังหวัดนครปฐม ในปี 2526 ต่อมาปี 2528 เลื่อนยศเป็นพันตำรวจตรี เป็นสารวัตร สภ.อ.ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

ต่อมาในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในกลางปี พ.ศ. 2552 มีข่าวว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง พยายามจะผลักดันให้เป็นที่ปรึกษา สบ.10 ในยศพลตำรวจเอก (พล.ต.อ.) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เปิดขึ้นใหม่ แต่ทางคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ไม่อนุมัติ แต่ท้ายที่สุดในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นพลตำรวจเอก และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาราชการการแทนผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ก่อนย้ายจากตำแหน่งนั้นมาดำรงตำแหน่งรักษาราชการการผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553

อัศวินได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "อัศวินปิดจ๊อบ" เนื่องจากมีผลการทำงานที่ดุดัน รวดเร็ว[10] และยังได้รับผลโหวตจากการสำรวจความคิดเห็นจากเอแบคโพลด้วยว่า เป็นนายตำรวจที่เป็นตำรวจมือปราบที่ช่วยบรรเทาเหตุอาชญากรรมได้มากที่สุด ในปี 2553 ซึ่งเคยผ่านคดีสำคัญ ๆ ระดับชาติมาแล้วหลายคดี[11] อาทิ คดีจับกุมนายนพพล ประสงค์ศิล (จิ๊บ ไผ่เขียว)[12] และคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชาญชัย ประสงค์ศิล (โจ๊ก ไผ่เขียว)[13], คดีจับกุมนายสมคิด พุ่มพวง[14], คดีจับกุมนายอนุชิต ล้ำเลิศ (ฆาตกรแหม่มชาวรัสเซีย)[15] เป็นต้น

งานด้านการเมือง

ภายหลังเกษียณอายุราชการตำรวจ อัศวินได้รับการแต่งตั้งให้เป็น"รอง"ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ดูแลงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเทศกิจ

วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 16 จนถึงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 นับได้ว่าเขาเป็นนายตำรวจไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้[16] และมีผลงานเปลี่ยนกรุงเทพ ฯ ด้วยนโยบาย "ผลักดันทันใจ แก้ไขทันที" และ "NOW ทำจริง เห็นผลจริง"[17] ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อาทิ สร้างอุโมงค์ระบายน้ำหนองบอน[18], สร้างโครงข่ายถนนสายหลักแนวตะวันตก-ตะวันออก, เปิดโรงพยาบาลคลองสามวา เร่งสร้างโรงพยาบาล กทม. ทุกมุมเมือง, สร้างแก้มลิงใต้ดิน Water Bank แก้ปัญหาน้ำท่วมปากซอยสุทธิพร2 / วงเวียนบางเขน และเพิ่มกล้อง CCTV ทั่วกรุง ฯ ติดตั้งใหม่ 20,217 ตัว เป็นต้น[19]

โครงการที่ทำในฐานะผู้ว่า ฯ กทม.

“การคมนาคม เปลี่ยนไปแล้ว” สำหรับโครงการนี้จะเป็นการเชื่อมโครงข่ายคมนาคม ล้อ ราง เรือ[20] โดยเชื่อมต่อการเดินทางจากปริมณฑลเข้ามายังกรุงเทพ ฯ และเชื่อมต่อการเดินทางในกรุงเทพ ฯ เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทาง ทั้งการขนส่งสาธารณะและเส้นทางคมนาคมที่สะดวกมากขึ้น ด้วยการพัฒนาเส้นทางเดินรถไฟฟ้า 2 สาย (สายสีเขียวและสีทอง) 30 สถานี, เส้นทางเดินเรือโดยสารสาธารณะ 2 เส้นทาง ที่คลองผดุงกรุงเกษม และคลองภาษีเจริญ, โครงข่ายถนนสายหลักตามแนวฝั่งตะวันตก-ตะวันออก (ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า) และศาลาที่พักผู้โดยสารรถเมล์และป้ายรถเมล์อัจฉริยะ (Smart Bus Shelter) โครงการดังกล่าวทำให้ประชาชนชาวกรุงเทพ ฯ มีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาความแออัดในการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะอยู่เช่นเดิม เนื่องจากกรุงเทพ ฯ เป็นเมืองหลวงที่มีจำนวนประชากรเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหานี้ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง

“ระบบการระบายน้ำ เปลี่ยนไปแล้ว” โครงการที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาน้ำท่วมใน กทม. โดยใช้วิศวกรรมเชิงโครงสร้าง[21] มาเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้ดีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่[22] เพิ่มเส้นทาง การระบายน้ำที่เสมือนมีแม่น้ำอยู่ใต้ดินและช่วยเพิ่มความเร็วในการระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้มากขึ้น, การก่อสร้างท่อเร่งระบายน้ำ (Pipe Jacking)[23] เพื่อช่วยเพิ่มท่อการระบายน้ำขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการเร่งระบายน้ำได้มากขึ้น และก่อสร้างพื้นที่รองรับน้ำเพิ่มในพื้นที่ กทม. เพื่อช่วยให้น้ำไม่ท่วมขังในพื้นที่เป็นเวลานาน โดยจัดทำ “แก้มลิง” ทั้งบนดิน และใต้ดินที่เรียกว่า “ธนาคารน้ำใต้ดิน” (Water Bank) ซึ่งเป็นที่กักเก็บน้ำขนาดใหญ่ใต้ดินที่ช่วยเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังได้เร็วขึ้น และมีการสร้างและปรับปรุงสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ บ่อสูบน้ำ และเพิ่มเครื่องสูบน้ำในจุดต่าง ๆ [24]เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ให้ดีมากขึ้น โดยได้ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่แล้ว 1 แห่งที่คลองบางซื่อ และกำลังก่อสร้างอีก 4 แห่ง, Pipe Jacking มีแล้ว 9 แห่ง เช่น สุขุมวิท 63 (เอกมัย), แยกเกษตรศาสตร์, ถนนสุวินทวงศ์, ถนนศรีอยุธยา, ถนนพระราม 6 กำลังก่อสร้างอีก 3 แห่ง และแก้มลิง 34 แห่ง เช่น ธนาคารใต้ดินบริเวณวงเวียนบางเขน ธนาคารน้ำใต้ดินปากซอยสุทธิพร และแก้มลิงหมู่บ้านสัมมากร  บึงร.1 พัน 2 รอ. บึงน้ำประชานิเวศน์ บึงรางเข้ บึงเสือดำ และมีแผนเดินหน้าพัฒนาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบแบบยั่งยืน[25] อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะมีการแก้ไขและพัฒนาจัดการปัญหาการระบายน้ำให้ดีขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาน้ำท่วมนั้นยังคงเป็นปัญหาที่ประชาชนในกรุงเทพ ฯ ยังต้องเผชิญแทบทุกปี ประชาชนยังคงได้รับความเดือดร้อนและความเสียหายจากปัญหานี้กันอย่างต่อเนื่อง และยังคงไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ให้หายไปได

กระแสวิพากษ์วิจารณ์

ประเด็นหากุญแจเปิดเครื่องสูบน้ำไม่เจอ

ปี 2561 เหตุการณ์ที่ทำให้โซเชียลมีเดียรุมถล่มอย่างกว้างขวาง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561 กรุงเทพมหานครเกิดฝนตกกระหน่ำจนเกิดน้ำท่วมขัง[26] บริเวณวงเวียนบางเขน สูงประมาณ 20 เซนติเมตร และใช้เวลาระบายน้ำร่วม 2 ชั่วโมงนั้น พล.ต.อ.อัศวิน[9] กล่าวภายหลังลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาระบบระบายน้ำบริเวณปากซอยวิภาวดี-รังสิต 44 ว่า แม้ กทม.ดำเนินการก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน (Water Bank) เสร็จแล้ว เนื่องจากผู้รับเหมายังไม่ได้ส่งมอบงานให้ กทม. ทำให้เจ้าหน้าที่ กทม. ไม่มีกุญแจเปิดเครื่องสูบน้ำ[27] จึงสั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องทำกุญแจสำรองไว้หลายดอก เพราะปัญหาลักษณะนี้ไม่ควรเกิดขึ้น ยอมรับเป็นความผิดของ กทม.

ประเด็นอ้างผลงานป้ายรถเมล์ใหม่

พล.ต.อ.อัศวิน[9] ได้โพสต์ภาพและข้อความลงในเฟซบุ๊กเรื่องที่ กทม. ได้ทดลองนำป้ายหยุดรถเมล์รูปแบบใหม่มาทดลองใช้ โดยระบุว่า ได้รูปแบบจากแนวคิดของภาคประชาสังคม เช่น กลุ่มเมเดย์ (Mayday)[28] ซึ่งในปี 2562 กทม. จะจัดสรรงบประมาณมาปรับปรุงป้ายหยุดรถเมล์เป็นรูปแบบใหม่ จำนวน 500 ป้าย [29]

ต่อมามีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้ระบุว่า เป็นตัวแทนของทีมเมเดย์ ออกมาตอบโต้ว่า พล.ต.อ.อัศวิน ไม่เคยมาร่วมประชุมเรื่องดังกล่าวแม้แต่ครั้งเดียว[30] และไม่เคยให้การสนับสนุนใด ๆ ในการทำโครงการดังกล่าว แต่กลับอ้างว่าเป็นผลงานของตนเอง ทำให้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กจำนวนมากเข้าไปแสดงความคิดเห็นต่อว่าในเพจของ ผู้ว่า ฯ กทม. ที่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง พร้อมเรียกร้องให้มีการให้เครดิตและให้เกียรติกับคนที่ทำงานจริงด้วย

ต่อมา พล.ต.อ.อัศวิน ต้องออกมาชี้แจงว่า ป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่[29] ไม่ใช่ผลงานของตนเอง ซึ่งตนก็บอกไปในเฟซบุ๊กแล้วว่า เป็นการนำแนวคิดจากกลุ่มของภาคประชาสังคม เช่น กลุ่มเมย์เดย์ มาผลิตเป็นป้ายหยุดรถเมล์ ซึ่งนำร่องไปแล้ว 30 ป้าย และ กทม.ก็ได้จัดสรรงบ ฯ ในปี 2562 และ 2563 เพื่อจัดทำป้ายไปติดตั้งบริเวณจุดเชื่อมต่อการเดินทางและที่ที่มีประชาชนใช้เส้นทางจำนวนมาก

พล.ต.อ.อัศวิน ระบุว่า กทม.กับกลุ่มเมย์เดย์[28]ได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ซึ่งตนดีใจและขอขอบคุณที่คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง เพราะสิ่งที่ท่านคิดก็เพื่อให้เกิดประโยชน์และตรงกับความต้องการของประชาชนส่วนรวม กทม.เพียงแต่นำความคิดของท่านมาทำให้มันเกิดขึ้นจริงเท่านั้น

ประเด็นน้ำท่วมกรุงเทพ ฯ อ้างลงพื้นที่แค่ไม่ได้ออกสื่อ

เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงน้ำท่วม ไม่เห็นผู้ว่า ฯ กทม. ลงพื้นที่ตรวจการระบายน้ำ[31] แต่ พล.ต.อ.อัศวิน[9] ก็ได้ออกมาชี้แจงว่า คนวิจารณ์อาจเข้าใจว่าตนไม่ทำอะไร แต่ที่จริงแล้วทำงานตลอด แต่อาจจะไม่ได้ออกสื่อ เพราะหลายครั้งเกิดฝนตกหนักหรือน้ำท่วมในช่วงเวลากลางดึกก็ลงไปพื้นที่ติดตามการแก้ปัญหาทันที จะให้เชิญสื่อมาทำข่าวก็เกรงใจ

ประเด็นการเลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม.

ในระหว่างดำรงตำแหน่งผู้ว่า ฯ กทม. เครือข่ายรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (คปท.) จำนวน 75 คน มีมติให้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่า ฯ กทม. ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร ลาออกจากตำแหน่งผู้ว่า ฯ กทม. เพื่อให้มีการเลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม.ใหม่ตามเจตจำนงอันเป็นอำนาจของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย[32]

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) 2 ดินแดง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.)[9] ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกระแสข่าว พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ขอถอนตัวพร้อมเปิดทางให้ลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.[33] โดยกล่าวว่า "เป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของผม เขาจะไปไหนก็เรื่องของเขา จะสมัครหรือไม่สมัครก็เรื่องของเขา"

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวถามว่า พล.ต.อ.อัศวิน[9] จะลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม. สมัยหน้าด้วยหรือไม่ พล.ต.อ.อัศวิน ระบุว่า "ขณะนี้ยังเป็นผู้ว่า ฯ กทม. จะไปสมัครทำไม จะให้ลาออกพรุ่งนี้แล้วไปสมัครเหรอ" 

จากนั้นผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีกระแสข่าวพรรคพลังประชารัฐ เตรียมบุคคลลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม. ประกอบด้วย นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายก ฯ และที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่า ฯ ปทุมธานี และนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) (ต่อมาเปิดตัวลงสมัครในนาม พรรคประชาธิปัตย์) ใครเป็นคู่แข่งน่ากลัวที่สุด พล.ต.อ.อัศวิน ระบุว่า "ไม่กลัวใครเลย ตอนนี้เกิดมาจะอายุ 70 ปีแล้ว ปืนก็ยังไม่กลัว ระเบิดยังไม่กลัว สมัครผู้ว่า ฯ กทม.จะไปกลัวทำไม แล้วผมก็ยังไม่ได้คิดจะลงสมัคร ขอให้หมดวาระก่อน แล้วค่อยมาถามผมหรือถ้าเขาประกาศรับสมัครแล้วค่อยมาถามผมและตอนนี้ไม่ต้องมาถามผมเพราะยังเป็นผู้ว่า ฯ กทม.อยู่ ยังไม่ได้ลาออกจากผู้ว่า ฯ กทม."

พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่ตัดสินใจ แต่จะทำวันนี้ให้ดีที่สุดเพราะหากสมมติว่าในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 มีประกาศเลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม.พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งผู้ว่า ฯ ตนก็ค่อยตัดสินใจวันนั้น เพราะตนเป็นคนง่าย ๆ ไม่ต้องมีการวางแผน แต่ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาและเรื่องการเลือกตั้งให้เป็นในส่วนของรัฐบาล

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีพรรคพลังประชารัฐ มีชื่อ 3 บุคคลเป็นผู้สมัครลงเลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม. แต่ พล.ต.อ.อัศวินไม่มีพรรคการเมืองสนับสนุน พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวเพียงว่า "ผมไม่มีพรรคการเมือง มีแต่พี่น้องประชาชน"[34]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. เด็กสุเทพ'ไปไม่ถึงฝัน ส่อ'หลุด'เก้าอี้'ผบ.ตร.' 'อัศวิน'ปิ๋วพลาด'รอง ผบ.ตร.' 'ก.ตร.'เบรกไม่อนุมัติ!!
  2. โปรดเกล้าฯ48นายพลพงศพัศ-อัศวินพล.ต.อ. จากคมชัดลึก
  3. ปลด “ศรีวราห์” พ้น รรท.ผบช.ภ.1 ตั้ง “อัศวิน” เสียบแทน จากผู้จัดการออนไลน์
  4. "ตั้งฉายา'มือปราบไผ่เขียว'ให้'อัศวิน' จากคมชัดลึก". 30 ธันวาคม 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-02. สืบค้นเมื่อ 2010-12-30.
  5. โพลสำรวจ “อัศวิน ปิดจ็อบ” ครองใจ ปชช.ปราบโจร!
  6. ทีมผู้บริหาร ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร, หน้า 16 กทม.-จราจร. เดลินิวส์ ฉบับที่ 23,183: วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556 แรม 8 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง
  7. เกียรติคุณ พ่อตัวอย่างแห่งชาติ
  8. https://www.sanook.com/men/15597/
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 ประวัติ พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนใหม่
  10. ฉายา ตร.ปี 53 'อัศวิน ปิดจ๊อบ' นักข่าวตั้งให้
  11. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง มือปราบอันดับ 1 ของโพลล์ “ที่สุดแห่งปี 2553”
  12. "สอบ"จิ๊บ ไผ่เขียว"ขยายผลล่าแก๊งค้ายา". posttoday.com (ภาษาอังกฤษ). 2010-12-15.
  13. อัศวินแถลงข่าวจับจิ๊บ ไผ่เขียว-ปปส.อายัดทรัพย์กว่า35ล.
  14. ผู้ว่าฯ กทม. ย้อนความหลัง เผยสมคิดเป็นคนพูดจาดี ทำสาวหลงกล หลังเป็นผู้นำทีมจับเมื่อ 14 ปีก่อน
  15. แกะรอยมือฆ่า 2 แหม่มรัสเซีย
  16. ส่องประวัติ "อัศวิน ขวัญเมือง" เจ้าของฉายา "บิ๊กวินปิดจ๊อบ"
  17. กทม. สร้างมหานครแห่งความสุข ผู้ว่าฯ ‘อัศวิน’ คลายทุกข์ชาวกรุงผ่านนโยบาย ผลักดันทันใจแก้ไขทันที!
  18. "เช็คแผนก่อสร้าง "อุโมงค์ระบายน้ำ" บึงหนองบอน แก้น้ำท่วม "อ่อนนุช-สุขุมวิท"". bangkokbiznews. 2021-09-17.
  19. ผู้ว่าฯอัศวิน โชว์ผลงาน 64 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วในกทม.
  20. "อัศวิน ขวัญเมือง", วิกิพีเดีย, 2021-12-31, สืบค้นเมื่อ 2022-04-02
  21. "อัศวิน ขวัญเมือง", วิกิพีเดีย, 2021-12-31, สืบค้นเมื่อ 2022-04-02
  22. "อัศวิน ขวัญเมือง", วิกิพีเดีย, 2021-12-31, สืบค้นเมื่อ 2022-04-02
  23. "อัศวิน ขวัญเมือง", วิกิพีเดีย, 2021-12-31, สืบค้นเมื่อ 2022-04-02
  24. "อัศวิน ขวัญเมือง", วิกิพีเดีย, 2021-12-31, สืบค้นเมื่อ 2022-04-02
  25. "อัศวิน ขวัญเมือง", วิกิพีเดีย, 2021-12-31, สืบค้นเมื่อ 2022-04-02
  26. "ฝนถล่มกรุง น้ำท่วมขังถนนหลายสาย การจราจรติดขัด". Thai PBS. 2018-01-10.
  27. ""หากุญแจเปิดเครื่องสูบน้ำไม่ได้" ผู้ว่าฯกทม.เผยหลังน้ำท่วมบางเขน". posttoday.com. 2018-10-03.
  28. 28.0 28.1 "กลุ่มเมล์เดย์ ผู้ช่วยเหลือคนใช้รถเมล์ในเมือง". mgronline.com. 2017-12-06.
  29. 29.0 29.1 59 (2019-03-11). "ดราม่าสนั่น ชาวเน็ตโวย ผู้ว่าฯ กทม. เคลมผลงานป้ายรถเมล์ใหม่ ทั้งที่ไม่เคยช่วย". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  30. ข่าวช่อง 8. "กลุ่ม Mayday ชี้แจง กรณีดราม่าป้ายรถเมล์ | ข่าวช่อง 8". www.thaich8.com.
  31. "'อัศวิน'แจงดราม่าไร้เงายามน้ำท่วมกรุง ยันลงพื้นที่แค่ไม่ได้ออกสื่อ". dailynews. 2020-10-08.
  32. โดนใจคนกรุงหรือไม่? 4 ปี ผู้ว่าฯ กทม. (ม.44) 'อัศวิน ขวัญเมือง' อยู่ยาวปีที่ 5 ผู้ว่าฯ ลากตั้ง
  33. matichon (2021-11-02). "'จักรทิพย์' ถอนตัวชิงผู้ว่าฯกทม. ปม 'ธรรมนัส' หนุน 'อัศวิน'". มติชนออนไลน์.
  34. "อัศวิน" ลั่นยังไม่ตัดสินใจสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หลัง "จักรทิพย์" เปิดทาง
  35. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๕, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  36. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
  37. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๖, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  38. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๓, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า อัศวิน ขวัญเมือง ถัดไป
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2565)
ขจิต ชัชวานิชย์ (รักษาการ)
พลตำรวจโท อดิศร นนทรีย์
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551)
พลตำรวจโท สุชาติ เหมือนแก้ว